Hepatitis

โรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง

ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่รู้จักโรคไวรัสตับอักเสบน้อยมาก ซึ่งตับอักเสบนั้นเป็นสาเหตุการตาย 1 ใน 12 จากการตายของโรคมะเร็งทั่วโลก และมีเพียง 1 ใน 5 ของผู้ที่ติดเชื้อเท่านั้นที่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ

โรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังนั้นมีสองชนิด คือไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

โรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ไวรัสตับอักเสบบีนั้นสามารถติดต่อได้ 3 ทาง ได้แก่ เลือดหรือสารคัดหลั่ง จากมารดาสู่ทารก และทางเพศสัมพันธ์
    1. การติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่งนั้นหมายรวมถึงการสักตามที่ๆต่าง เช่น สักคิ้ว สักยันต์ ที่ทำความสะอาดอุปกรณ์ไม่เพียงพอ การใช้มีดโกนร่วมกัน หรือการเจาะหู เจาะลิ้น โดยใช้เข็มร่วมกับผู้ติดเชื้อ
    2. การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคนี้ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยทั้งระหว่างชายรักชาย และชายกับหญิง
    3. การติดต่อจากมารดาสู่ทารก ในมารดาที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้ลูกติดเชื้อได้ และเป็นสาเหตุการติดเชื้อที่สำคัญที่สุดของโรคไวรัสตับอักเสบบีในอดีต
  2. การดำเนินโรค หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อ บางคนจะมีอาการตับอักเสบเฉียบพลัน คือ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง ตาเหลือง แต่บางคนก็ไม่มีอาการได้ หลังจากนั้นผู้ป่วยบางคนจะกลายเป็นผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อตั้งแต่เกิดจากมารดามักจะเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง  ช่วงที่มีตับอักเสบเรื้อรัง อาจจะไม่มีอาการได้ มักทราบจากผลเลือดว่าค่าตับมีการอักเสบ ต่อมาถ้าไม่ได้รักษา จะเกิดตับแข็ง ผู้ป่วยที่ตับแข็งเป็นมากมักมีอาการท้องโต ขาบวม ตัวเหลือง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ
  3. การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี นั้นประกอบด้วยการประเมินระยะของโรค การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและ การตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
    1. การประเมินระยะของโรคนั้น จะต้องประเมินว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใด เช่น ระยะพาหะ ระยะตับอักเสบเรื้อรัง หรือ เกิดตับแข็งไปแล้ว โดยจะประเมินด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดเพื่อการทำงานของตับ อัลตราซาวน์ตับและการตรวจพังผืดตับ  การตรวจพังผืดตับนั้น เพื่อดูระยะก่อนที่จะเกิดตับแข็ง เพื่อให้รักษาโรคและป้องกันไม่ให้เกิดตับแข็ง โดยต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการวัดพังผืดตับ ลักษณะคล้ายเครื่องอัลตราซาวน์
    2. กรณีที่ผู้ป่วยมีพังผืดในตับหรือมีตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง จำเป็นต้องรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อควบคุมโรคและจะลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับได้ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้น เชื้อจะดื้อยาได้
    3. การตรวจคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี จะตรวจทุก 6 เดือนในกลุ่มเสี่ยงมะเร็งตับ ได้แก่ ผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปี ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี ผู้ป่วยตับแข็งหรือมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
  4. การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดผู้ป่วย และในรายที่คู่สมรสเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันได้
  5. การดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี คือ งดสุรา และ ยาสมุนไพร เพราะเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบ ในผู้ป่วยที่ตับแข็งแล้ว แนะนำให้งดอาหารรสเค็ม รับประทานอาหารที่สุกสะอาด และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนให้มากขึ้น

โรคไวรัสตับอักเสบซี

  1. ไวรัสตับอักเสบซีนั้นสามารถติดต่อได้ 2 ทาง ได้แก่ เลือดหรือสารคัดหลั่ง และทางเพศสัมพันธ์
    1. การติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่งนั้นหมายรวมถึงการสักตามที่ๆต่าง เช่น สักคิ้ว สักยันต์ ที่ทำความสะอาดอุปกรณ์ไม่เพียงพอ การใช้มีดโกนร่วมกัน หรือการเจาะหู เจาะลิ้น โดยใช้เข็มร่วมกับผู้ติดเชื้อ หรือในผู้ที่ใช้สารเสพย์ติดฉีดเข้าเส้นที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
    2. การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคนี้ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยกลุ่มชายรักชายจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่ากลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง
  2. บุคคลกลุ่มเสี่ยงไวรัสตับอักเสบซี คือคนที่มีโอกาสสัมพัทธ์เลือดผู้ติดเชื้อ ได้แก่ บุคคลากรทางการแพทย์ กลุ่มชายรักชาย กลุ่มคนที่เคยติดคุก คนที่ใช้สารเสพย์ติดฉีดเข้าเส้น คนที่ได้รับเลือดหรือปลูกถ่ายอวัยวะก่อนปีพ.ศ. 2535 ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกเลือด
  3. การดำเนินโรคของไวรัสตับอักเสบซี โดยหลังจากได้รับเชื้อผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ และเกิดเป็นตับอักเสบเรื้อรัง 60-85% ในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดตับแข็ง 20-30% และในคนไข้ตับแข็งจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ และตับวายจนเสียชีวิต 25-50%   ส่วนมากผู้ป่วยที่ติดเชื้อเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ ส่วนน้อยอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย ตัวเหลืองได้ เมื่อโรคเป็นมานาน เกิดตับอักเสบเรื้อรังไปเรื่อยๆ จะเกิดตับแข็ง ทำให้มีอาการท้องโต ตัวเหลืองตาเหลือง
  4. การรักษา ปัจจุบันโรคไวรัสตับอักเสบซีมียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึง 90% โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ถึงแผนการรักษา
  5. เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีและซี บางคนจะไม่มีอาการ ดังนั้นจึงแนะนำให้บุคคลกลุ่มเสี่ยงไวรัสตับอักเสบบีและซีควรเจาะเลือดเพื่อตรวจคัดกรองโรคเสมอ

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]