เด็กพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการล่าช้า คือ เด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าลำดับขั้นพัฒนาการปกติตามช่วงอายุของเด็ก โดยที่เด็กอาจจะมีพัฒนาการล่าช้าด้านใดด้านหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งด้านก็ได้ในด้านหลักของพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ

1.พัฒนาการด้านนิสัยส่วนบุคคลและการเข้าสังคม
2.พัฒนาการด้านการพูดการสื่อสาร
3.พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การปรับตัว
4.พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่

ซึ่งพัฒนาการในแต่ละด้านจะเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนั้นเมื่อพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งบกพร่องหรือล่าช้า ก็จะส่งผลถึงพัฒนาการด้านอื่นๆด้วย

เด็กพัฒนาการช้างสังเกตจากอะไร

อาการผิดปกติของอวัยวะที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจ เนื่องจากอาการนี้จะส่งผลถึงพัฒนาการและกระทบไปถึงส่วนอื่นๆ ได้ สำหรับจุดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ชัดเจนจาก 8 สิ่งผิดปกติของลูกรักที่บ่งบอกว่าลูกเป็นเด็กพัฒนาการช้าดังนี้

1. เด็กพัฒนาการช้าศรีษะผิดปกติ   คุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นด้วยตาว่า ลูกมีศรีษะเล็กหรือใหญ่เกินไป บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสมอง อาจจะเกิดจากการที่สมองเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น ขาดอากาศขณะคลอด หรืออาจจะเป็นโรคทางพันธุกรรมเส้นรอบศรีษะโดยปกติของเด็กตั้งแต่
– แรกเกิดจนถึง 3 เดือนแรกจะมีความยาว 35 เซนติเมตร
– 4 เดือน : 40 เซนติเมตร
–  1 ปี : 45 เซนติเมตร
–  2 ปี : 47 เซนติเมตร
–  5 ปี : 50 เซนติเมตร

2.เด็กพัฒนาการช้าหูผิดปกติ   ใบหูผิดรูป อยู่ต่ำหรือสูงเกินไปจนสังเกตได้ติ่งหูยาวผิดปกติ มีรูด้านหน้าหูหรือหูไม่มีรู  อายุ 6 เดือนแล้วไม่สามารถหันตามทิศทางของเสียง และไม่ตอบสนองกับเสียงที่ได้ยินรอบข้าง เช่น ไม่สะดุ้งตกใจเมื่อมีเสียงดังการให้ลูกฟังเสียงที่มีโทนเสียงแตกต่างกัน เสียงที่มีความซับซ้อน รวมถึงการพูดคุยโต้ตอบเสียงที่ถูกเปล่งออกมาจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการฟังของลูกได้

3.เด็กพัฒนาการช้าตาผิดปกติ    คุณพ่อคุณแม่ลองมองตาลูกสิคะ หากลูกเป็นเด็กพัฒนาการล่าช้าตาลูกจะห่างจนผิดปกติ ตาเหล่าเข้า-ตาเหล่ออกเห็นว่าแสงสะท้อนจากรูม่านตาเป็นสีขาว แสดงว่ามีความผิดปกติอยู่ด้านหลังรูม่านตา อาจจะเป็นต้อ มีเนื้องอก จอประสาทตาลอก พัฒนาการที่ผิดปกติคือ มองตามวัตถุแล้วตาแกว่งไม่หยุดนิ่ง ไม่จับจ้องวัตถุ ไม่สบตา กระตุ้นพัฒนาการให้ดีขึ้นโดย >>> การให้เล่นของเล่นสีสันสดใสที่เคลื่อนไหวได้   เล่นจ๊ะเอ๋   เล่นซ่อนของ ช่วยกระตุ้นให้ลูกได้ฝึกเคลื่อนไหวดวงตาเพื่อมองตามวัตถุ

4.เด็กพัฒนาการช้าจมูกผิดปกติ    เด็กจะมีดั้งจมูกบี้หรือเชิดมาก ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ต้องดูหน้าตาโดยรวมด้วย เช่น หางตาชี้ กระหม่อมแบน ลิ้นใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นอาการของเด็กดาวน์ซินโดรม เด็กจะไม่ตอบสนองหรือไม่มีปฏิกิริยากับกลิ่นต่างๆ เลย เช่น ไม่นิ่วหน้าหรือจามเมื่อมีกลิ่นเหม็นฉุน โดยปกติแล้วทารกเริ่มได้กลิ่นตั้งแต่อายุ 3 วันแล้ว ยิ่งเป็นกลิ่นคุณแม่เขาจะพยายามหันไปหาด้วยความคุ้นเคย

5.เด็กพัฒนาการช้าปากผิดปกติ  ปากบางเป็นปากปลา (ไม่เห็นริมฝีปากเลย) หรือปากแหว่งเพดานโหว่ เด็กจะมีอาการพูดไม่ชัด ติดอ่าง เสียงผิดปกติ ไม่เล่นเสียงและส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่โต้ตอบตำพูดตามวัย มีพัฒนาการทางภาษาช้า เช่น สองขวบแล้วยังพูดคำที่ไม่มีความหมาย ไม่ทำตามคำสั่งและไม่พยายามพูดกับคนอื่น    กระตุ้นพัฒนาการให้ดีขึ้นโดย >>> คุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงสามารถกระตุ้นพัฒนาการการพูดได้จากการตอบสนองเสียงอ้อแอ้ ชวนลูกคุยโต้ตอบให้เหมือนคุยกันรู้เรื่อง ชวนลูกออกเสียงคำง่ายๆ ให้เด็กได้เลียนเสียง ชวนเล่นเกมเป่าฟองสบู่ เป่าลูกโป่งหรือเป่าน้ำในแก้ว ซึ่งจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อเพดานช่องคอและการใช้ลมออกเสียง

6.เด็กพัฒนาการช้าลิ้นผิดปกติ   สังเกตพบว่าลิ้นใหญ่ ลิ้นยืดออกมาขณะพูด การสบของฟันปกติ เด็กจะน้ำลายไหลย้อย เด็กมักอ้าปากกว้างไม่หุบ ไม่กลืนอาหาร ไม่เคี้ยวข้าวหรือเคี้ยวนาน ไอหรือสำลักอาหารบ่อยๆ    กระตุ้นพัฒนาการให้ดีขึ้นโดย >>> คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นด้วยการนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบริมฝีปาก เพื่อให้เกิดการดูดโดยวางหัวนิ้วแม่มือลงบนคางใต้ริมฝีปากล่างแล้วลากออกเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปากล่างทั้งสองประมาณ 5 -10 ครั้ง

7.เด็กพัฒนาการช้าแขนขาและบริเวณลำตัวผิดปกติ     เด็กจะมีแขนขายาวไม่เท่ากันทั้งสองข้าง นิ้วยึดติด นิ้วเกิน 5 นิ้ว นิ้วกุด กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งเกินไป คือเด็กเคลื่อนไหวลำบากและเคลื่อนไหวผิดปกติ ข้อยึดติด ข้อสะโพกหลุด แบะออกมามากเกินไปหรือหนีบติดกันไม่ยอมแบะ ท้องผูกเรื้อรัง เป็นสัญญาณของการเคลื่อนไหวลำไส้มีปัญหา หรืออาจจะมีปัญหาเรื่องการย่อยและการดูดซึม  กล้ามเนื้อแขนขานุ่มนิ่ม อ่อนปวกเปียก คือไม่มีแรงในการเคลื่อนไหว ยกแขนยกขาลำบาก ไม่สามารถควบคุมลำตัวเพื่อทรงตัวให้มีความสมดุลขณะถูกอุ้ม เช่น 3 เดือนคอยังไม่แข็ง 9 เดือนยังไม่คว่ำหรือยังไม่คลาน 1 ขวบแล้วยังหยิบของเล่นไม่ได้ กำมือไม่ได้ ข้อเท้าติดบิดหมุนไม่ได้รอบ    กระตุ้นพัฒนาการให้ดีขึ้นโดย >>>  การกระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อคุณแม่ควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัด เพื่อจะได้กระตุ้นกล้ามเนื้อได้ถูกต้อง

8.เด็กพัฒนาการช้าผิวหนังผิดปกติ     สีผิวของเด็กผิดปกติ เช่น ตัวเหลือง หรือมีปานเป็นริ้ว เป็นแนวสีขาวหรือสีดำเป็นแถบใหญ่ มีปานตามผิวหนังมากกว่า 6 จุด หลังมีปานลายเป็นต้นคริสต์มาส บวกกับกล้ามเนื้อนิ่ม เป็นสัญญาณบอกอีกกลุ่มหนึ่ง ผิวหนังแห้งอย่างมาก คันและต้องเกาอยู่ตลอดเวลา

อาการทั้งหมดที่กล่าวเป็นอาการที่พบเป็นส่วนใหญ่ แต่เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าผิดปกติอาจมีอาการที่แตกต่างออกไป มากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณแม่สังเกตเบื้องต้นแล้วสงสัยว่า ลูกของคุณเข้าข่ายเด็กพัฒนาการล่าช้า อย่าเก็บความสงสัยนั้นไว้คนเดียวค่ะ แนะนำให้รีบปรึกษากุมารแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อตรวจเช็คประเมินพัฒนาการ และวางแผนรักษาแก้ไขได้ทันเวลา

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]