นวดกดจุดบรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้องได้จริงหรือ

ความรู้แผนจีน   ลงวันที่

อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ในปี 2015 พบผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดทั่วโลกคิดเป็น 29.8%[1]. ซึ่งในจำนวนนี้มีประชากรชาวยุโรปคิดเป็นประมาณ10%[2].  และประชากรชาวเอเชียคิดเป็นร้อยละ 19%. และพบชาวจีนอีกร้อยละ 24% แต่ดูเหมือนว่าในอนาคตประชาชนทั่วโลกจะมีอาการท้องอืดเพิ่มมากชึ้นอีก[3]. ในประเทศจีนศาตราจารย์ดร. Li Yan แห่ง Shengjing Hospital Affiliated to China Medical University ได้ทำงานวิจัยและรวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างอาการท้องอืดและความวิตกกังวลโดยใช้แบบสอบถาม Hamilton Depression Scale (HAMD)、Hamilton Anxiety Scale(HAMA) เป็นต้น ภาวะAnxiety และ depressive มีความสัมพันธ์กับอาการท้องอืด[4-5] . Kugler[6] ได้รวบรวมคนไข้ที่มีภาวะAnxiousและภาวะDepressed จำนวน125คน พบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะAnxiousมีจำนวนร้อยละ50.4%และภาวะDepressedจำนวนร้อยละ42.4% ซึ่งในจำนวนทั้งหมดนี้ไม่มีภาวะท้องอืดคิดเป็น13.3%,6.66% ตามลำดับ นั้นหมายความว่าภาวะทางอารมณ์ค่อนข้างส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งทำให้ท้องอืดและอาหารไม่ย่อยได้ง่าย

มุมมองทางการแพทย์แผนตะวันตก

อาการและสาเหตุอาการท้องอืด (Bloated stomach) พบได้บ่อย โดยทั่วไปเป็นภาวะที่ท้องเกิดอาการแน่นเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องดูมีลักษณะบวม บางครั้งรู้สึกปวดแน่นท้องส่วนบน รู้สึกไม่สบายท้อง เสมือนมีลมในท้อง ต้องเรอบ่อยๆบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อิ่มเร็ว หรืออาจมีอาการแน่นท้อง แม้จะรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยก็ตาม บางรายมีอาหารแสบบริเวณหน้าอกร่วมด้วย ซึ่งอาหารท้องอืดสามารถเกิดขึ้นกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเมื่อเกิดอาการแล้วจะส่งผลให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่สะดวกเนื่องจากรู้สึกอึดอัดท้อง บางรายอาจได้ยินเสียงโครกครากภายในท้อง และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย สาเหตุโดยทั่วไปเกิดจาก เช่น โรคในระบบทางเดินอาหารเองที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ หรืออาจจะเกิดจากยาที่รับประทาน เช่น ยาแก้ปวดข้อที่อาจจะทำให้เยื่ยบุกระเพาะอาหารอักเสบ หรือแม้แต่ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับที่ทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง รวมถึงการดื่มสุรา แอลกอฮอลล์และการรับประทานอาหารแข็ง เป็นต้น
มุมมองทางการแพทย์แผนจีน

อาการและสาเหตุอาการท้องอืด (Piman) สาเหตุทางศาสตร์การแพทย์จีน แบ่งสาเหตุได้เป็นภาวะแกร่งและภาวะพร่อง ซึ่งทั้งสองสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาการที่ไม่ตรงเวลา หรือทานอาหารปริมาณมากเกินไป อาหารที่ไม่ย่อยตกค้างในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอืดแน่นในท้อง หากมีอาหารที่ไม่ย่อยตกค้างในลำไส้จะเกิดการแน่นท้อง ปวดท้อง ท้องผูก หรือเกิดจากภาวะชี่ของม้ามและกระเพาะพร่อง ทำให้การลำเลียงและดูดซึมอาหารผิดปกติไป จึงทำให้เบื่ออาหาร หรือมีเสียงเคลื่อนไหวในกระเพาะอาหารและลำไส้ เมื่อการลำเลียงและดูดซึมอาหารผิดปกติไป การสร้างชี่และเลือดน้อยลง จึงเป็นสาเหตุของความอ่อนเพลียตามมา

การรักษา

การจัดการกับภาวะท้องอืด หลักการในการรักษาพยาบาลอาการท้องอืด คือการที่พยายามลดหรือกำจัดปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการท้องอืด โดยแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ[7]

1.การจัดการกับภาวะท้องอืดโดยใช้ยา เช่น การใช้ยาขับลมทำหน้าที่ขับลมในกระเพาะและลำไส้ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย (Peppermint oil) 、 Air-x, การใช้ยาลดกรดเป็นยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร ให้มีความเป็นกลางมากขึ้น ได้แก่ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminum Hydroxide) 、antacid, การใช้ยาระบาย เช่น Dulcolax , ยาช่วยย่อยที่มีส่วนประกอบของเอนไซม์ช่วยย่อย ได้แก่ อะไมเลส (Amylase) หรือแม้แต่ยากล่อมประสาทที่ช่วยลดความวิตกกังวลแต่ยาบางชนิดก็อาจส่งผลข้างเคียง เช่น ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้ ซึ่งหากมีอาการไม่พึงประสงค์ ควรรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์ให้เร็วที่สุด

2.การจัดการกับภาวะท้องอืดโดยไม่ใช้ยา เช่น การเล่นโยคะ,การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช่น การรับประทานอาหารมื้อเย็นให้เร็วขึ้น หลีกเลี่ยงการนอนหลังรับประทานอาหาร หมั่นเดินเล่นหลังจากรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานผักดิบ ,หลีกเลี่ยงความเครียด หรือแม้แต่การนวดกดจุด , การฝังเข็ม เป็นต้น

ในช่วง10ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2009-2019 ศาตราจารย์ Liu [8] แห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนฉางชุนได้รวบรวมและสังเคราะห์บทความงานวิจัยเกี่ยวกับการฝังเข็มรักษาอาการท้องอืด แน่นท้อง พบว่าการฝังเข็มรักษาระบบทางเดินอาหารได้ผลดีถึง 90% โดยใช้ Excel และ Clementinel 2.0 พบว่าในช่วง10ปี งานวิจัยที่เกี่ยวการฝังเข็มรักษาอาหารท้องอืด แน่นท้องมี 52ฉบับ จุดฝังเข็มที่ใช้ทั้งหมดที่พบในงานวิจัยมี 47 จุด ใช้ไปจำนวน600ครั้ง โดยเลือกใช้เส้นลมปราณกระเพาะอาหารมากที่สุด รองลงไปคือเส้นลมปราณเริ่น และเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะตามลำดับ โดยจุดที่เลือกใช้มากที่สุดคือจุดจูซานหลี่、จุดจงหว่าน、จุดเน่ยกวาน、จุดเทียนซู、จุดไท่ซง ตามลำดับ,นอกจากนี้ยังมีการใช้จุดมู้ ค่อนข้างมาก เช่นจุดจงหว่าน、 จุดเทียนซู 、จุดชีเหมิน โดยจุดคู่ที่ใช้ด้วยกันมากที่สุดในทางคลินิกคือ จุดจูซานหลี่และจุดจงหวาน เนื่องจากเป็นจุดมู่และจุดที่รักษาอวัยวะกลวง.

ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันอาจแก้จุกเสียดแน่นท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อยด้วยยาขับลม หรือยาช่วยย่อยอาหาร ทว่าตามศาสตร์แพทย์แผนจีน เรามีวิธีกดจุดหยุดอาการท้องอืด แน่นท้องช่วยด้วยอีกทางหนึ่ง

1.จุดจู๋ซานหลี

จุดนี้จะอยู่ใต้สะบ้าหัวเข่าล่างลงไปประมาณ 3 นิ้ว โดยจะอยู่บริเวณข้างกระดูกหน้าแข้งด้านนอก โดยให้ใช้หัวแม่มือกดที่จุดจู๋ซานหลีทั้งสองข้างประมาณ 3-5 นาที ดังรูป

2.จุดจงหว่าน

จุดมู่ของกระเพาะอาหาร อยู่บนแนวกึ่งกลางลำตัวด้านหน้า เหนือสะดือ 4 นิ้ว

3.จุดเน่ยกวน

จุดเน่ยกวนจะอยู่ห่างจากเส้นข้อมือระหว่างเอ็นทั้งสอง โดยห่างจากเส้นข้อมือประมาณ 2 นิ้ว ดังรูป   กดจุดเน่ยกวานค้างไว้ข้างละ 3-5 นาทีก็จะช่วยให้ได้ผลดีขึ้น ยิ่งหากดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ สักแก้ว อาการก็จะทุเลาลงเร็วขึ้นด้วย

นอกจากวิธีการกดจุดข้างต้นแล้ว ยังอยากแนะนำวิธีป้องกันอาการจุกลิ้นปี่ด้วยการเลือกรับประทานอาหารไฟเบอร์สูง อย่างผัก-ผลไม้ เพื่อช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมไปถึงควรดื่มน้ำให้พอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เพราะอาหารไขมันสูงเป็นสาเหตุของอาการจุกเสียดแน่นท้อง

อย่างไรก็ตามอาการท้องอืด แน่นท้อง อาจเป็นอาการแสดงของโรคต่างๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะคนที่มีอาการจุกแน่นท้อง ต่อเนื่องนานเกิน2 สัปดาห์ แม้จะแก้ด้วยวิธีต่างๆ ไปก็ไม่ค่อยได้ผลแนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการจุกเสียดลิ้นปี่โดยเร็วจะดีที่สุดค่ะ

Reference

[1]FordAC,MarwahaA,SoodR,etal.Globalprevalenceof,andrisk factors for, uninvestigated dyspepsia: a meta-analysis[J]. Gut, 2015,64(7):1049-1057.

[2]Aziz I, Palsson OS, Törnblom H, et al. Epidemiology, clinical characteristics, and associations for symptom-based Rome IV functional dyspepsia inadultsin the USA, Canada,andtheUK:a cross-sectionalpopulation-basedstudy[J].LancetGastroenterol Hepatol,2018,3(4):252-262.

[3]Ghoshal UC, Singh R, Chang FY, et al. Epidemiology of uninvestigated and functional dyspepsia in Asia: facts and fiction[J].JNeurogastroenterolMotil,  2011,17(3):235-244.2011.

[4]尚妍妍,徐峰.功能性胃肠病伴焦虑、抑郁状态及其与胃肠道症 状积分的相关性[J] . 世界华人消化杂志,2016,24(19):30513055.

[5]刘隽,刁磊,杨彩虹,等.功能性胃肠病与精神心理因素的关系 及其治疗[J] .胃肠病学,2016,21(2):98-100.

[6] Kugler TE. Anxiety and depressive disorders in functional dyspepsia: cause or consequence?[J]. Eksp Klin Gastroenterol, 2015,(9):29-35.

[7] กษมา ตันติผลาชีวะ. (2549). Post operative ileus: Cause,prevention and treatment. ศัลยศาสตร์ วิวัฒน์ 32. (หน้า 83-110). กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร.

[8]刘武,马鋆,刘晓娜,王富春.基于数据挖掘的功能性消化不良针灸取穴规律[J].亚太传统医药,2019,15(10):157-159.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

หยิน-หยาง

หยิน-หยาง พจ.ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ :  ผู้แปลและเรียบเร […]