ภาวะตัวเตี้ย

ความรู้ทั่วไป, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

ภาวะตัวเตี้ย

โดย นายแพทย์ภัคนันท์ ตรงจิตการุณย์ กุมารแพทย์

ภาวะตัวเตี้ย คือ การที่มีความสูงน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 3 ตามเกณฑ์อายุและเพศเดียวกัน

ปัจจัยที่กำหนดความสูงเด็ก

  1. ยีน เช่น ครอบครัวที่พ่อแม่สูง ลูกก็มักจะตัวสูง
  2. ฮอร์โมน เช่น growth ฮอร์โมน , ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนไทรอยด์
  3. โรคเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคติดเชื้อเรื้อรัง
  4. โภชนาการ อาหารที่มีผลต่อการเติบโตของร่างกายและกระดูก ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม วิตามินดี ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี
  5. การออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มความหนาแน่นและความแข็งแรงของกระดูก

สาเหตุของภาวะเตี้ย

  1. ภาวะเตี้ยที่ทราบสาเหตุ
    • ทารกเติบโตช้าขณะอยู่ในครรภ์
    • ภาวะขาดสารอาหารเรื้อรัง
    • โรคเรื้อรังทางกาย เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคติดเชื้อเรื้อรัง
    • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
    • ความผิดปกติของโครโมโซม
    • พฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม
  2. ภาวะเตี้ยที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ภาวะเตี้ยทางพันธุกรรม การเป็นหนุ่มสาวช้าของพ่อแม่

การรักษาภาวะเตี้ย

  1. การรักษาจำเพาะ
    • สาเหตุจากโรคเรื้อรัง ให้รักษาอาการและควบคุมโรคประจำตัวให้คงที่
    • การให้ฮอร์โมนทดแทนหรือยับยั้ง กรณีฮอร์โมนร่างกายผิดปกติ
  2. การรักษาทั่วไป

อาหาร

  • กินอาหารให้ครบทุกหมู่ และหลากหลายในทุกมื้อ เพื่อให้ได้รับสารอาหารตามความต้องการของร่างกาย
  • การรับประทานนม แคลเซียม วิตามินดี ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยในการเติบโตที่ดี
  • การปรับพฤติกรรมการบริโภค
  • วางแผนการรักษาร่วมกันกับพ่อแม่และครอบครัว ให้เกิดความร่วมมือและการติดตามต่อเนื่อง
  • ฝึกวินัยการกินที่ดี ให้เด็กกินอาหารด้วยตนเองตามวัย
  • สร้างบรรยากาศที่ดีในการกิน พูดคุย ยิ้มแย้ม ไม่บังคับ
  • ลดสิ่งเร้าโดยการปิดโทรทัศน์หรือพูดคุยขณะกินอาหาร
  • หลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำผลไม้ ขนมหวานหรือดื่มนมที่ทำให้เด็กอิ่มก่อนมื้ออาหาร
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบหัวใจและหลอดเลือด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]