- Home
- Blog
- ความรู้ COVID19
- มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่
มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่
ความรู้ COVID19, ความรู้เด็กลงวันที่ 13 ธันวาคม 2564

มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่
พญ สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล (กุมารแพทย์)
การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในกรณีทารกเกิดจากมารดาที่เป็น COVID-19 และ PUI ที่มีความเสี่ยงสูง
- ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกผ่านทางนมแม่ และองค์กรทางสาธารณสุขต่าง ๆ แนะนำว่าสามารถให้น้ำนมแม่แก่ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อ COVID -19 ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านบุคลากร สถานที่ และครุภัณฑ์ในการเก็บตุนน้ำนม ตลอดจนความปลอดภัยจากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสขณะขนส่งน้ำนมจากมารดามายังทารก ดังนั้นทารกจะได้รับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเท่านั้น
- สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยแนะนำมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) ปั๊มน้ำนมทิ้งจนกว่าจะทราบผลตรวจเป็น Undetectable และ ในมารดาที่ยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ให้ปั๊มนมทิ้ง เป็นระยะเวลา 14 วัน หลังจากนั้นให้นั้นนมแม่แก่ทารกได้ตามปกติ
- หากมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) หรือยืนยันการติด COVID-19 มีสภาพร่างกายที่พร้อมจะเก็บตุนน้ำนมได้และยืนยันจะเก็บตุนนม ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำการปฏิบัติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์หลังคลอดและทารกแรกเกิด ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีนาคม 2563 ดังนี้
ข้อแนะนำการปฏิบัติในการปั๊มนมสำหรับมารดาที่เป็น PUI หรือยืนยันการติดเชื้อ COVID-19
- อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำสบู่
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ขึ้นไป
- สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนมและปั้มนม
- หลังเสร็จกิจกรรมการปั๊มและเก็บน้ำนม ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เช่น ที่ปั๊มนม ด้วยน้ำยาล้างอุปกรณ์ และการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ
รวมถึงต้องทำความสะอาดด้านนอกของถุงเก็บน้ำนมด้วย แอลกอฮอล์ 70% ก่อนนำนมมาส่งทุกครั้ง
- การให้นม ควรหาผู้ช่วยเหลือ / ญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้องและต้องปฎิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด โดยวิธีการนำน้ำนมแม่มาป้อนด้วยการใช้ช้อน หรือ ถ้วยเล็ก หรือ ขวด
- กรณีแม่อยู่ลำพัง แม่สามารถป้อนนมลูกได้เอง โดยปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการไอหรือจามขณะอุ้มทารก ล้างมือ ทำความสะอาดเต้านมก่อนและหลังสัมผัสทารกทุกครั้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม
คลินิกกุมารเวชกรรม
- โทร 02 849 6600 ต่อ 1121
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปอดอักเสบในเด็ก
ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โ […]
ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่มีขน
สัตว์เลี้ยงที่มีขน สัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข กร […]
วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภู […]
ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช
ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช สารก่อภูมิแพ้จากละออง […]