โรคอ้วน

โรคอ้วน

พญ.ปฏินุช เย็นรมภ์ (อายุรศาสตร์และตจวิทยา)

เกิดจากร่างกายมีการสะสมไขมันใต้ชั้นผิวหนังมากกว่าปกติ ซึ่งจะคิดตามน้ำหนักตัว  คำนวนโดยใช้ดัชนีมวลกาย (BMI)

BMI = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม/(ส่วนสูงเป็นเมตร)ยกกำลังสอง     มีหน่วยเป็น kg/m2 

หากมีค่า BMI มากกว่า 25 kg/m2   จัดว่าเป็นโรคอ้วน

แต่หากเจ้าไขมันที่สะสมตามร่างกายนี้ส่งผลถึงระบบอวัยวะภายในร่างกาย จะเรียกว่า โรคอ้วนลงพุง ซึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

มีภาวะอ้วน โดยวัดจากเส้นรอบเอว ในผู้หญิงตั้งแต่ 80 เซ็นติเมตร ส่วน ผู้ชายตั้งแต่ 90 เซ็นติเมตร ร่วมกับมีภาวะมากกว่า2ใน4ข้อดังต่อไปนี้

  1. ความดันโลหิตสูงมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท
  2. ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  3. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูงมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  4.   ระดับไขมันดี (HDL) ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ชาย และต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง

แพ็คเกจเหล่านี้นั่นเองที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง ซึ่งหาไม่ได้จากการอยู่นิ่งเฉยหรือจากกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว แต่ถูกซ้ำเติมด้วยการกินอยู่อย่างเร่งรีบและไม่ไตร่ตรองในโลกยุคปัจจุบันทันด่วนนี้  ซึ่งโรคอ้วนลงพุง เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไขมันสะสมที่หน้าท้องและมีรอบเอวขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีระดับความดันโลหิต มีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น  โรคเบาหวานชนิดที่2  โรคไขมันเกาะตับ โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ได้มากขึ้น ซึ่งโรคร้ายแรงเหล่านั้น จัดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ติดอันดับของสาเหตุการเสียชีวิต10อันดับแรกที่จัดโดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ของประเทศไทย

โดยอุบัติการณ์การเกิดโรคอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้นในทุกๆปี ทั้งนี้เนื่องมาจากการบริโภคที่เกินความจำเป็นและไม่ถูกหลักโภชนาการ ดังนั้น หากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย จึงควรป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วน โดยการรับประทานอาหารให้พอเหมาะกับความต้องการและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน 

นอกจากนี้ บุคคลบางกลุ่มอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนลงพุงได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เช่น   ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีโรคอ้วนลงพุงหรือเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2, ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) หรือผู้ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หากมีภาวะเหล่านี้ ควรป้องกันและระมัดระวังเป็นพิเศษ

       แต่หากได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอ้วนลงพุงแล้ว เป้าหมายของการรักษา คือ การลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ด้วยการลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ซึ่งอาจปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้ 

  1.   ปรับวิธีการรับประทานอาหาร โดยเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปต่างๆที่เต็มไปด้วยผงชูรสและเกลือปริมาณมาก

2.ลดน้ำหนัก และควบคุมให้น้ำหนักอยู่ในช่วงดัชนีมวลกาย 18.5-24.9

kg/m2 

3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายและการใช้พลังงาน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย ควรออกกำลังกายชนิด แอโรบิก ( aerobic exercise ) เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก อย่างต่อเนื่อง30นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย 150นาทีต่อสัปดาห์

  1. ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ด้วยการงดสารเสพย์ติดต่างๆรวมทั้งบุหรี่ 

หากปฏิบัติอย่างต่อเนื่องแล้วไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า

 

ที่มา

รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากร พ.ศ. 2557 สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)

2013 AHA/ACC/TOS Guideline for obesity

Guy-Grand B. A new approach to the treatment obesity. A discussion Annals of the New York Academy of Sciences 1987

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]