• Home
  • Blog
  • ความรู้ COVID19
  • คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและคำถามที่พบบ่อย

คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและคำถามที่พบบ่อย

ความรู้ COVID19, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

ในขณะนี้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีข้อมูลรองรับถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ในเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เป็นวัคซีนชนิด mRNA และที่มีใช้ในประเทศไทยในขณะนี้ (เดือนสิงหาคม 2564) คือ วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของ Pfizer-BioNTech ซึ่งได้รับการรับรองให้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาในภาวะฉุกเฉินในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนขนาด 30 ไมโครกรัม (ปริมาณ 0.3 มล.) ต่อโดส เข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์

สำหรับการศึกษาผลข้างเคียงของวัคซีนนี้ในเด็กและวัยรุ่น พบว่ามีความปลอดภัยสูง ไม่แตกต่างกับการฉีดในประชากรกลุ่มอายุอื่น ๆ ซึ่งผลข้างเคียงเฉพาะที่และทั้งระบบส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายภายใน 1-2 วัน ผลข้างเคียงเฉพาะที่ที่พบบ่อย ได้แก่ เจ็บในตำแหน่งที่ฉีด 79-86% สำหรับผลข้างเคียงทั้งระบบ ได้แก่ อ่อนเพลีย 60-66% ปวดศีรษะ 55-66% โดยพบรายงานสูงขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สองมากกว่าภายหลังการฉีดเข็มแรกเพียงเล็กน้อย ยกเว้นพบไข้ 10% และ 20% หลังการฉีดเข็มที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงที่สัมพันธ์กับวัคซีนทดลอง และไม่มีผู้เสียชีวิต

ภายหลังจากมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ในวงกว้าง พบรายงานการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังจากการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชายอายุ 12-29 ปี โดยมักโดยมักพบภายใน 2-3 วันหลังจากการฉีดวัคซีนชนิด mRNA เข็มที่สอง และ 92% แสดงอาการภายใน 7 วันหลังการฉีดวัคซีน โดยพบรายงานในอัตราที่ต่ำมากคือ 39-47 รายในการฉีดวัคซีน 1,000,000 โดสในเพศชายอายุ 12 ถึง 29 ปี และพบสูงสุดในเพศชายอายุ 12-17 ปี ซึ่งมีรายงานการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในอัตรา 56-69 รายต่อ 1,000,000 โดสของวัคซีนที่ฉีด สำหรับในเพศหญิงพบในอัตราที่ต่ำกว่ามาก คือ 4-5 รายต่อการฉีดวัคซีน 1,000,000 โดสในผู้หญิงอายุ 12-29 ปี และในอัตรา 8-10 รายในการฉีดวัคซีน 1,000,000 โดสในเพศหญิงอายุ 12-17 ปี แม้ยังไม่มีข้อมูลถึงผลระยะยาวจากผลข้างเคียงนี้ แต่ข้อมูลในระยะสั้นพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ฟื้นกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติดี

โดยภาพรวม ข้อมูลด้านประสิทธิภาพและประโยชน์ของวัคซีนนี้ มีมากกว่าผลข้างเคียงที่รุนแรงที่พบได้ในอัตราต่ำ โดยยังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้วัคซีนนี้ในเด็กและวัยรุ่นอย่างใกล้ชิด และคำแนะนำนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหากมีข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต สำหรับวัคซีนชนิดอื่นที่มีในประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น วัคซีน sinovac และ sinopharm ยังมีข้อมูลในเด็กจำกัด โดยยังเป็นการศึกษาวิจัยในระยะ 1/2 และยังไม่ได้รับการรับรองการใช้จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสำหรับอายุต่ำกว่า18 ปี จึงยังไม่ได้แนะนาให้ใช้ในเด็กในขณะนี้ จนกว่าจะมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพิ่มเติมในอนาคต ส่วนวัคซีนชนิด mRNA ของ Moderna ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปในยุโรปแล้ว โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการศึกษาของวัคซีนชนิดนี้จากการศึกษาในระยะที่ 2/3 แล้วเช่นกัน หากมีใช้ในประเทศไทยจะมีคำแนะนาเพิ่มเติมในอนาคต

คำถามที่พบบ่อยในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น

  1. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นมีความปลอดภัยหรือไม่

ใช่ มีความปลอดภัย จากการศึกษาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุ 12 ถึง 15 ปี มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการฉีดวัคซีนไม่แตกต่างจากที่พบในผู้ใหญ่ ซึ่งผลข้างเคียงดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมประจำวันบ้าง แต่หายได้ภายในเวลา 2-3 วัน นอกจากนี้เด็กและวัยรุ่นจะไม่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จากวัคซีนที่ฉีดเข้าไป

  1. เมื่อไหร่จะสงสัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

อาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้แก่ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืดเป็นลม หากมีอาการโดยเฉพาะภายใน 7 วันภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ให้รีบไปพบแพทย์ โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จะพิจารณาทาการตรวจเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ 1. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) 2. เจาะเลือดตรวจระดับ Troponin 3. เจาะเลือดตรวจค่าการอักเสบ เช่น ESR และ CRP และหากผิดปกติจะพิจารณาปรึกษาแพทย์โรคหัวใจต่อไป

  1. ถ้าเด็กเคยติดโรคโควิด-19 และหายแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่

ใช่ เด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเคยติดเชื้อมาแล้วหรือไม่ก็ตาม เพราะอาจมีการติดเชื้อซ้าได้ โดยสามารถฉีดได้เมื่อเด็กและวัยรุ่นหายจากความเจ็บป่วยและพ้นระยะการแพร่เชื้อคือ 14 วันหลังจากเริ่มมีอาการหรือตรวจพบเชื้อ หรือ 21 วันในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีอาการรุนแรง (severe) หรือเป็น severe immunocompromised host แม้ข้อมูลในปัจจุบันจะแสดงให้เห็นว่าโอกาสติดเชื้อซ้ำน้อยมากใน 3 เดือนแรกหลังจากหายป่วย สำหรับผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาด้วยพลาสมา หรือ monoclonal antibodies แนะนำให้เว้นระยะของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากการติดเชื้อ 90 วัน นอกจากนี้หากเด็กและวัยรุ่นที่มีประวัติเคยเป็น Multi system inflammatory syndrome in adults or children (MIS-A หรือ MIS-C) ให้พิจารณาเลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ออกไปจนกว่าจะฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยและเป็นเวลาอย่างน้อย 90 วันหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรค MIS-A หรือ MIS-C

  1. ถ้าเด็กและวัยรุ่นมีโรคเรื้อรังควรได้รับวัคซีนหรือไม่

ควร โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีโรคเรื้อรังในเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะ

ทำให้เกิดโรค โควิด-19 รุนแรงตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 มีดังต่อไปนี้

  1. 1. บุคคลที่มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไป

ในเด็กอายุ 12-13 ปี น้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 13-15 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น)

  1. 2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง
  2. 3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
  3. 4. โรคไตวายเรื้อรัง
  4. 5. โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
  5. 6. โรคเบาหวาน
  6. 7. กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรงเด็ก ที่มีพัฒนาการช้า

ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด-19 จึงมีความสำคัญในผู้ป่วยกลุ่มนี้ หากไม่มีข้อห้ามในการฉีดได้แก่ ปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงภายหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในเข็มก่อน

  1. เด็กและวัยรุ่นควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หรือไม่ หากมีประวัติสัมผัสใกล้ใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็นโรค โควิด-19

ไม่ เด็กและวัยรุ่นที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อโรค โควิด-19 ทั้งที่แสดงและไม่แสดงอาการ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ออกไปก่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับจากการสัมผัสผู้ป่วยโรค

โควิด-19 ครั้งสุดท้าย และตรวจแล้วมั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อโรค โควิด-19 จึงจะมารับวัคซีนได้ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น

  1. สามารถฉีดวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันเอชพีวี เป็นต้น พร้อมกับกกรฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นในคราวเดียวกันได้หรือไม่ หากไม่สามารถให้พร้อมกันควรเว้นระยะห่างนานเท่าใด

ไม่ เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่ และมีข้อมูลเกี่ยวกับการให้วัคซีนนี้ควบคู่กับวัคซีนอื่นจำกัด

จึงแนะนำให้เว้นระยะระหว่างวัคซีนโควิด-19 และวัคซีนชนิดอื่นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีนพร้อมกัน และเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนการตอบสนองต่อวัคซีนที่ฉีดตามมา โดยให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนวัคซีนอื่น ๆ อย่างไรก็ดีวัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้าเมื่อถูกสัตว์กัด ให้ฉีดวัคซีนได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลา และในกรณีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ให้ฉีดวัคซีนทันทีที่ทำได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงซึ่งต้องคำนึงถึงมากกว่า

  1. ผู้ที่มีประจำเดือนสามารถรับวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ได้หรือไม่

ได้ การมีประจำเดือนไม่เป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนโควิด-19

  1. เมื่อฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้เมื่อเป็นโรคมีอาการรุนแรงน้อยลงหรือไม่

ใช่ วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรครุนแรงได้ดีมาก ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากได้ ดังนั้นหลังฉีดวัคซีนจึงยัง จำเป็นต้องรักษามาตรการในการป้องกันเชื้อในชุมชน ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางกายภาพ หลีกเลี่ยงการไปยังที่ที่มีคนหนาแน่น และล้างมือบ่อย ๆ ต่อไปอย่างเคร่งครัด

  1. มีข้อห้ามและข้อควรระวังอะไรบ้างในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น

วัคซีนทุกชนิดมีข้อห้าม คือ ปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงภายหลังจากการฉีดวัคซีนในครั้งก่อน หรือแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนอย่างรุนแรง และเนื่องจากวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนใหม่ จึงควรเฝ้าระวังอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที ควรใช้วัคซีนแก่กลุ่มประชากรตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำเท่านั้น นอกจากนี้ ไม่ควรฉีดวัคซีนในกรณีดังนี้

– ขณะที่กำลังป่วย หรือร่างกายอ่อนเพลียจากสาเหตุต่าง ๆ ควรเลื่อนการฉีดไปก่อน จนกว่าจะเป็นปกติแล้ว

– ในกลุ่มอายุที่ไม่ได้รับการรับรอง

– ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (แต่ฉีดในหญิงหลังคลอดหรือให้นมบุตรได้)

– ผู้ที่มีโรคประจาตัวที่รุนแรงที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตที่อาการยังไม่คงที่ มีโรคกำเริบ นอกจากแพทย์ประเมินว่า ฉีดได้

  1. ระยะห่างของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech เข็มที่หนึ่งและเข็มที่สองในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปนานที่สุดเป็นเท่าใด และในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนครั้งที่สองเกินกำหนดควรดำเนินการอย่างไร

ระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และ 2 ของวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech คือ 3 สัปดาห์ หากกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนล่าช้า ขอให้ติดตามให้กลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนโควิด-19 ในครั้งที่ 2 โดย เร็วที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่ สามารถนับต่อเนื่องได้เลย

  1. การเตรียมตัวก่อนการรับวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19

ปฏิบัติตัวตามปกติ พักผ่อนให้เพียงพอ กินยาประจำได้ตามปกติ หากไม่มั่นใจควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ล่วงหน้าก่อนการรับวัคซีน ทำจิตใจให้ไม่เครียดหรือวิตกกังวล ดื่มน้ำตามปกติที่เคยปฏิบัติ ไม่จำเป็นต้องงดชา กาแฟ แต่ควรงดเครื่องดื่มมึนเมา ส่วนการออกกาลังกายสามารถทาได้ตามปกติ หากเจ็บป่วยไม่สบายควรเลื่อนการฉีดไปก่อน

  1. ผู้รับวัคซีนโควิด 19 หลังรับวัคซีนสามารถรับประทานยาลดไข้ แก้ปวด ได้หรือไม่

รับประทานได้ โดยยาลดไข้ที่ปลอดภัยที่สุดคือ พาราเซตามอล ภายในขนาดที่กำหนด

เอกสารอ้างอิง

  1. รศ.พญ. วนัทปรียา พงษ์สามารถ. คำแนะนำกำรฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและคำถำมที่พบบ่อย. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2564.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่มีขน

สัตว์เลี้ยงที่มีขน สัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข กระต่าย หนูตะเภา หนูแฮมสเตอร์ เป็นต้น  มีสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากรังแค ขน หรือสิ่งขับถ่ายของสัตว์ สารก่อภูมิแพ้จากแมวและสุนัขมีขนาดเล็ก ทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้หลังเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีแมวและสุนัข แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสโดยตรง สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้มีลักษณะเหนียว จึงสามารถติดตามพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ เบาะผ้า ผ้าม่าน ที่นอน และเสื้อผ้าได้ง่าย   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากขน รังแคสัตว์ หากมีการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ ควรงดเลี้ยงสัตว์ หรือนำสัตว์เลี้ยงออกจากบ้าน ในกรณีที่ต้องเลี้ยงไว้ภายในบ้าน ควรอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทำความสะอาดพรม และเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บฝุ่นให้สะอาด เพราะเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดพิเศษแบบ HEPA fitter จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ จากสัตว์เลี้ยงที่มีขนได้

วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นโรคโพรงไซนัสอักเสบ อาการดังกล่าวสามารถที่จะรักษาได้ โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  น้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในจมูกจะชะล้างน้ำมูก หนอง และสารที่ไม่ต้องการออกจากโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นและหายจากโรคได้เร็วขึ้น           วิธีการ เตรียมน้ำเกลือโดยใช้น้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาดสำหรับดื่มปริมาณ 500 ซีซี ใส่เกลือสะอาดประมาณ 1 ช้อนชา เขย่าผสมเข้ากันให้หรือ ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 9% หรือน้ำเกลือของสำหรับล้างจมูก ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงในแก้วสะอาดแล้วใช้กระบอกฉีดยาขนาด 10-20 ซีซี ดูดน้ำเกลือเข้าไปให้เต็ม ยืนใกล้อ่างน้ำ ก้มหน้าเล็กน้อยสอดกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก พ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกขณะที่กลั้นหายใจ น้ำเกลือจะถูกพ่นเข้าไปสู่โพรงจมูกแล้วไหลออกมาข้างเดียวกัน หรือออกมาจากรูจมูกอีกข้างหนึ่งหรืออาจจะไหลลงคอ บางครั้งอาจจะมีหนองไหลออกมาด้วย ทำทั้ง 2 ข้างล้างจนกว่าไม่มีน้ำมูกเหลือค้างในจมูกอาจจะแสบจมูกเล็กน้อย   หมายเหตุ หลังจากที่ล้างจมูกแล้ว ผู้ป่วยอาจจะจาม และมีน้ำมูกไหลออกมาอีกได้ ให้สั่งน้ำมูกให้หมด (หรือล้างจมูกอีกครั้งหนึ่ง) แล้วพ่นยา พ่นจมูก ตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรชะล้างจมูกในช่วงที่จมูกมีเลือดออกได้ง่าย หรือในกรณีที่แพทย์ไม่แนะนำให้ล้างจมูก

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ   ละอองเกสรพืชที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในประเทศไทย ได้แก่ เกสรหญ้าแพรก (Bermuda grass) เกสรหญ้าพง (Johnson grass) เกสรวัชพืช เช่น ผักโขม (Careless weed) สปอร์ของเฟิร์นต่างๆ เกสรพืชยืนต้น เช่น กระดินณรงค์ (Acacia) กระถิ่นณรงค์ (Acacia)   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสร ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม เมื่อสัมผัสหรือกลับจากบริเวณที่มีละอองเกสรหญ้า วัชพืช และต้นไม้ ควรปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงฤดูที่มีการกระจายของละอองเกสรโดยเฉพาะเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะจะมีการกระจายของละอองเกสร มากในประเทศไทย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA filter อาจช่วย ลดสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรได้ […]