สุขภาพดี ทำได้ง่ายๆ แค่…ลดหวาน

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

จากการสำรวจของกรมอนามัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 20 ช้อนชา เกินกว่าปริมาณแนะนำถึงกว่า 3 เท่าในขณะที่สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคอ้วนก็พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ควรตระหนักอย่างยิ่งในเรื่องของการบริโภคน้ำตาล โดยเฉพาะเครื่องดื่มและอาหารที่มีน้ำตาลสูงซึ่งการการติดน้ำตาลหรือติดรสหวานนั้น มาจากนิสัยการกินตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกินน้ำตาลหรือของหวานเพิ่มมากขึ้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

         

        ลักษณะของคนติดหวานจะมีความต้องการอยากกินของหวานอยู่เสมอ ช่วงที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไม่ได้รับน้ำตาล อาจเกิดอาการซึมเศร้า อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย และขาดสมาธิการลดปริมาณน้ำตาลควรลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะถ้างดเด็ดขาด อาจทำให้เกิดอาการอยากของหวานมากขึ้นอีกได้ ซึ่งจะส่งผลให้บริโภคน้ำตาลมากกว่าเดิม และอาจทำให้เกิดความท้อใจจนไม่สามารถลดน้ำตาลลงได้

การลดการบริโภคน้ำตาล อาจเริ่มจากลดการเติมน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มลง ใช้สูตรหวานน้อยจากปกติ และค่อย ๆ ลดลงอีกในวันต่อมา ลดการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน และน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เลือกรับประทานผลไม้สดโดยไม่ต้องจิ้มเกลือน้ำตาล อาจเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นบางครั้งคราว และเพิ่มการออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้เกิดการเผาผลาญน้ำตาลส่วนเกิน ไม่ให้มีการเปลี่ยนรูปเป็นไขมันสะสมอยู่ในร่างกาย

   

การอ่านฉลากโภชนาการ เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดและควบคุมปริมาณน้ำตาลอย่างได้ผล ซึ่งจะบอกปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง รวมถึงสามารถเปรียบเทียบและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

 ฉลากโภชนาการแบบเต็มและแบบย่อจะให้ข้อมูลโภชนาการต่อ 1 หน่วยบริโภค แสดงว่าถ้าหากผลิตภัณฑ์นั้นมีหลายหน่วยบริโภค ปริมาณน้ำตาลและสารอาหารทั้งซอง/กล่อง ต้องนำไปคูณกับจำนวนหน่วยบริโภคนั้น ตย.เช่น จากรูปฉลากโภชนาการแบบเต็มข้างต้น จะมีปริมาณน้ำตาลทั้งซอง/กล่อง คือ 9 ĭ 22 = 198 กรัม ซึ่งต่างจากฉลากโภชนาการ หวาน มัน เค็ม จากรูปข้างต้น จะมีปริมาณน้ำตาลทั้งซอง/กล่อง คือ 2 กรัม

             องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ปริมาณน้ำตาลที่เติมในอาหาร ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน ซึ่งสามารถกำหนดเป็นปริมาณน้ำตาลในแต่ละวันได้ว่า ไม่ควรเกิน 4 ช้อนชา สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี ไม่เกิน 6 ช้อนชา สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี

            อย่างไรก็ตาม เพื่อให้จดจำได้ง่าย จึงมีการแนะนำปริมาณน้ำตาลสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปว่า ในแต่ละวันไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 4 ช้อนชา หรือ 16 กรัม (น้ำตาล 1 ช้อนชา จะเท่ากับประมาณ 4 กรัม) และสำหรับวัยรุ่นหญิง/ชาย วันทำงาน คือ ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม โดยให้คำนึงถึงสุขภาพและโรคประจำตัวของแต่ละบุคคลด้วย ปริมาณ 4 และ 6 ช้อนชานี้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องกินให้ได้ 4 และ 6  ช้อนชาต่อวัน แต่หมายถึงว่าควรลดปริมาณน้ำตาลต่อวันให้น้อยที่สุดและไม่ควรบริโภคเกินจากนี้นั่นเอง

จัดทำโดย: งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โทร 02-8496600 ต่อ 1084/1085

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข       

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]