- Home
- Blog
- ความรู้ทั่วไป
- การติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae
การติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae
การติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae
เป็นโรคที่สามารถรุกรานและแพร่กระจาย เป็นโรคปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคนี้มีการติดต่อทางการหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยูในลำคอของเด็กและผู้ใหญ่ เมื่อเยื่อบุโพรงจมูกและลำคอถูกทำลายจากไวรัส เชื้อแบคทีเรียจะเริ่มลุกลามเข้าหูชั้นกลาง, ปอด, เยื่อหุ้มสมองและกระแสเลือดได้ อาการของการติดเชื้อดังกล่าวมีได้ตั้งแต่ปวดหู, หูบวม, แดงร้อน, มีน้ำหนองไหลจากหู, มีไข้,หายใจหอบเหนื่อย, ปวดศรีษะ, คอแข็ง, ชักเกร็ง และซึมหมดสติ พยาธิสภาพของโรคปอดบวมที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดพบเพียงประมาณ 25%1 แต่การดำเนินของโรครุนแรงทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและอาจมีความพิการตามมาถ้าเชื้อโรคมีการกระจายเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง เด็กจะมีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่อยูในลำคอในปริมาณที่มากกว่าผู้ใหญ่จึงทำให้การแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียเกิดได้ง่าย
เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae มี 90 สายพันธ์ จากการเก็บข้อมูลของสายพันธ์ในประเทศไทย2 พบว่าสายพันธ์ที่พบบ่อย 5 สายพันธ์คือ 6B (13.6%), 19A (12.6%), 14 (8%), 18C (5.9%) and 6A (3.8%) อุบัติการณ์ของสายพันธ์ 19A ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นถึง 25% ในปี 2012
วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันของตนเองขึ้น ซึ่งทำให้สามารถป้องกันท่านหรือลูกของท่านจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆที่เกิดจากเชื้อนี้ ขณะนี้ในประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 3 ชนิด เป็นวัคซีนชนิดคอนจูเกต 2 ชนิดและเป็นวัคซีนชนิดโพลีซัคคาลายด์ 1 ชนิด วัคซีนชนิดคอนจูเกตจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าวัคซีนชนิดโพลีซัคคาลายด์
วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต 2 ชนิดมีดังต่อไปนี้
- วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส13 ซีโรไทป์ชนิดคอนจูเกต จะป้องกันสายพันธุ์ดังต่อไปนี้คือซีโรไทป์ 1, 3, 4, 5, 6A, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19A, 19Fและ 23F จากการเก็บข้อมูลของสายพันธ์ในประเทศไทย2,3 พบว่าวัคซีนชนิดนี้มีซีโรไทป์ที่ตรงกับสายพันธ์ที่ก่อโรคในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 73.2 – 92%
- วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส10 ซีโรไทป์ชนิดคอนจูเกต จะป้องกันสายพันธุ์ดังต่อไปนี้คือซีโรไทป์ 1, 4, 5, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19Fและ 23F จากการเก็บข้อมูลของสายพันธ์ในประเทศไทย2,3 พบว่าวัคซีนชนิดนี้มีซีโรไทป์ที่ตรงกับสายพันธ์ที่ก่อโรคในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 48.8 – 74%
Reference
- Said MA, Johnson HL, Nonyane BA, et al. Estimating the burden of pneumococcal pneumonia among adults: a systematic review and meta-analysis of diagnostic techniques. PLoS One. 2013;8:e60273.
- Phongsamart W, et al. Changing trends in serotype distribution and antimicrobial susceptibility of Streptococcus pneumoniae causing invasive diseases in Central Thailand, 2009–2012. Human Vaccines & Immunotherapeutics. 2014; 10(7):1866–1873
- Rhodes J, et al. PLoS One 2013;8(6):e66038
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม
คลินิกกิจกรรมบำบัดกระตุ้นการกลืน
- โทร 02 849 6600 ต่อ 1541 หรือ 1542
คลินิกกิจกรรมบำบัดกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
- โทร 02 849 6600 ต่อ 1541 หรือ 1542