โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

                                                                                  โดย นายธนวัฒน์  ชาชิโย (นักวิชาการโภชนาการ)

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดี อีกทั้งยังช่วยควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี และช่วยควบคุมอาการข้างเคียงจากการให้ยาได้

ปัญหาโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีมีอะไรบ้าง

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อการรักษา และสภาวะของโรคบางครั้งอาจทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการได้ ดังต่อไปนี้

  • ความสามารถในการรับประทานหรือกลืนได้ลำบาก (การติดเชื้อ  อักเสบ หรือแผลบริเวณช่องปาก)
  • การเปลี่ยนแปลงของการดูดซึมและระบบเผาผลาญสารอาหารของร่างกาย
  • ผลข้างเคียงจากยาเอชไอวี เช่น สูญเสียความอยากอาหาร คลื่นไส้ หรือท้องร่วง 

คำแนะนำหรือข้อควรระวัง “อาหารสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี”

  1. เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะช่วยปกป้องระบบภูมิคุ้มกัน กำหนดปริมาณที่ควรได้รับ 5-9 ส่วนต่อวัน วิธีง่าย ๆ ในการรับประทานอาหารให้ได้ตามปริมาณที่กำหนดไว้นั้นคือ การเพิ่มผลไม้และผักให้ได้ปริมาณครึ่งหนึ่งของจานอาหารในแต่ละมื้อ เพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุมากที่สุด
  2. รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ และคุณภาพดี เพื่อให้ร่างกายใช้ในการสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน, เนื้อไก่, ปลา, ไข่, ถั่วเมล็ดแห้ง 

เพิ่มเติม : อาจต้องรับประทานโปรตีนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นหากคุณมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ หรือภาวะน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรคซึ่งแพทย์ผู้รักษาสามารถประเมินและกำหนดปริมาณที่เหมาะสมให้ได้

  1. เลือกกลุ่มข้าวแป้ง-ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตซึ่งจะให้พลังงานแก่ร่างกายเป็นหลัก อุดมไปด้วยวิตามินบี และใยอาหาร ซึ่งช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการสะสมไขมันที่เรียกว่า lipodystrophy (ภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากเอชไอวี
  2. จำกัดปริมาณน้ำตาลและเกลือ เพราะเชื้อไวรัสและยาที่ได้รับส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น หากได้รับปริมาณน้ำตาลและเกลือมากเกินไป ดังนั้นพลังงานที่ได้รับจากน้ำตาลทั้งจากอาหารและเครื่องดื่ม ควรน้อยกว่า 10% จากพลังงานที่ควรได้รับในต่อวัน (ปริมาณ ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวันโดยประมาณ) และปริมาณเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน (โซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน)
  3. เลือกรับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม ได้แก่ ถั่ว น้ำมันจากพืชและอะโวคาโด
  4. ควรได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย ทั้งพลังงานและสารอาหาร ซึ่งควรได้รับการประเมินสัดส่วนของสารอาหารเป็นรายบุคคลตามคำแนะนำ (DRI) โดยที่คาร์โบไฮเดรตประมาณ 45-65% โปรตีน 10-35% และไขมัน 20-35% ส่วนใยอาหารควรได้รับ 14 กรัม ต่อความต้องการพลังงาน 1000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน

   ในทางตรงกันข้ามหากมีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง มีน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจทำให้ร่างกายของคุณอ่อนแอลง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องได้รับพลังงานจากอาหารอย่างเพียงพอ 

 – เลือกรับประทานกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ถั่ว หรือเนยถั่ว  

 – เพิ่มมื้ออาหารระหว่างมื้อมากขึ้น เช่น กลุ่มของคาร์โบไฮเดรต เช่น แครกเกอร์, ขนมปังโฮลสวีท จับคู่กับอาหารกลุ่มโปรตีน เช่น เนยถั่ว, เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ,ไข่

 – กลิ่นอาหารอาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ ควรรับประทานอาหารในที่ทีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

            – ปัญหาทางช่องปาก มีอาการกลืนลำบากหรือเจ็บจากแผลในปาก ควรปรุงอาหารให้นิ่ม อ่อนนุ่ม          หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารรสเค็ม, เผ็ดหรือเป็นกรด และล้างปากด้วยน้ำก่อนและหลังรับประทานอาหาร

  1. หลีกเลี่ยงการรับประทานกลุ่มใยอาหารต่ำ ไขมันสูง อาจส่งผลให้เกิดการสะสมของเนื้อเยื่อไขมันที่ผิดปกติ ความดื้อต่ออินซูลิน และความอ้วนได้ งานวิจัยระบุว่าการให้อาหารที่มีไขมันต่ำ และไขมันอิ่มตัวต่ำ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เพิ่มระดับ HDL ในเลือด และลดความเสี่ยงในการเกิดการสะสมของเนื้อเยื่อไขมันที่ผิดปกติได้
  2. สำหรับผู้ป่วยเอชไอวีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง แนะนำให้ควบคุมปริมาณไขมัน เพื่่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ (ไขมัน 25-35% ของพลังงานรวม ไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 7% ไขมันทรานส์น้อยกว่า 1% และโคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200 mg ต่อวัน) 
  3. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำซึ่งอาจเกิดจากอาการท้องร่วงหรือคลื่นไส้อาเจียน

10.เน้นความสะอาดและปลอดภัยของอาหาร (Food safety) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำมาก เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อผู้ป่วยได้รับอาหารที่ไม่สะอาด หรือมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคอาหารเป็นพิษมากกว่าคนทั่วไป

ข้อแนะนำ :   – ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำก่อนและหลังรับประทานอาหาร 

      – รับประทานอาหารที่ปรุงสุก หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ดิบ 

      – ล้างผลไม้สดและผักด้วยน้ำสะอาด

      – ตรวจสอบวันหมดอายุก่อนรับประทาน

      – แนะนำให้ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดและหลีกเลี่ยงน้ำแข็งและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

ReferencePasco County Health Department: “Putting the Pieces Together: A Companion Guide to Improving Nutrition and Food Safety for Persons Living With HIV.”

                       Academy of Nutrition and Dietetics. HIV/AIDS (H/V) Guideline Evidence Analysis Library. 2010. [Accessed at http://andeal.org/topic.cfm?menu=5312&cat=4458]

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การฝังเข็มเลิกบุหรี่

จากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลการสูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า ผลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากรในปี 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 57 ล้านคน พบว่า ผู้สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.4 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบจากปี 2560 ซึ่งสูงถึงร้อยละ 19.1(กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค) ถึงแม้ว่าการเสพติดบุหรี่ เป็นปัญหาที่สำคัญทางสังคมและการแพทย์ ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมนุษย์ เนื่องจากบุหรี่มีสารพิษมากกว่า100ชนิดที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคร้ายจากการสูบบุหรี่ ทั้งนี้บุหรี่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคปอดอักเสบ โรคมะเร็ง อายุขัยสั้นลง เกิดความพิการของทารกในครรภ์ ฯลฯ นอกจากนี้ควันบุหรี่มีผลกับสมองและระบบประสาทซึ่งในควันบุหรี่มีสารนิโคตินที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท สารนี้สามารถผ่านไปสู่สมองภายในเวลา10-20วินาที หลังจากดูดบุหรี่แต่ละครั้งปริมาณนิโคตินในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งสารนิโคตินมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่ควบคุมความรู้สึกและอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเคลิ้มสุข(Euphoria) ความรู้สึกสุขสบายนี้จะเกิดขึ้นในการสูบบุหรี่ครั้งแรก ๆ เมื่อสูบบุหรี่ติดต่อไปในระยะหนึ่งจะเกิดการดื้อทำให้แม้ผู้สูบจะสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานก็ไม่เกิดความรู้สึกสุขสบายจากการสูบบุหรี่แต่ต้องสูบบุหรี่เพื่อระงับภาวะถอนยา หรือภาวะอยากยาทางจิต (Psychological Withdrawal Syndrome) ทำให้เกิดอาการต่างๆได้แก่ เครียด หงุดหงิด ฉุนเฉียว กระวนกระวาย […]

ฝังเข็มเจ็บมากไหม ? อันตรายหรือไม่ ?

ฝังเข็มเจ็บมากไหม ? อันตรายหรือไม่ ? โดย พจ.ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ การฝังเข็ม(ภาษาจีน: 針灸; ภาษาอังกฤษ: Acupuncture) เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยการฝังเข็มเป็นการใช้เข็มปักลงไปตามจุดต่างๆบนร่างกาย ตามจุดสำคัญๆที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า มีความสำคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย จุดฝังเข็มบนร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายร้อยจุด แต่จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิงขององค์การอนามัยโลก(WHO)มีอยู่จำนวน 349 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) หลักๆ 12 เส้นหลัก และอีก 2 เส้นรอง ซึ่งแต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่อย่างชัดเจน การฝังเข็มให้เกิดผลในการรักษาโรค ไม่ใช่เพียงแพทย์จีนปักเข็มไปตามร่างกายเท่านั้น แต่แพทย์จีนยังต้องมีเทคนิคหลายอย่างในขั้นตอนการฝังเข็ม การเลือกรักษากับแพทย์จีนที่มีความรู้เกี่ยวกับเข็มและอุปกรณ์การฝังเข็มเป็นอย่างดี ทั้งการเลือกใช้ประเภทของเข็ม ข้อระวัง วิธีการใช้ เทคนิคต่างๆในการกระทำต่อเข็มเพื่อให้ผลการรักษาได้ผลดี ตั้งแต่เริ่มการจับเข็ม การลงเข็ม การถอนเข็ม รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพปลอดภัยและปลอดเชื้อ แพทย์จีนใช้เข็มอะไรฝังเข็มคนไข้ ปัจจุบันการฝังเข็มได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคควบคู่ไปกับการแพทย์แผนตะวันตก หลายครั้งมีคำถามว่า เข็มที่แพทย์จีนใช้ปักบนร่างกายของคนไข้ใช้เข็มอะไร? เหมือนเข็มฉีดยาไหม? ใหญ่ไหม? ปลอดภัยหรือเปล่า?  แล้วเจ็บหรือเปล่า? รูปที่1 ลักษณะเข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม เข็มที่แพทย์จีนนิยมใช้แพร่หลายที่สุดคือ เข็มที่มีลักษณะกลม-บาง ปลายเข็มแหลมคม ความยาวอยู่ระหว่าง […]

รังสีร่วมรักษากับการรักษามะเร็ง

รังสีร่วมรักษากับการรักษามะเร็ง โดย นพ. พิพิธ ปิตุวงศ์ (แพทย์รังสีร่วมรักษาของลำตัว) รู้หรือไม่!!! รังสีแพทย์ก็ทำการรักษาผู้ป่วยเหมือนกัน รังสีร่วมรักษา ไม่ใช่รังสีรักษานะ มะเร็งบางชนิดสามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และ ไม่ต้องได้ยาเคมีบำบัด ———————————————————————————————————————– มารู้จักกับแพทย์รังสีร่วมรักษากันเถอะ แพทย์รังสีร่วมรักษาเป็นแพทย์ที่เรียนต่อเฉพาะทาง ทางด้านรังสีวินิจฉัย ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยได้พบรังสีแพทย์ด้านนี้เท่าไหร่ เนื่องจากเราทำงานอยู่เบื้องหลัง ช่วยแปลผลภาพให้แพทย์เฉพาะทางด้านอื่นๆ ได้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง แม่นยำขึ้น เราจะมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องเอกซ์เรย์ เครื่องฟลูโอโรสโคปี้ระบบดิจิตอล เครื่องอัลตราซาวด์ และ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแพทย์เฉพาะทาง ทางรังสีลงไปอีก คือ แพทย์รังสีร่วมรักษา ที่จะใช้อุปกรณ์ทางรังสีดังกล่าว เพื่อนำทางในการรักษาผู้ป่วย โดยไม่ต้องผ่าตัด อีกทั้งมีความแม่นยำสูง และแผลเล็กนิดเดียว  เช่น การเจาะระบายหนองทางหน้าท้อง, การให้ยาเคมีบำบัดกับเส้นเลือดที่จำเพาะไปยังก้อนมะเร็ง, การรักษาภาวะหลอดเลือดผิดปกติผ่านทางสายระบายหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด และ การจี้ก้อนมะเร็งผ่านทางผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็กโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นต้น รังสีร่วมรักษานะ ไม่ใช่รังสีรักษา หลายคนมีความสับสนระหว่างแพทย์รังสีร่วมรักษา กับ แพทย์รังสีรักษา ด้วยความที่ชื่อภาษาไทยมีความคล้ายกันอย่างมาก แต่อันที่จริงการทำงานของเราต่างกันโดยสิ้นเชิง เปรียบเทียบได้ตามตารางข้างล่างนี้ รังสีร่วมรักษา รังสีรักษา ภาษาอังกฤษ คือ […]

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด นายธนวัฒน์ ชาชิโย (นักวิชาการโภชนาการ)   วัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดย พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทย เป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก และคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 รายต่อปี วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและสามารถวัณแพร่เชื้อโดยการไอ จาม ฝอยละอองเสมหะที่ออกมาจากปอดของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคและผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคก็คือผู้ที่หายใจรับเชื้อวัณโรคที่ล่องลองในอากาศเข้าสู่ปอด   อาการของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดที่มีมักพบ คือ เบื่ออาหาร ไอ มีเสมหะ เหนื่อย หอบ ต่อมรับรสผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวคือผลจากโรคและผลข้างเคียงจากยา  ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดมีน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ในภายหลัง และเมื่อร่างกายขาดสารอาหารจึงส่งต่ออาการของโรคและการแพ้ยารุนแรง ภาวะทุพโภชนาการกับวัณโรค โดยปกติแล้วผู้ป่วยวัณโรค จะได้รับการรักษาและยา ตามที่แนวทางการรักษาของแพทย์ แต่อาหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ป่วยวัณโรค หรือผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง จากอาการที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ส่งผลให้น้ำหนักจะลดลงเร็วมากถึง 3 –5 กิโลกรัมใน 2 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลต่อค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทำให้มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ และมวลกล้ามเนื้อลดลง จากการได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งผลต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ภูมิคุ้มกันลดลง […]