โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก (Obstructive Sleep Apnea : OSA)

โดย พญ. ศิริลักษณ์ ผลศิริปฐม

อาการและอาการแสดง

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) หมายถึง ความผิดปกติของการหายใจในขณะหลับที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้เกิดการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว โดยมีอาการและอาการแสดงได้แก่

อาการ ได้แก่

  • นอนกรนบ่อยมากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์
  • หายใจแรงกว่าปกติในขณะนอนหลับ
  • มีหยุดหายใจหรือหายใจดังเฮือก
  • ปัสสาวะรดที่นอน
  • นอนในท่านั่งหลับหรือแหงนคอขึ้น
  • ริมฝีปากเขียว ตัวเขียว
  • ปวดศีรษะตอนตื่นนอน
  • ผล็อยหลับหรือง่วงมากผิดปกติเวลากลางวัน
  • มีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ซุกซนผิดปกติหรือสมาธิสั้น ก้าวร้าว
  • มีปัญหาการเรียน

อาการแสดง ได้แก่

  • น้ำหนักหนักน้อยหรืออ้วนกว่าเกณฑ์
  • ต่อมทอลซิลโต
  • คางเล็กหรือสั้น
  • หน้าอะดีนอยด์
  • เพดานปากโค้งสูงหรือโหว่
  • การเจริญเติบโตช้ากว่าเกณฑ์
  • ความดันโลหิตสูง

ภาวะแทรกซ้อนจากโรค  OSA

ภาวะ OSA หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลาย

ระบบได้แก่

  1. ระบบประสาทและพฤติกรรม อาจพบปัญหาได้หลายอย่าง เช่น กลุ่มพฤติกรรมที่มีการซุกซนมากผิดปกติ (hyperactive) โรคสมาธสั้น(attention deficit and hyperactivity disorders : ADHD) หรืออาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น
  2. ระบบหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ ความดันโลหิตสูง หัวใจห้องซ้ายหนาตัวขึ้น และหากอาการรุนแรงจนมีภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีความดันเลือดในปอดสูง(pulmonary hypertension) และทำให้ หัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว(right-sided heart failure ) ตามมา
  1. ระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ปัญหาโรคอ้วน การสะสมไขมันที่ผิดปกติเป็นต้น

 

การวินิจฉัยโรค OSA ในเด็ก

การซักประวัติ

เกี่ยวกับการกรน การหยุดหายใจ รวมถึงการปัสสาวะรดที่นอน และประวัติเกี่ยวกับอาการในเวลากลางวัน เช่น อ้าปากหายใจ คัดจมูกการซุกซนมากผิดปกติ ผลการเรียน เป็นต้น

การตรวจร่างกาย

เช่น การประเมินขนาดของอะดีนอยด์และทอนซิล การตรวจจมูก การประเมินลักษณะโครงสร้างใบหน้า เป็นต้น

การตรวจเพิ่มเติม

  1. การถ่ายภาพทางรังสีของกะโหลกศีรษะด้านข้าง เพื่อใช้ประเมินขนาดของอะดีนอยด์
  2. การส่งกล้องตรวจทางเดินหายใจส่วนบน สามารถใช้ในเด็กโตที่ให้ความร่วมมือ
  3. การตรวจค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนขณะหลับ (overnight pulse oximetry) เป็นการหาระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดขณะหลับ สามารถนำมาใช้เป็นการตรวจคัดกรองโรค OSA ในเด็กได้ถ้าผลเป็นบวก ผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็น OSA ได้สูง แต่ถ้าผลเป็นลบไม่สามารถตัดโรค OSA ออกไปได้ ยังต้องส่งผู้ป่วยไปตรวจการนอนหลับชนิด เต็มรูปแบบ (Polysomnography, PSG) ต่อไป
  4. การตรวจการนอนหลับชนิด เต็มรูปแบบ (Polysomnography, PSG) เป็นการตรวจมาตรฐานสำหรับการวินิจฉัย OSA

แนวทางการรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีโรค OSA

  1. การรักษาโดยการผ่าตัดต่อมอดีนอยด์และทอลซิล เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในผู้ป่วยเด็กที่มีโรค OSA ที่มีต่อมทอนซิลและ/หรืออะดีนอยด์โต
  2. การใช้ยาพ่นจมูกกลุ่มสเตียรอยด์ ควรใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีโรค OSA ระดับความรุนแรงน้อยหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดต่อมทอนซิลและ/หรืออะดีนอยด์ได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการตอบสนองต่อยาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกัน และหลังหยุดใช้ยาอาจมีอาการกลับมาได้
  1. การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องใช้ในกรณี

– ผู้ป่วยที่ให้การรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิลและ/หรืออะดีนอยด์แล้วยังมีอาการของOSA หลงเหลืออยู่

– OSA ที่สัมพันธ์กับภาวะอ้วน, โรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และโครงสร้างใบหน้าผิดปกติที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ได้สำเร็จ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]