วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับ

วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับ

พญ. เมธาวี อุฬารวงศ์ (สูตินารีแพทย์)

            ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆหลายชนิด สำหรับวัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับในช่วงที่ฝากครรภ์ เพื่อป้องการอันตรายของมารดา และทารกในครรภ์ ประกอบด้วย

1. วัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (TdaP, Tdap) หรือ วัคซีนป้องกันไอกรนชนิดเดี่ยว (acellular Pertussis; aP)

โรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เป็นโรคติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะไอกรนที่ทารกมักจะติดเชื้อจากมารดาหรือคนในครอบครัว มีคำแนะนำว่าหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Tdap, TdaP) หรือ วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดเดี่ยว (aP) ในช่วงอายุครรภ์ 27 ถึง 36 สัปดาห์ หากเคยได้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก (tetanus vaccine) ครบถ้วนในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี

ดังนั้น แพทย์มักแนะนำวัคซีนดังกล่าวให้กับคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ในช่วงท้ายไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 3 โดยฉีดจำนวน 1 เข็ม ทั้งนี้ หากคุณแม่มีประวัติได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักไม่ครบถ้วน แพทย์จะพิจารณาฉีดวัคซีนบาดทะยักชนิดเดี่ยวเพิ่มเป็นรายๆค่ะ

2. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนสายพันธุ์อย่างสม่ำเสมอทุกปี และก่อให้เกิดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่าในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจทำให้ปอดบวม มีภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง และแนะนำที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 14 สัปดาห์เป็นต้นไป

3. วัคซีนป้องกัน COVID-19

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งมีการแพร่ระบาดมาตั้งแต่ปี 2019 โรคนี้ก่อให้เกิดอาการของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมักรุนแรงกว่าในผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่เหมาะสม นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด

ในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย โดยสามารถฉีดได้ทุกอายุครรภ์ หรือเริ่มฉีดที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดคือ mRNA vaccines ได้แก่ Pfizer และ Moderna ค่ะ

 

โดยทั่วไป สูติแพทย์จะแนะนำการฉีดวัคซีนที่จำเป็นสำหรับอายุครรภ์เหมาะสมเมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลค่ะ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีบริการคลินิกรับการฝากครรภ์และบริการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ โดยเปิดรับฝากครรภ์ทุกวัน จันทร์ อังคาร และศุกร์ เวลา 09.00-15.00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกรับฝากครรภ์ (ANC)

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 1571 , 1572

คลินิกนรีเวชกรรม

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 1571 , 1572

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหล้าเถื่อน ยาดองมรณะ

เหล้าเถื่อน ยาดองมรณะ พญ.มลินพร แจ่มพงษ์ หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์และตจวิทยา เหล้าเถื่อน โดยเฉพาะที่ปนเปื้อนด้วย เมทานอล เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ การบริโภคแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจนำไปสู่ความพิการถาวรหรือเสียชีวิตได้ เมทานอล หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นสารเคมีที่เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว และระเหยง่าย ซึ่งแตกต่างจากเอทานอล(แอลกอฮอล์ที่ใช้ในการดื่ม)อย่างสิ้นเชิง โดยทั่วไปเมทานอลมักใช้ในการละลายสารเคมีในกระบวนการผลิต เช่น สี หมึกพิมพ์ เรซิน เมทานอลมักถูกนำมาผสมในเหล้าเถื่อนเพื่อเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์และลดต้นทุนการผลิต เมื่อเมทานอลเข้าสู่ร่างกาย มันจะถูกเปลี่ยนเป็นสารพิษที่ชื่อ ฟอร์มาลดีไฮด์ และ ฟอร์เมท ซึ่งสารเหล่านี้จะไปทำลายเซลล์ประสาทและอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อาการแสดงเมื่อได้รับสารพิษเมทานอล อาการแสดงสามารถพบได้ตั้งแต่ระยะ12-24ชม.หลังได้รับเข้าสู่ร่างกายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณเมทานอลที่ได้รับ อาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว มึนงง ง่วงซึม อาการทางสายตา เช่น มองเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว ตาบอด ชัก หมดสติ การป้องกันที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าเถื่อน: ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่รู้แหล่งที่มาหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต เลือกซื้อเครื่องดื่มจากแหล่งที่เชื่อถือได้: ควรซื้อเครื่องดื่มจากร้านค้าที่ได้รับอนุญาตและมีการควบคุมคุณภาพ สังเกตฉลากและบรรจุภัณฑ์: ตรวจสอบฉลากและบรรจุภัณฑ์ว่ามีการระบุส่วนผสมและผู้ผลิตอย่างชัดเจน […]

ตะลิงปลิงอาจเป็นภัยต่อไตของคุณ

ตะลิงปลิง อาจเป็นภัยต่อไตของคุณ พญ.มลินพร แจ่มพงษ์ (หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์และตจวิทยา) ตะลิงปลิงเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจัดด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่เชื่อกันว่ามีมากมาย ทำให้ตะลิงปลิงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งรับประทานสด ๆ ผสมในอาหาร หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่ในอีกด้านหนึ่งการรับประทานตะลิงปลิงมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อไตได้ เนื่องจากตะลิงปลิงมีสารออกซาลิกสูง สารชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะรวมตัวกับแคลเซียมในร่างกาย ทำให้เกิดผลึกออกซาเลท ซึ่งอาจสะสมในท่อไตและทางเดินปัสสาวะ หากสะสมมากเกินไปอาจก่อให้เกิดนิ่วในไต หรือในกรณีที่รุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ อาการแสดงของโรคไตจากผลึกออกซาเลท อาจปรากฏอาการตั้งแต่ 24-48 ชม.แรกหากรับประทานในปริมาณมาก หรืออาจไม่ปรากฏให้เห็นในระยะเริ่มแรกแต่เมื่อโรคดำเนินไป อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลังโดยเฉพาะบริเวณเอว ปัสสาวะมีเลือดปนอาจเป็นสีชมพู แดง หรือน้ำตาล ปัสสาวะขุ่นหรือมีตะกอน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย กินตะลิงปลิงอย่างไรให้ปลอดภัย รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรกินตะลิงปลิงในปริมาณมากเกินไป หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำคั้นจากตะลิงปลิง เนื่องจากน้ำคั้นจากตะลิงปลิงจะมีปริมาณสารออกซาลิกสูงมาก หลีกเลี่ยงการรับประทานตะลิงปลิงในช่วงท้องว่าง เพราะร่างกายจะดูดซึมสารออกซาลิกได้อย่างรวดเร็ว

การฝังเข็มความงาม

การฝังเข็มความงาม (美容针灸) โดย แพทย์จีนมาลีนา บุนนาค ลู่ ศาสตร์การฝังเข็มไม่เพียงแต่เป็นการรักษาโรคเท่านั้น หากยังมีการฝังเข็มความงามใบหน้าด้วย  เมื่อการไหลเวียนโลหิต และการหมุนเวียนของพลังชี่บริเวณใบหน้าไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดใบหน้าหมองคล้ำ ซีดเซียว หย่อนยาน ขอบตาดำคล้ำ การแสดงออกทางสีหน้าด้วยอารมณ็ต่างๆ ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดสิว ผิวหน้าของเราได้รับสัมผัสกับสิ่งภายนอกตลอดปี และมีความไวต่อมลภาวะในอากาศเป็นพิเศษ ผิวหน้านั้นต้องการการดูแลอย่างอ่อนโยน การฝังเข็มความงามใบหน้า จะใช้เข็มบางขนาดเล็ก เป็นเข็มสเตอร์ไรด์ และบางกว่าเข็มรักษาโรค ใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีความปลอดภัยสูง และได้ผลดี เนื่องจากการฝังเข็มความงามใบหน้า ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณใบหน้า เร่งการเผาผลาญของเสียในเซลล์ จึงช่วยให้ใบหน้ากระจ่างใส ลดริ้วรอย ฝ้า กระ สิวและรอยสิวได้ การฝังเข็มความงามใบหน้า หากต้องการเห็นผลเร็ว สามารถทำวัน เว้นวัน  โดยทั่วไปควรทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรืออย่างน้อยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (20 ครั้งเป็น 1 รอบการบำรุง) สำหรับผลลัพธ์แต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับเหตุปัจจัยหลายอย่าง แต่สามารถทำได้เรื่อยๆ เพราะถือเป็นการบำรุงผิวหน้าอย่างหนึ่ง ถึงแม้การฝังเข็มความงามใบหน้า […]

กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง (Ptosis) นพ. เอกชัย เลาวเลิศ กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง เกิดขึ้นได้โดยกำเนิด หรือพบในภายหลัง ทุกวัย โดยระดับความรุนแรงมากน้อยต่างกัน ส่งผลทำให้ตาดูง่วง และไม่สดใส ยังส่งผลถึงการมองเห็น ทำให้วิสัยทัศน์การมองเห็นแคบลงด้วย (ตาขี้เกียจ) ตาปรือ ทำให้ดำเนินชีวิตลำบาก ทั้งภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ และการใช้งานด้านการมองเห็น หนังตาตกหย่อนคล้อย ดูเศร้า ไม่สดชื่น เปลือกตาบดบังทัศนวิสัย กล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรง ดูอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เปลือกตาบดบังทัศนวิสัย   ผ่าตัด “แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” เพื่ออะไร สามารถเปิดหนังตาให้ตาดำดูโต ช่วยให้ตาแลดูสดใส มีชั้นตาชัดเจน ส่งเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น เพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็น จากกล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรงที่ได้รับการแก้ไข ลดความตึงเครียดจากการใช้กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle) ซึ่งส่งผลต่ออาการปวดล้าหน้าผาก (Overuse) จนปวดศีรษะ (Headache) และลดริ้วรอยที่หน้าผากจากการใช้กล้ามเนื้อได้ ช่วยเสริมบุคลิกภาพ ไม่ให้ดูเป็นคนเครียดที่ย่นหน้าผากตลอดเวลา รอยย่นที่หน้าผากจากการใช้กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle) เพื่อดึงเปลือกตาแทนกล้ามเนื้อยกเปลือกตาที่อ่อนแรง กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle)   ผ่าตัด […]