Work from homeอย่างไร ให้ห่างไกลOffice syndrome  

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

Work from homeอย่างไร ให้ห่างไกลOffice syndrome  

ปัจจุบันนี้ ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นคำที่รู้จักกันแพร่หลายมากขึ้นพบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยเฉพาะในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายๆคนต้อง work from home ทำงานผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์, tablet, มือถือ เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้พบอาการ เช่น ปวดคอบ่าไหล่ เวียนศีรษะ ปวดข้อมือ เป็นต้น กลุ่มอาการที่เป็นนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจจนอาจกระทบต่องานที่ทำได้ด้วย

ทำความรู้จัก Office syndrome

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คือกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในคนที่นั่งทำงานนานๆ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนท่า ท่านั่งไม่เหมาะสม มีการใช้กล้ามเนื้อในรูปแบบเดิมซ้ำๆ สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยในการทำงาน กลุ่มอาการนี้พบได้ในคนที่นั่งทำงานในออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่จริงพบในคนทั่วไปได้เช่นกันถ้าคนเหล่านั้นมีพฤติกรรมนั่งทำงานดังที่กล่าวมา

ภาพแสดงท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสม: การนั่งหัวไหล่ห่อ หลังค่อม ยื่นศีรษะไปข้างหน้า แขนไม่มีที่พักเพราะระดับความสูงของที่พักแขนไม่เท่ากับความสูงโต๊ะ ส่งผลให้เกิดภาวะเครียดของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการปวดตามมา

อาการที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง?

  • ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก –     ปวดข้อมือ
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ –     ปวดกระบอกตา
  • ปวดหลัง –     ปวดเข่า

การรักษา Office syndrome

                การรักษา Office syndrome ในเบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยต้นเอง

การจัดท่าที่เหมาะสมเวลานั่งทำงาน

  • เลือกเก้าอี้ที่มีเบาะที่นั่งสามารถรองรับการวางต้นขาได้เต็มที่
  • ความสูงเก้าอี้จะต้องนั่งแล้วเข่างอทำมุม 90-110 องศา เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า หากเท้าไม่ถึงพื้นสามารถหาที่พักเท้ามาวางช่วยได้
  • มีที่พักแขนที่สูงระดับเดียวกับโต๊ะ
  • นั่งหลังชิดพนักพิง แล้วพิงเอนหลังเล็กน้อย
  • ปรับสภาพแวดล้อมโต๊ะทำงาน ให้คอมพิวเตอร์หรืองานอยู่ด้านหน้าของผู้ใช้ และปรับให้ระดับสายตาอยู่ตรงกับขอบบนจอคอมพิวเตอร์พอดี
  • เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยขึ้น ไม่นั่งอยู่ในท่าเดิมนานเกินชั่วโมง

ประคบอุ่นช่วยได้

ประคบอุ่นตรงบริเวณที่ปวด 10-15 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นผ่อนคลาย หากทำก่อนการบริหารยืดกล้ามเนื้อ จะทำให้บรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ดียิ่งขึ้น

                หมายเหตุ: การประคบอุ่นไม่สามาถทำในผู้ที่ผิวหนังบริเวณนั้นมีผื่น แผล คลำได้ก้อน หรือผิวหนังบริเวณนั้นชาไม่มีความรู้สึก

การบริหารกล้ามเนื้อ

การยืดกล้ามเนื้อ สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งประสิทธิภาพจะดีต้องมีหลักดังนี้

ท่ายืดถูกต้อง, แรงดึงยืดเหมาะสม และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ

 

ยืดกล้ามเนื้อคอบ่า: ดึงยืดศีรษะไปด้านตรงข้าม มือกดลงจนรู้สึกตึงที่บ่า ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

ยืดกล้ามเนื้อคอบ่า: ก้มศีรษะเอียงมองรักแร้ฝั่งตรงข้ามมือกดศีรษะลงจนรู้สึกตึงที่คอบ่า ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

ยืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง: ยกต้นแขนข้างเดียวกันเอื้อมมือไปแตะข้างหลัง งอศอกแล้วใช้มืออีกข้างช่วยดึงศอกลง จนรู้สึกตึงบริเวณต้นแขนด้านหลัง ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

ยืดกล้ามเนื้อศอกและแขน: ยกแขน เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างดันข้อมือขึ้น ดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกตึง ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

ยืดกล้ามเนื้อศอกและแขน: ยกแขน เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างดันข้อมือคว่ำลง ดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกตึง ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

นอกจากการบรรเทาอาการปวดด้วยตนเองเบื้องต้นแล้ว ควรสังเกตสิ่งที่กระตุ้นที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดซ้ำๆเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านั้น รวมไปถึงการบรรเทาความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย

หากลองวิธีดังกล่าวข้างต้นด้วยตนเองแล้วอาการยังคงไม่ทุเลา สามารถมาปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีอื่นๆ ดังนี้

  • การนวด
  • การทำกายภาพบำบัด โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพ เช่น hot pack, ultrasound, laser, shock wave รวมไปถึงการออกกำลังกายเพื่อการรักษา
  • การฝังเข็ม โดยสามารถทำได้ทั้งฝังเข็มแผนจีน(acupuncture) หรือฝังเข็มแบบแพทย์ตะวันตก (dry needling)
  • การใช้ยาในการบรรเทาอาการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]