ภาวะตัวเตี้ย

ความรู้ทั่วไป, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

ภาวะตัวเตี้ย

โดย นายแพทย์ภัคนันท์ ตรงจิตการุณย์ กุมารแพทย์

ภาวะตัวเตี้ย คือ การที่มีความสูงน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 ตามเกณฑ์อายุและเพศเดียวกัน

ปัจจัยที่กำหนดความสูงเด็ก

  1. ยีน เช่น ครอบครัวที่พ่อแม่สูง ลูกก็มักจะตัวสูง
  2. ฮอร์โมน เช่น growth ฮอร์โมน , ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนไทรอยด์
  3. โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคติดเชื้อเรื้อรัง
  4. โภชนาการ อาหารที่มีผลต่อการเติบโตของร่างกายและกระดูก ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม วิตามินดี ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี
  5. การออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มความหนาแน่นและความแข็งแรงของกระดูก

สาเหตุของภาวะเตี้ย

  1. ภาวะเตี้ยที่ทราบสาเหตุ
    • ทารกเติบโตช้าขณะอยู่ในครรภ์
    • ภาวะขาดสารอาหารเรื้อรัง
    • โรคเรื้อรังทางกาย เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคติดเชื้อเรื้อรัง
    • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
    • ความผิดปกติของโครโมโซม
    • พฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม
  2. ภาวะเตี้ยที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ภาวะเตี้ยทางพันธุกรรม การเป็นหนุ่มสาวช้าของพ่อแม่

การรักษาภาวะเตี้ย

  1. การรักษาจำเพาะ
    • สาเหตุจากโรคเรื้อรัง ให้รักษาอาการและควบคุมโรคประจำตัวให้คงที่
    • การให้ฮอร์โมนทดแทนหรือยับยั้ง กรณีฮอร์โมนร่างกายผิดปกติ
  2. การรักษาทั่วไป

อาหาร

  • กินอาหารให้ครบทุกหมู่ และหลากหลายในทุกมื้อ เพื่อให้ได้รับสารอาหารตามความต้องการของร่างกาย
  • การรับประทานนม แคลเซียม วิตามินดี ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยในการเติบโตที่ดี
  • การปรับพฤติกรรมการบริโภค
  • วางแผนการรักษาร่วมกันกับพ่อแม่และครอบครัว ให้เกิดความร่วมมือและการติดตามต่อเนื่อง
  • ฝึกวินัยการกินที่ดี ให้เด็กกินอาหารด้วยตนเองตามวัย
  • สร้างบรรยากาศที่ดีในการกิน พูดคุย ยิ้มแย้ม ไม่บังคับ
  • ลดสิ่งเร้าโดยการปิดโทรทัศน์หรือพูดคุยขณะกินอาหาร
  • หลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำผลไม้ ขนมหวานหรือดื่มนมที่ทำให้เด็กอิ่มก่อนมื้ออาหาร
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบหัวใจและหลอดเลือด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งว […]