วัคซีนcovid-19 ในหญิงตั้งครรภ์ /ให้นมบุตร

ความรู้ COVID19, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

โดย พญ สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล (กุมารแพทย์)

       เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก พบว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต และใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพิ่มโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกร่วมด้วย  การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จึงมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงของวัคซีน โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และหญิงให้นมบุตร สามารถรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ได้ ซึ่งวัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทย ปัจจุบันได้แก่ Sinovac และ Astraseneca  ในอนาคตที่มีการนำเข้าวัคซีน mRNA ได้แก่ pfizer และ  moderna จากการศึกษาในปัจจุบัน ยังไม่พบรายงานภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และพบระดับภูมิคุ้มกันขึ้นไม่ต่างจากกลุ่มที่ไม่ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการติดตามถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในอนาคต ควรติดตามข่าวสารหรือสอบถามแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรับวัคซีน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ พจ.มาลีนา บุนนาค ลู่ ปอด ในทางทฤษฎีการแพทย์แผนจีน เป็นอวัยวะที่ควบคุมพลังชี่ และการไหลเวียนลมปรานชี่ และของเหลวในร่างกาย โดยปกติปอดจะไม่ชอบความชื้น  เมื่อร่างกายรับเชื้อโควิดลงสู่ปอด ปอดติดเชื้อก่อให้เกิดการอักเสบ เกิดเสมหะอุดกั้น ทำให้การกระจายชี่ของปอดไม่สมบูรณ์ เกิดอาการหอบเหนื่อย หายใจติดขัด และการที่ชี่จากปอดไหลย้อนกลับ จะก่อให้เกิดอาการไอ เมื่อยังมีการอักเสบอยู่ การทำงานของปอดจึงยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ จึงทำให้เกิดการไอเรื้อรังได้ อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน เช่น  ไอ หายใจติดขัด เหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งอาจเกิดจากภาวะ Long Covid   เกิดจากการติดเชื้อโรคอื่น หรือโรคที่เกิดขึ้นใหม่ก็เป็นได้ อาการที่อาจหลงเหลืออยู่ […]

วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เรียบเรียงโดย พญ. พิมพ์ชนก วงศ์อาษา สำหรับ ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัส  EV 71   ประสิทธิภาพ ป้องกันมือเท้าปากจากการติดเชื้อ EV71  89.7% ป้องกันการนอนโรงพยาบาล 88 % ป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง 100%   สามารถฉีดได้ใน เด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี 11 เดือน ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกัน  1 เดือน เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย สามารถให้ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องสามารถฉีดได้   ผลข้างเคียงที่พบได้ บวม แดง เจ็บ บริเวณที่ฉีด ไข้ ยังไม่มีรายงานภาวะแทรกซ้อนรุนแรง   อย่างไรก็ตามโรคมือ เท้า ปาก […]

โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก โดย พญ.พิมพ์ชนก วงษ์อาสา โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเตอร์โรไวรัส พบบ่อยได้เด็กอายุน้อยกว่า  5 ปี แต่อาจพบในเด็กโตร่วมได้ และมักระบาดในช่วงฤดูฝน เชื้อที่ก่อโรครุนแรงได้คือ เอนเตอร์โรไวรัส 71 (EV71) อาการ มีไข้ 1-2 วัน แผลในปาก จุดแดงหรือตุ่มน้ำใส บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า อาจมีผื่นบริเวณแขน ขา และก้นได้ และอาการมักดีขึ้นเองภายใน 1 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ การติดต่อ สัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ตุ่มหรือผื่น หรืออุจจาระของผู้ป่วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม  การรักษา รักษาตามอาการ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาชาบ้วนปาก การปฏิบัติตัว หยุดเรียนเป็นเวลา 7 วัน แจ้งทางโรงเรียนเพื่อดูแลทำความสะอาด แยกของใช้ หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่ เน้นย้ำการทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์อย่างเดียวไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ ทำความสะอาดของเล่นและสิ่งแวดล้อมทุกวัน อาการที่ต้องมาโรงพยาบาล […]

โรคอ้วนในเด็ก

โรคอ้วนในเด็ก                 โดย นายแพทย์ภัคนันท์ ตรงจิตการุณย์ กุมารแพทย์   โรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในเด็ก เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมเกินปกติจนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ในประเทศไทย จากผลการสำรวจข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธาณสุข ปี พ.ศ.2564 พบเด็กวัยเรียน (อายุ6-14ปี) มีน้ำหนักเกินและอ้วนร้อยละ 11.09 สาเหตุโรคอ้วน ปัจจัยด้านพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น บิดามารดาอ้วน, มารดาเป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์, ทารกแรกเกิดน้ำหนักมาก, โรคต่อมไร้ท่อ, โรคทางพันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การบริโภคอาหารไขมันสัตว์ อาหารแป้งและน้ำตาลสูง อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น การออกกำลังกายและพฤติกรรมไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ตัวอย่างเช่น เด็กที่ไม่ออกกำลังกาย ดูโทรทัศน์ เล่นวิดีโอเกมส์ ทำให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างพลังงานที่ได้จากอาหาร และพลังงานที่ใช้ของร่างกาย   การวินิจฉัยโรคอ้วน คำนวณจาก การวัดน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง แบ่งตามอายุ และเพศ […]