ปอดอักเสบในเด็ก

ความรู้ทั่วไป, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

ปอดอักเสบในเด็ก

โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ

 

รู้จักโรคปอดอักเสบ

ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia)

  • การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย
  • อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก

 

ไข้หวัด (Common Cold)

  • การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน
  • อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย

 

การตรวจที่โรงพยาบาล

ซักประวัติร่างกาย

  • วัดไข้
  • วัดอัตราการหายใจ
  • วัดออกซิเจนปลายนิ้ว
  • ฟังเสียงปอด

NasoPharyngeal Swab

  • หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด

ส่งตรวจเพิ่มเติม

  • ตรวจเลือด
  • เอกซเรย์ปอด

 

การรักษา

  • ความรุนแรงของโรคไม่เท่ากันในแต่ละราย
  • ยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ ยาละลามเสมหะ ล้างจมูก
  • ยาฆ่าเชื้อ เฉพาะรายที่สงสัยติดเชื้อจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ข้อบ่งชี้ในการนอนโรงพยาบาล ได้แก่ หายใจเหนื่อย ออกซเจนต่ำ กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำ ในเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว (เด็กเกิดก่อนกำหนด โรคปอด โรคหัวใจ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง) อาการแย่ลง มีภาวะแทรกซ้อน

 

เชื้อไวรัสหน้าฝน

อาร์เอสวี (RSV : Respiratory Syncytial Virus)

  • ไวรัสเด่นการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
  • อาการไข้ ไอมาก น้ำมูก หลอกลมอักเสบ ปอดอักเสบ
  • ติดได้ทุกกลุ่มอายุ
  • กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เด็กเกิดก่อนกำหนด มีโรคประจำตัวทางปอด หรือหัวใจ

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

  • อาการไข้สูง ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย กินได้น้อย

 

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน สถานที่แออัด
  • ใส่หน้ากากอนามัย
  • ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่
  • ทำความสะอาดของเล่น
  • ใช้ช้อนกลาง แยกของใช้ส่วนตัว
  • แยกผู้มีอาการป่วยที่อยู่ในบ้านเดียวกัน
  • เมื่อเริ่มมีอาการไม่สบาย ควรหยุดโรงเรียนทันที
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสัมผัสควันบุหรี่
  • วัคซีนเสริม ไข้หวัดใหญ่ โควิด ปอดอักเสบนิวโมคอคคัส

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง