คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและคำถามที่พบบ่อย

ความรู้ COVID19, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

ในขณะนี้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีข้อมูลรองรับถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ในเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เป็นวัคซีนชนิด mRNA และที่มีใช้ในประเทศไทยในขณะนี้ (เดือนสิงหาคม 2564) คือ วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของ Pfizer-BioNTech ซึ่งได้รับการรับรองให้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาในภาวะฉุกเฉินในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนขนาด 30 ไมโครกรัม (ปริมาณ 0.3 มล.) ต่อโดส เข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์

สำหรับการศึกษาผลข้างเคียงของวัคซีนนี้ในเด็กและวัยรุ่น พบว่ามีความปลอดภัยสูง ไม่แตกต่างกับการฉีดในประชากรกลุ่มอายุอื่น ๆ ซึ่งผลข้างเคียงเฉพาะที่และทั้งระบบส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายภายใน 1-2 วัน ผลข้างเคียงเฉพาะที่ที่พบบ่อย ได้แก่ เจ็บในตำแหน่งที่ฉีด 79-86% สำหรับผลข้างเคียงทั้งระบบ ได้แก่ อ่อนเพลีย 60-66% ปวดศีรษะ 55-66% โดยพบรายงานสูงขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สองมากกว่าภายหลังการฉีดเข็มแรกเพียงเล็กน้อย ยกเว้นพบไข้ 10% และ 20% หลังการฉีดเข็มที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงที่สัมพันธ์กับวัคซีนทดลอง และไม่มีผู้เสียชีวิต

ภายหลังจากมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ในวงกว้าง พบรายงานการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังจากการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชายอายุ 12-29 ปี โดยมักโดยมักพบภายใน 2-3 วันหลังจากการฉีดวัคซีนชนิด mRNA เข็มที่สอง และ 92% แสดงอาการภายใน 7 วันหลังการฉีดวัคซีน โดยพบรายงานในอัตราที่ต่ำมากคือ 39-47 รายในการฉีดวัคซีน 1,000,000 โดสในเพศชายอายุ 12 ถึง 29 ปี และพบสูงสุดในเพศชายอายุ 12-17 ปี ซึ่งมีรายงานการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในอัตรา 56-69 รายต่อ 1,000,000 โดสของวัคซีนที่ฉีด สำหรับในเพศหญิงพบในอัตราที่ต่ำกว่ามาก คือ 4-5 รายต่อการฉีดวัคซีน 1,000,000 โดสในผู้หญิงอายุ 12-29 ปี และในอัตรา 8-10 รายในการฉีดวัคซีน 1,000,000 โดสในเพศหญิงอายุ 12-17 ปี แม้ยังไม่มีข้อมูลถึงผลระยะยาวจากผลข้างเคียงนี้ แต่ข้อมูลในระยะสั้นพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ฟื้นกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติดี

โดยภาพรวม ข้อมูลด้านประสิทธิภาพและประโยชน์ของวัคซีนนี้ มีมากกว่าผลข้างเคียงที่รุนแรงที่พบได้ในอัตราต่ำ โดยยังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้วัคซีนนี้ในเด็กและวัยรุ่นอย่างใกล้ชิด และคำแนะนำนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหากมีข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต สำหรับวัคซีนชนิดอื่นที่มีในประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น วัคซีน sinovac และ sinopharm ยังมีข้อมูลในเด็กจำกัด โดยยังเป็นการศึกษาวิจัยในระยะ 1/2 และยังไม่ได้รับการรับรองการใช้จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสำหรับอายุต่ำกว่า18 ปี จึงยังไม่ได้แนะนาให้ใช้ในเด็กในขณะนี้ จนกว่าจะมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพิ่มเติมในอนาคต ส่วนวัคซีนชนิด mRNA ของ Moderna ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปในยุโรปแล้ว โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการศึกษาของวัคซีนชนิดนี้จากการศึกษาในระยะที่ 2/3 แล้วเช่นกัน หากมีใช้ในประเทศไทยจะมีคำแนะนาเพิ่มเติมในอนาคต

คำถามที่พบบ่อยในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น

  1. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นมีความปลอดภัยหรือไม่

ใช่ มีความปลอดภัย จากการศึกษาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุ 12 ถึง 15 ปี มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการฉีดวัคซีนไม่แตกต่างจากที่พบในผู้ใหญ่ ซึ่งผลข้างเคียงดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมประจำวันบ้าง แต่หายได้ภายในเวลา 2-3 วัน นอกจากนี้เด็กและวัยรุ่นจะไม่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จากวัคซีนที่ฉีดเข้าไป

  1. เมื่อไหร่จะสงสัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

อาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้แก่ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืดเป็นลม หากมีอาการโดยเฉพาะภายใน 7 วันภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ให้รีบไปพบแพทย์ โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จะพิจารณาทาการตรวจเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ 1. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) 2. เจาะเลือดตรวจระดับ Troponin 3. เจาะเลือดตรวจค่าการอักเสบ เช่น ESR และ CRP และหากผิดปกติจะพิจารณาปรึกษาแพทย์โรคหัวใจต่อไป

  1. ถ้าเด็กเคยติดโรคโควิด-19 และหายแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่

ใช่ เด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเคยติดเชื้อมาแล้วหรือไม่ก็ตาม เพราะอาจมีการติดเชื้อซ้าได้ โดยสามารถฉีดได้เมื่อเด็กและวัยรุ่นหายจากความเจ็บป่วยและพ้นระยะการแพร่เชื้อคือ 14 วันหลังจากเริ่มมีอาการหรือตรวจพบเชื้อ หรือ 21 วันในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีอาการรุนแรง (severe) หรือเป็น severe immunocompromised host แม้ข้อมูลในปัจจุบันจะแสดงให้เห็นว่าโอกาสติดเชื้อซ้ำน้อยมากใน 3 เดือนแรกหลังจากหายป่วย สำหรับผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาด้วยพลาสมา หรือ monoclonal antibodies แนะนำให้เว้นระยะของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากการติดเชื้อ 90 วัน นอกจากนี้หากเด็กและวัยรุ่นที่มีประวัติเคยเป็น Multi system inflammatory syndrome in adults or children (MIS-A หรือ MIS-C) ให้พิจารณาเลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ออกไปจนกว่าจะฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยและเป็นเวลาอย่างน้อย 90 วันหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรค MIS-A หรือ MIS-C

  1. ถ้าเด็กและวัยรุ่นมีโรคเรื้อรังควรได้รับวัคซีนหรือไม่

ควร โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีโรคเรื้อรังในเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะ

ทำให้เกิดโรค โควิด-19 รุนแรงตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 มีดังต่อไปนี้

  1. 1. บุคคลที่มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไป

ในเด็กอายุ 12-13 ปี น้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 13-15 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น)

  1. 2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง
  2. 3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
  3. 4. โรคไตวายเรื้อรัง
  4. 5. โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
  5. 6. โรคเบาหวาน
  6. 7. กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรงเด็ก ที่มีพัฒนาการช้า

ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด-19 จึงมีความสำคัญในผู้ป่วยกลุ่มนี้ หากไม่มีข้อห้ามในการฉีดได้แก่ ปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงภายหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในเข็มก่อน

  1. เด็กและวัยรุ่นควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หรือไม่ หากมีประวัติสัมผัสใกล้ใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็นโรค โควิด-19

ไม่ เด็กและวัยรุ่นที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อโรค โควิด-19 ทั้งที่แสดงและไม่แสดงอาการ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ออกไปก่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับจากการสัมผัสผู้ป่วยโรค

โควิด-19 ครั้งสุดท้าย และตรวจแล้วมั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อโรค โควิด-19 จึงจะมารับวัคซีนได้ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น

  1. สามารถฉีดวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันเอชพีวี เป็นต้น พร้อมกับกกรฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นในคราวเดียวกันได้หรือไม่ หากไม่สามารถให้พร้อมกันควรเว้นระยะห่างนานเท่าใด

ไม่ เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่ และมีข้อมูลเกี่ยวกับการให้วัคซีนนี้ควบคู่กับวัคซีนอื่นจำกัด

จึงแนะนำให้เว้นระยะระหว่างวัคซีนโควิด-19 และวัคซีนชนิดอื่นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีนพร้อมกัน และเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนการตอบสนองต่อวัคซีนที่ฉีดตามมา โดยให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนวัคซีนอื่น ๆ อย่างไรก็ดีวัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้าเมื่อถูกสัตว์กัด ให้ฉีดวัคซีนได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลา และในกรณีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ให้ฉีดวัคซีนทันทีที่ทำได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงซึ่งต้องคำนึงถึงมากกว่า

  1. ผู้ที่มีประจำเดือนสามารถรับวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ได้หรือไม่

ได้ การมีประจำเดือนไม่เป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนโควิด-19

  1. เมื่อฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้เมื่อเป็นโรคมีอาการรุนแรงน้อยลงหรือไม่

ใช่ วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรครุนแรงได้ดีมาก ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากได้ ดังนั้นหลังฉีดวัคซีนจึงยัง จำเป็นต้องรักษามาตรการในการป้องกันเชื้อในชุมชน ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางกายภาพ หลีกเลี่ยงการไปยังที่ที่มีคนหนาแน่น และล้างมือบ่อย ๆ ต่อไปอย่างเคร่งครัด

  1. มีข้อห้ามและข้อควรระวังอะไรบ้างในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น

วัคซีนทุกชนิดมีข้อห้าม คือ ปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงภายหลังจากการฉีดวัคซีนในครั้งก่อน หรือแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนอย่างรุนแรง และเนื่องจากวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนใหม่ จึงควรเฝ้าระวังอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที ควรใช้วัคซีนแก่กลุ่มประชากรตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำเท่านั้น นอกจากนี้ ไม่ควรฉีดวัคซีนในกรณีดังนี้

– ขณะที่กำลังป่วย หรือร่างกายอ่อนเพลียจากสาเหตุต่าง ๆ ควรเลื่อนการฉีดไปก่อน จนกว่าจะเป็นปกติแล้ว

– ในกลุ่มอายุที่ไม่ได้รับการรับรอง

– ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (แต่ฉีดในหญิงหลังคลอดหรือให้นมบุตรได้)

– ผู้ที่มีโรคประจาตัวที่รุนแรงที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตที่อาการยังไม่คงที่ มีโรคกำเริบ นอกจากแพทย์ประเมินว่า ฉีดได้

  1. ระยะห่างของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech เข็มที่หนึ่งและเข็มที่สองในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปนานที่สุดเป็นเท่าใด และในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนครั้งที่สองเกินกำหนดควรดำเนินการอย่างไร

ระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และ 2 ของวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech คือ 3 สัปดาห์ หากกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนล่าช้า ขอให้ติดตามให้กลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนโควิด-19 ในครั้งที่ 2 โดย เร็วที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่ สามารถนับต่อเนื่องได้เลย

  1. การเตรียมตัวก่อนการรับวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19

ปฏิบัติตัวตามปกติ พักผ่อนให้เพียงพอ กินยาประจำได้ตามปกติ หากไม่มั่นใจควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ล่วงหน้าก่อนการรับวัคซีน ทำจิตใจให้ไม่เครียดหรือวิตกกังวล ดื่มน้ำตามปกติที่เคยปฏิบัติ ไม่จำเป็นต้องงดชา กาแฟ แต่ควรงดเครื่องดื่มมึนเมา ส่วนการออกกาลังกายสามารถทาได้ตามปกติ หากเจ็บป่วยไม่สบายควรเลื่อนการฉีดไปก่อน

  1. ผู้รับวัคซีนโควิด 19 หลังรับวัคซีนสามารถรับประทานยาลดไข้ แก้ปวด ได้หรือไม่

รับประทานได้ โดยยาลดไข้ที่ปลอดภัยที่สุดคือ พาราเซตามอล ภายในขนาดที่กำหนด

เอกสารอ้างอิง

  1. รศ.พญ. วนัทปรียา พงษ์สามารถ. คำแนะนำกำรฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและคำถำมที่พบบ่อย. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2564.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง