- Home
- Blog
- ความรู้เด็ก
- วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
ความรู้เด็ก ลงวันที่ 21 March 2566

อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นโรคโพรงไซนัสอักเสบ อาการดังกล่าวสามารถที่จะรักษาได้ โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ น้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในจมูกจะชะล้างน้ำมูก หนอง และสารที่ไม่ต้องการออกจากโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นและหายจากโรคได้เร็วขึ้น
วิธีการ
- เตรียมน้ำเกลือโดยใช้น้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาดสำหรับดื่มปริมาณ 500 ซีซี ใส่เกลือสะอาดประมาณ 1 ช้อนชา เขย่าผสมเข้ากันให้หรือ ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 9% หรือน้ำเกลือของสำหรับล้างจมูก ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา
- เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงในแก้วสะอาดแล้วใช้กระบอกฉีดยาขนาด 10-20 ซีซี ดูดน้ำเกลือเข้าไปให้เต็ม
- ยืนใกล้อ่างน้ำ ก้มหน้าเล็กน้อยสอดกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก พ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกขณะที่กลั้นหายใจ น้ำเกลือจะถูกพ่นเข้าไปสู่โพรงจมูกแล้วไหลออกมาข้างเดียวกัน หรือออกมาจากรูจมูกอีกข้างหนึ่งหรืออาจจะไหลลงคอ บางครั้งอาจจะมีหนองไหลออกมาด้วย ทำทั้ง 2 ข้างล้างจนกว่าไม่มีน้ำมูกเหลือค้างในจมูกอาจจะแสบจมูกเล็กน้อย
หมายเหตุ
- หลังจากที่ล้างจมูกแล้ว ผู้ป่วยอาจจะจาม และมีน้ำมูกไหลออกมาอีกได้ ให้สั่งน้ำมูกให้หมด (หรือล้างจมูกอีกครั้งหนึ่ง) แล้วพ่นยา พ่นจมูก ตามที่แพทย์แนะนำ
- ไม่ควรชะล้างจมูกในช่วงที่จมูกมีเลือดออกได้ง่าย หรือในกรณีที่แพทย์ไม่แนะนำให้ล้างจมูก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม
คลินิกกุมารเวชกรรม
- โทร 02 849 6600 ต่อ 1121
บทความที่เกี่ยวข้อง
ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่มีขน
สัตว์เลี้ยงที่มีขน สัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข กระต่าย หนูตะเภา หนูแฮมสเตอร์ เป็นต้น มีสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากรังแค ขน หรือสิ่งขับถ่ายของสัตว์ สารก่อภูมิแพ้จากแมวและสุนัขมีขนาดเล็ก ทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้หลังเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีแมวและสุนัข แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสโดยตรง สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้มีลักษณะเหนียว จึงสามารถติดตามพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ เบาะผ้า ผ้าม่าน ที่นอน และเสื้อผ้าได้ง่าย การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากขน รังแคสัตว์ หากมีการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ ควรงดเลี้ยงสัตว์ หรือนำสัตว์เลี้ยงออกจากบ้าน ในกรณีที่ต้องเลี้ยงไว้ภายในบ้าน ควรอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทำความสะอาดพรม และเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บฝุ่นให้สะอาด เพราะเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดพิเศษแบบ HEPA fitter จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ จากสัตว์เลี้ยงที่มีขนได้
ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช
ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ ละอองเกสรพืชที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในประเทศไทย ได้แก่ เกสรหญ้าแพรก (Bermuda grass) เกสรหญ้าพง (Johnson grass) เกสรวัชพืช เช่น ผักโขม (Careless weed) สปอร์ของเฟิร์นต่างๆ เกสรพืชยืนต้น เช่น กระดินณรงค์ (Acacia) กระถิ่นณรงค์ (Acacia) การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสร ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม เมื่อสัมผัสหรือกลับจากบริเวณที่มีละอองเกสรหญ้า วัชพืช และต้นไม้ ควรปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงฤดูที่มีการกระจายของละอองเกสรโดยเฉพาะเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะจะมีการกระจายของละอองเกสร มากในประเทศไทย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA filter อาจช่วย ลดสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรได้ […]
ภูมิแพ้แมลงสาบ
แมลงสาบ สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบ เกิดได้จากเปลือกแข็งหุ้มตัว ขา น้ำลายและอุจจาระ ซึ่งถือเป็นสารก่อภูมิแพ้ ที่สำคัญของการเกิดอาการโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืดและโรคเยื่อบุ จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น สายพันธุ์ในประเทศไทยที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์อเมริกัน (American cockroach) เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ลำตัวมีขนาดใหญ่ ตัวยาว 35-40 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาล สายพันธุ์เยอรมัน (German cockroach) เป็นสายพันธุ์ที่พบได้รองลงมา ยาวประมาณ 12-16 มิลลิเมตร มีสีเหลืองอมน้ำตาล การกำจัดแมลงสาบ กำจัดเศษอาหารภายในบ้านทุกวัน ร่วมกับผูกปากถุงทุกครั้งก่อนนำไปทิ้งและควรปิดฝาถังขยะให้แน่นเสมอ อุด ช่อมรอยแตก ร้าว ตามฝาผนังบ้านรวมทั้งท่อน้ำ ก๊อกน้ำต่าง ๆ กำจัดแมลงสาบด้วยเจล หรือกับตักแมลงสาบ ทำความสะอาดบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ กำจัดเศษวัสดุของเหลือใช้ เพราะเป็นแหล่งที่อยู่ของแมลงสาบ ควรทำความสะอาดบริเวณที่พบซากแมลงสาบ โดยการเช็ดด้วยน้ำผสมผงชักฟอก หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้น
ภูมิแพ้แป้งสาลี
แป้งสาลี แป้งสาลีเป็นอาหารที่แพ้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กโดยมักเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อยกว่า 1 ปี และเป็นสาเหตุสำคัญของการแพ้อาหารชนิดรุนแรง โปรตีนในแป้งสาลีที่พบแพ้ได้บ่อย คือ gluten (gliadin+glutenin) Øอาการ และอาการแสดง อาการแพ้แบบเฉียบพลัน ได้แก่ ผื่นลมพิษ ตาบวม ปากบวม หลอดลมตีบ หายใจมีเสียงหวีด ปวดท้อง อาเจียน และอาการแพ้แบบรุนแรง (anaphylaxis) อาการแพ้แบบล่าช้า เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ ถ่ายมีมูกเลือดปน Øการดำเนินโรค พบอัตราการหายของโรคร้อยละ 56 ที่อายุ 6 ปี และร้อยละ 65 ที่อายุ 12 ปี แป้งสาลีพบปฏิกิริยาแพ้ข้ามกลุ่มกับธัญพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ ข้าวไรย์ ข้าวบาเล่ย์ ลูกเดือย เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยที่แพ้แป้งสาลี ควรระมัดระวังในการรับประทานธัญพืชชนิดอื่น ๆ Øรายละเอียดในฉลากอาหาร (food label) ที่บ่งบอกว่ามีแป้งสาลี เป็นส่วนประกอบ – Bran – […]