นอนไม่หลับกับภาวะ Long Covid ทางการแพทย์แผนจีน

นอนไม่หลับกับภาวะ Long Covid ทางการแพทย์แผนจีน

โดยแพทย์จีนลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์

ภาวะลองโควิดมีหลากหลายอาการ แต่หนึ่งในอาการที่พบได้บ่อย ๆ และส่งผลกระต่อคุณภาพชีวิตและการทำงาน คือ อาการนอนไม่หลับ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับภาวะลองโควิดและวิธีการที่จะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นกับแพทย์จีนกันคะ

อาการนอนไม่หลับ คือ อาการที่ไม่สามารถหลับได้ตามเวลานอนปกติ หลับไม่ลึก ตื่นมาแล้วเพลีย ไม่สดชื่น อาการนอนไม่หลับมีหลายระดับ ตั้งแต่อาการเบื้องต้นอย่างนอนหลับ ๆตื่น ๆ หรือตื่นขึ้นมาแล้วนอนหลับต่ออีกไม่ได้ ตาค้าง และนอนไม่หลับทั้งคืนจนสว่าง ทั้งหมดนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเราเกือบจะทั้งหมด เนื่องจากแทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนตามเวลาก็ไม่สามารถทำได้

สาเหตุนอนไม่หลับ: อาการนอนไม่หลับเป็นทั้งอาการที่แทรกอยู่ในกลุ่มโรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า สภาวะเครียด ออฟฟิศซินโดรม โรคกระดูกคอเคลื่อน รวมไปถึงโรคความดันโลหิตสูง และอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ทั้ง ปวดเอว ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน เป็นต้น แต่ในบางรายอาการนอนไม่หลับก็อาจจะเป็นโรคประจำของบุคคลได้ ซึ่งการนอนไม่หลับนั้น มีผลมาจากหลายประการ เช่น อาจเกิดจากการป่วยเรื้อรัง การทำงานมากเกินไป ใช้สมอง ใช้พลังกายใจมาก คิดมากเกินไป อารมณ์ที่กระทบจิตใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะดีใจมากหรือเศร้าเสียใจมากก็สามารถกระทบไปถึงภายในอวัยวะข้างในเกิดความร้อนในร่างกายจนนำไปสู่การนอนไม่หลับ  หรือแม้แต่การรับประทานอาหารมื้อดึกหรืออดอาหารมื้อเย็นทำให้ร่างกานมีความรู้สึกหิวมากเกินไป ซึ่งสภาวะเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุแห่งการนอนไม่หลับ เข้านอนหลับยาก ตื่นง่าย ไม่สดชื่นทั้งสิ้น

หากเรารู้สึกว่ามีอาการนอนไม่หลับแต่ไม่ได้อยู่ในภาวะลองโควิด หรือผลจากภาวะลองโควิดทำให้นอนไม่หลับ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใด หากปล่อยไว้ให้อาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน ทางการแพทย์แผนจีนมองว่าเป็นการทำลายอวัยวะภายในร่างกายของเราให้เสื่อมลงเร็วมากขึ้นร่วมด้วย นั่นก็เพราะว่า การนอนหลับคือการพักผ่อนที่ดีที่สุดของอวัยวะภายในร่างกายของเรา

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้นสามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม การครอบแก้ว การนวดทุยหนา และสมุนไพรจีน แต่วันนี้เรามาดูวิธีการง่าย ๆ ในการกดจุดช่วยนอนหลับกันนะคะ

1.จุดอิ้นถาง(Yintang)

ตำเเหน่ง: อยู่ระหว่างคิ้วให้ใช้ปลายนิ้วกลางมือข้างที่ถนัดกดลงไปบริเวณกึ่งกลางระหว่างหัวคิ้วทั้งสองข้าง

วิธีกด: นวดคลึงเป็นวงกลมวนไปทางซ้ายและขวาด้านละ 1-2 นาที จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างลากจากหว่างคิ้วไปยังหางคิ้วพร้อมๆกันประมาณ 10 ครั้ง และลากจากระหว่างคิ้วไปจรดไรผมบริเวณหน้าผากอีก 10 ครั้ง

สรรพคุณ: ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้าผ่อนคลาย กระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณใบหน้าส่วนบนและดวงตา ช่วยสงบจิตใจ ทำให้ความดันโลหิตลดลง ทำให้นอนหลับสบายขึ้น

2.จุดป๋ายฮุ่ย(Baihui)

ตำเเหน่ง: อยู่บริเวณกลางศีรษะ โดยใช้นิ้วลากจากยอดใบหูทั้งสองข้างไปบรรจบกันบริเวณกลางศีรษะ แนวกึ่งกลางเดียวกับสันจมูก

วิธีกด: ใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลาง กดวนไปทางซ้ายและขวาด้านละ 1-2 นาที

สรรพคุณ: ช่วยกระตุ้นให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงบริเวณศีรษะได้ดีขึ้น ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และหลับสนิทมากขึ้น

ดังนั้น อาการนอนไม่หลับ จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ หรือเรื่องปกติที่เราจะสามารถมองข้ามหรือปล่อยปละละเลย โดยไม่หาทางแก้ไขหรือรักษา หวังว่าบทความฉบับนี้จะเป็นทั้งความรู้และประโยชน์ที่ท่านผู้อ่านสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]