ลูกนอนกรน หายใจเสียงดังเวลานอน มีอันตรายหรือไม่ ?

ภาวะการนอนกรนเป็นการหายใจเสียงดัง ซึ่งเกิดขึ้นในขณะหลับ พบได้ในทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาพบว่าเด็กประมาณ 3-12 เปอร์เซ็นต์นอนกรน การนอนกรนพบบ่อยเป็นพิเศษในช่วงอายุก่อนวัยเรียน (Preschool) หรือช่วงระดับชั้นอนุบาล เนื่องจากขนาดของต่อมอดีนอยด์ และทอนซิล ที่มักโตเมื่อเทียบกับขนาดของทางเดินหายใจเด็ก

การนอนกรนมีอันตรายหรือไม่ ?

การนอนกรนอาจ เป็นอันตรายได้ หากเกิดร่วมกับภาวะการหายใจที่ลดลง หรือหยุดหายใจในขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome) ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง เด็กเมื่อนอนแล้วหายใจไม่ออก เนื่องจากทางเดินหายใจอุดตัน ก็จะนอนกระสับกระส่าย ตื่นนอนบ่อย ทำให้การนอนหลับตอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ, นอนหลับได้ไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็ก

Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS)

คือ ความผิดปกติของการหายใจที่เกิดขึ้นในขณะหลับ เกิดจากทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้นบางส่วน หรืออุดกั้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ขณะหลับ ทำให้เกิดการรบกวนต่อระบบการระบายลมหายใจ และระบบการนอนหลับ

อัตราการเกิดพบประมาณ 2% ของประชากร พบในเด็กผู้หญิงพอ ๆ กับเด็กผู้ชาย จะเห็นได้ว่าลักษณะแบบไม่เป็นอันตรายพบได้บ่อยกว่ามาก อย่างไรก็ตามแพทย์มีความจำเป็นจะต้องตรวจวินิจฉัยเด็กที่ในลักษณะแบบมีอันตราย หรือมีความผิดปกติของการหายใจ และให้การรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

เด็กที่มีโอกาสเสี่ยง (OSAS) ได้แก่

– มีต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอดีนอยด์โต

–  เด็กที่อ้วนมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
–  มีความผิดปกติของโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจ เช่น มีกรามเล็ก, มีขนาดทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ

–  มีความผิดปกติของสมองที่ทำให้การคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น Cerebral Palsy

–  เด็กที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากสาเหตุต่าง ๆ

–  เด็กที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม

–  เด็กที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง

อาการที่น่าสงสัย

  มีอาการหายใจติดขัด, หายใจลำบาก หรือหยุดหายใจเป็นพัก ๆ นอนกระสับ กระส่าย, เหงื่อออกมากเวลานอน, ตื่นนอนกลางดึกบ่อย ๆ

– ปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน

– อ้าปากหายใจ มีปัญหาด้านการเรียน, เรียนได้ไม่ดี

–  มีปัญหาทางพฤติกรรม, สมาธิสั้น, อยู่นิ่งเฉยไม่ได้

–  ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ

–  ง่วงเหงาหาวนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน

– มีความดันโลหิตสูง

การวินิจฉัยทำอย่างไร

ในปัจจุบันมีการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาภาวะของการเกิดโรคได้ โดยการทดสอบการนอนหลับ (Pneumogram) การทดสอบการนอนหลับที่เป็นมาตรฐานเป็นการทดสอบข้ามคืนใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง เด็กจะมานอนค้างคืนที่ห้องทำการทดสอบที่จัดเตรียมไว้ ผู้ปกครองสามารถมาอยู่เฝ้าได้

การรักษา

หากพบว่าเด็กมีภาวะของโรคที่เป็นอันตรายก็จำเป็นต้องมีการรักษา การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ

การตัดต่อม Adenoid และ Tonsils ในรายที่มีต่อม Adenoid และ/หรือ Tonsils โต การตัดต่อมออกพบว่าช่วยรักษาการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับได้ถึง 75-100% จึงถือเป็นการรักษาหลังในผู้ป่วยกลุ่มนี้

ในผู้ป่วย ซึ่งมีการอุดตันของทางเดินหายใจขณะหลับเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทางเดินหายใจอุดตันตอนหายใจเข้า หรือในผู้ป่วยที่ตัดต่อมทอนซิลแล้วยังมีปัญหา หรือในรายที่มีปัญหาสุขภาพทางด้านอื่น ไม่สามารถผ่าตัดได้จำเป็นจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับ (CPAP หรือ BiPAP)

การรักษาโดย การผ่าตัด เพื่อแก้ความผิดปกติของโครงสร้างของทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบกว่าปกติเป็น การทำ Craniofacial Surgery, Uvulopharyngopalatoplasty.

การรักษาอาการอื่น ๆ ที่อาจเป็นปัจจัยร่วมให้เกิดปัญหาการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับเป็นโรคภูมิแพ้, การควบคุมน้ำหนัก

ภาวะแทรกซ้อน

มีชนิดที่มีการอุดกั้นของทางเดิน หายใจร่วมด้วยในขณะหลับ ทำให้มีออกซิเจนในเลือดลดลง ดังที่กล่าวมาแล้ว หากมิได้รับการรักษา หรือแก้ไขอย่างทันท่วงทีจะทำให้เด็กมีสติปัญญาต่ำ, ระดับการเรียนรู้ต่ำลง, มีสมาธิสั้น, Active มากไม่อยู่นิ่ง, ง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน, ปัสสาวะรดที่นอน, ความดันโลหิตสูง, ความดันเลือดในปอดสูง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจทำงานล้มเหลวได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]