• Home
  • Blog
  • ความรู้ COVID19
  • แนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่น ในสถานการณ์การติดเชื้อโรค COVID-19 ในครอบครัว

แนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่น ในสถานการณ์การติดเชื้อโรค COVID-19 ในครอบครัว

ความรู้ COVID19, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

แนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่น ในสถานการณ์การติดเชื้อโรค COVID-19 ในครอบครัว

โดย พญ.พิมพิกา หาญวัฒนานุกุล (กุมารแพทย์ทั่วไป)

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มากขึ้น โดยมีทั้งผู้ปกครองและเด็กในหลายครอบครัวติดเชื้อโรคโควิด 19 และต้องไปรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ต้องเกิดการแยกจากกันระหว่างผู้ปกครองและเด็ก ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลต่อตัวเด็กและวัยรุ่นเป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละครอบครัวควรเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าหากเกิดสถานการณ์การติดเชื้อเช่นนี้ในครอบครัว ซึ่งแนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่นที่เหมาะสมในสถานการณ์การติดเชื้อในครอบครัวนั้น ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้

  1. 1. บอกเล่าเหตุการณ์ให้เด็กฟังอย่างตรงไปตรงมา เช่น เหตุการณ์ติดเชื้อโควิดของสมาชิกในบ้าน ทำให้ไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้ชั่วคราวเพราะอาจติดเชื้อกันได้ โดยมีการแนะนำว่าใครต้องไปอยู่ที่สถานที่ใด ระยะเวลานานประมาณเท่าใด
  2. 2. ให้เด็กสามารถสื่อสารกับผู้ปกครองได้อย่างสม่ำเสมอ โดยระหว่างที่แยกกันให้มีช่องทางที่สามารถติดต่อทางออนไลน์หรือโทรศัพท์ได้เสมอ
  3. 3. พยายามสอบถามถึงความต้องการของเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าและสามารถควบคุมอะไรบางอย่างได้ เช่น ของที่ต้องการนำติดตัวไปด้วย เลือกช่วงเวลาที่จะติดต่อกันเป็นประจำ หรือตารางกิจกรรมประจำวัน
  4. 4. แสดงความเข้าอกเข้าใจถึงอารมณ์และการแสดงออกของเด็ก โดยเด็กจะมีการตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตหรือการแยกจากแตกต่างกันออกไป ผู้ปกครองควรรับฟังอย่างตั้งใจ ไม่ต่อว่า และไม่ด่วนตัดสิน
  5. 5. ช่วยเหลือเด็กให้รู้จักและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวเอง เช่น กลัว กังวล เศร้า และให้เด็กลองคิดกิจกรรมที่ช่วยจัดการอารมณ์ได้ด้วยตนเอง
  6. 6. ช่วยให้เด็กสามารถคงกิจวัตรประจำวันคล้ายเดิมได้มากที่สุด เพื่อลดความรู้สึกถึงสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ลดปัญหาด้านสุขภาพจิตที่อาจตามมาจากการถูกบังคับให้ปรับตัวอย่างกระทันหัน
  7. 7. สร้างความเชื่อมั่นว่าผู้ที่ดูแลเด็กในขณะนั้นเป็นที่พึ่งพิงให้เด็กได้ ทั้งในกรณีที่ตัวเด็กเองต้องไปอยู่ในสถานพยาบาล หรือเด็กต้องอยู่กับผู้ดูแลคนอื่นในขณะที่ผู้ปกครองหลักกำลังรักษาตัวอยู่ เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกปลอดภัย สงบ และมั่นคง รวมไปถึงได้เห็นแบบอย่างที่ดีในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตได้

ทั้งนี้หากเด็กในการดูแลมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ควรพาไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้ที่สถานพยาบาลต่าง ๆ หรือ กรณีในระหว่างแยกกักตัวหรือรักษาในสถานพยาบาลก็สามารถปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ที่รับผิดชอบได้โดยทันที นอกจากนั้น ผู้ปกครองเองควรดูแลสุขภาพจิตตนเองอย่างใกล้ชิด จัดการอารมณ์ตนเองอย่างเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดีในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ลดการตำหนิหรือโทษตนเองในสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 โดยหากรู้สึกเครียดหรือไม่สามารถจัดการอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้ สามารถขอรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อ้างอิง: กรมสุขภาพจิต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ พจ.มาลีนา บุนนาค ลู่ ปอด ในทางทฤษฎีการแพทย์แผนจีน เป็นอวัยวะที่ควบคุมพลังชี่ และการไหลเวียนลมปรานชี่ และของเหลวในร่างกาย โดยปกติปอดจะไม่ชอบความชื้น  เมื่อร่างกายรับเชื้อโควิดลงสู่ปอด ปอดติดเชื้อก่อให้เกิดการอักเสบ เกิดเสมหะอุดกั้น ทำให้การกระจายชี่ของปอดไม่สมบูรณ์ เกิดอาการหอบเหนื่อย หายใจติดขัด และการที่ชี่จากปอดไหลย้อนกลับ จะก่อให้เกิดอาการไอ เมื่อยังมีการอักเสบอยู่ การทำงานของปอดจึงยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ จึงทำให้เกิดการไอเรื้อรังได้ อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน เช่น  ไอ หายใจติดขัด เหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งอาจเกิดจากภาวะ Long Covid   เกิดจากการติดเชื้อโรคอื่น หรือโรคที่เกิดขึ้นใหม่ก็เป็นได้ อาการที่อาจหลงเหลืออยู่ […]

วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เรียบเรียงโดย พญ. พิมพ์ชนก วงศ์อาษา สำหรับ ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัส  EV 71   ประสิทธิภาพ ป้องกันมือเท้าปากจากการติดเชื้อ EV71  89.7% ป้องกันการนอนโรงพยาบาล 88 % ป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง 100%   สามารถฉีดได้ใน เด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี 11 เดือน ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกัน  1 เดือน เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย สามารถให้ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องสามารถฉีดได้   ผลข้างเคียงที่พบได้ บวม แดง เจ็บ บริเวณที่ฉีด ไข้ ยังไม่มีรายงานภาวะแทรกซ้อนรุนแรง   อย่างไรก็ตามโรคมือ เท้า ปาก […]

โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก โดย พญ.พิมพ์ชนก วงษ์อาสา โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเตอร์โรไวรัส พบบ่อยได้เด็กอายุน้อยกว่า  5 ปี แต่อาจพบในเด็กโตร่วมได้ และมักระบาดในช่วงฤดูฝน เชื้อที่ก่อโรครุนแรงได้คือ เอนเตอร์โรไวรัส 71 (EV71) อาการ มีไข้ 1-2 วัน แผลในปาก จุดแดงหรือตุ่มน้ำใส บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า อาจมีผื่นบริเวณแขน ขา และก้นได้ และอาการมักดีขึ้นเองภายใน 1 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ การติดต่อ สัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ตุ่มหรือผื่น หรืออุจจาระของผู้ป่วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม  การรักษา รักษาตามอาการ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาชาบ้วนปาก การปฏิบัติตัว หยุดเรียนเป็นเวลา 7 วัน แจ้งทางโรงเรียนเพื่อดูแลทำความสะอาด แยกของใช้ หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่ เน้นย้ำการทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์อย่างเดียวไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ ทำความสะอาดของเล่นและสิ่งแวดล้อมทุกวัน อาการที่ต้องมาโรงพยาบาล […]

โรคอ้วนในเด็ก

โรคอ้วนในเด็ก                 โดย นายแพทย์ภัคนันท์ ตรงจิตการุณย์ กุมารแพทย์   โรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในเด็ก เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมเกินปกติจนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ในประเทศไทย จากผลการสำรวจข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธาณสุข ปี พ.ศ.2564 พบเด็กวัยเรียน (อายุ6-14ปี) มีน้ำหนักเกินและอ้วนร้อยละ 11.09 สาเหตุโรคอ้วน ปัจจัยด้านพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น บิดามารดาอ้วน, มารดาเป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์, ทารกแรกเกิดน้ำหนักมาก, โรคต่อมไร้ท่อ, โรคทางพันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การบริโภคอาหารไขมันสัตว์ อาหารแป้งและน้ำตาลสูง อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น การออกกำลังกายและพฤติกรรมไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ตัวอย่างเช่น เด็กที่ไม่ออกกำลังกาย ดูโทรทัศน์ เล่นวิดีโอเกมส์ ทำให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างพลังงานที่ได้จากอาหาร และพลังงานที่ใช้ของร่างกาย   การวินิจฉัยโรคอ้วน คำนวณจาก การวัดน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง แบ่งตามอายุ และเพศ […]