นอนไม่หลับกับภาวะ Long Covid ทางการแพทย์แผนจีน

นอนไม่หลับกับภาวะ Long Covid ทางการแพทย์แผนจีน

โดยแพทย์จีนลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์

ภาวะลองโควิดมีหลากหลายอาการ แต่หนึ่งในอาการที่พบได้บ่อย ๆ และส่งผลกระต่อคุณภาพชีวิตและการทำงาน คือ อาการนอนไม่หลับ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับภาวะลองโควิดและวิธีการที่จะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นกับแพทย์จีนกันคะ

อาการนอนไม่หลับ คือ อาการที่ไม่สามารถหลับได้ตามเวลานอนปกติ หลับไม่ลึก ตื่นมาแล้วเพลีย ไม่สดชื่น อาการนอนไม่หลับมีหลายระดับ ตั้งแต่อาการเบื้องต้นอย่างนอนหลับ ๆตื่น ๆ หรือตื่นขึ้นมาแล้วนอนหลับต่ออีกไม่ได้ ตาค้าง และนอนไม่หลับทั้งคืนจนสว่าง ทั้งหมดนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเราเกือบจะทั้งหมด เนื่องจากแทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนตามเวลาก็ไม่สามารถทำได้

สาเหตุนอนไม่หลับ: อาการนอนไม่หลับเป็นทั้งอาการที่แทรกอยู่ในกลุ่มโรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า สภาวะเครียด ออฟฟิศซินโดรม โรคกระดูกคอเคลื่อน รวมไปถึงโรคความดันโลหิตสูง และอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ทั้ง ปวดเอว ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน เป็นต้น แต่ในบางรายอาการนอนไม่หลับก็อาจจะเป็นโรคประจำของบุคคลได้ ซึ่งการนอนไม่หลับนั้น มีผลมาจากหลายประการ เช่น อาจเกิดจากการป่วยเรื้อรัง การทำงานมากเกินไป ใช้สมอง ใช้พลังกายใจมาก คิดมากเกินไป อารมณ์ที่กระทบจิตใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะดีใจมากหรือเศร้าเสียใจมากก็สามารถกระทบไปถึงภายในอวัยวะข้างในเกิดความร้อนในร่างกายจนนำไปสู่การนอนไม่หลับ  หรือแม้แต่การรับประทานอาหารมื้อดึกหรืออดอาหารมื้อเย็นทำให้ร่างกานมีความรู้สึกหิวมากเกินไป ซึ่งสภาวะเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุแห่งการนอนไม่หลับ เข้านอนหลับยาก ตื่นง่าย ไม่สดชื่นทั้งสิ้น

หากเรารู้สึกว่ามีอาการนอนไม่หลับแต่ไม่ได้อยู่ในภาวะลองโควิด หรือผลจากภาวะลองโควิดทำให้นอนไม่หลับ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใด หากปล่อยไว้ให้อาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน ทางการแพทย์แผนจีนมองว่าเป็นการทำลายอวัยวะภายในร่างกายของเราให้เสื่อมลงเร็วมากขึ้นร่วมด้วย นั่นก็เพราะว่า การนอนหลับคือการพักผ่อนที่ดีที่สุดของอวัยวะภายในร่างกายของเรา

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้นสามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม การครอบแก้ว การนวดทุยหนา และสมุนไพรจีน แต่วันนี้เรามาดูวิธีการง่าย ๆ ในการกดจุดช่วยนอนหลับกันนะคะ

1.จุดอิ้นถาง(Yintang)

ตำเเหน่ง: อยู่ระหว่างคิ้วให้ใช้ปลายนิ้วกลางมือข้างที่ถนัดกดลงไปบริเวณกึ่งกลางระหว่างหัวคิ้วทั้งสองข้าง

วิธีกด: นวดคลึงเป็นวงกลมวนไปทางซ้ายและขวาด้านละ 1-2 นาที จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างลากจากหว่างคิ้วไปยังหางคิ้วพร้อมๆกันประมาณ 10 ครั้ง และลากจากระหว่างคิ้วไปจรดไรผมบริเวณหน้าผากอีก 10 ครั้ง

สรรพคุณ: ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้าผ่อนคลาย กระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณใบหน้าส่วนบนและดวงตา ช่วยสงบจิตใจ ทำให้ความดันโลหิตลดลง ทำให้นอนหลับสบายขึ้น

2.จุดป๋ายฮุ่ย(Baihui)

ตำเเหน่ง: อยู่บริเวณกลางศีรษะ โดยใช้นิ้วลากจากยอดใบหูทั้งสองข้างไปบรรจบกันบริเวณกลางศีรษะ แนวกึ่งกลางเดียวกับสันจมูก

วิธีกด: ใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลาง กดวนไปทางซ้ายและขวาด้านละ 1-2 นาที

สรรพคุณ: ช่วยกระตุ้นให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงบริเวณศีรษะได้ดีขึ้น ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และหลับสนิทมากขึ้น

ดังนั้น อาการนอนไม่หลับ จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ หรือเรื่องปกติที่เราจะสามารถมองข้ามหรือปล่อยปละละเลย โดยไม่หาทางแก้ไขหรือรักษา หวังว่าบทความฉบับนี้จะเป็นทั้งความรู้และประโยชน์ที่ท่านผู้อ่านสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]