วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ

โรคตับอักเสบเอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ผู้ป่วยมีอาการแบบเฉียบพลัน เริ่มด้วยมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองตามมาโดยปกติโรคนี้มักหายขาด และเมื่อหายแล้วจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น ในเด็กส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย อาการจะเป็นมากขึ้นถ้าเป็นในผู้ป่วยที่อายุเพิ่มขึ้น

ปฏิกิริยา

พบเพียงเล็กน้อย อาการที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ที่พบบ่อยได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด (น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ที่มีรายงานว่ารุนแรง) และจะหายเป็นปกติได้เอง บวมและแดงเล็กน้อย พบประมาณร้อยละ 4 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนปฏิกิริยาทั่วไป (systemic adverse events) ไม่รุนแรงและหายได้ภายใน 24 ชั่วโมง ได้แก่อาการปวดศีรษะครั่นเนื้อตัว อ่อนเพลีย มีไข้ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาการเหล่านี้พบประมาณร้อยละ 1-13.9 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด

วัคซีนนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบเอได้ภายใน 2-4 สัปดาห์

หลังได้รับวัคซีน 1โด๊ส ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างน้อย 1 ปีการฉีดกระตุ้นในระยะ 6-12 เดือน หลังจากครั้งแรกจะกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันในระยะยาวอย่างน้อย 20 ปี

การป้องกันและควบคุมไวรัสตับอักเสบเอ

ในเชิงนโยบายขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีนโยบายกวาดล้างไวรัสตับอักเสบเอ หรือควบคุมป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ ถ้ากวาดล้างไวรัสตับอักเสบเอ เราจะต้องป้องกันการติดเชื้อทั้งในเด็กเล็กและในผู้ใหญ่ ในเด็กเล็กส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่กระจายโรค ดังนั้นการกวาดล้างจึงจำเป็นต้องป้องกันในเด็กเล็กด้วยการให้วัคซีน สำหรับการควบคุมและการป้องกันโรค จุดมุ่งหมาย

การเกิดโรคจะอยู่ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เพราะเมื่อติดเชื้อจะมีโอกาสป่วยเป็นตับอักเสบได้มากกว่า ในการป้องกันโรคควรมุ่งเน้นในกลุ่มเด็กและเด็กวัยรุ่น

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ควรได้รับวัคซีน

ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนได้แก่ เด็กที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสถานรับเลี้ยงเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีความพิการทางสมองและระดับสติปัญญาผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดการระบาดได้บ่อย เด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีโรคตับเรื้อรังอยู่ก่อนและไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบเอ เด็กหรือผู้ใหญ่ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวหรือพำนักยังประเทศที่มีอุบัติการณ์และความชุกของโรคสูง ควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง

ข้อควรระวังของการให้วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ

  1. แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานผลการใช้วัคซีนต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ก็ตาม ยังแนะนำในการฉีดให้กับหญิงตั้งครรภ์
  2. ควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ที่มีเกร็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) หรือผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
  3. ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

Obviously you are not alone in your need to have your essay composed, and you could affordable-papers.net always hire a essay writing company that will assist you.

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]