วัคซีนตามช่วงอายุ

วัคซีนที่เปิดให้บริการ

**หมายเหตุ: ราคาดังกล่าวเป็นราคาต่อ 1 เข็ม ยังไม่รวมค่าบริการผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ 100 บาท และค่าฉีดวัคซีน 30 บาท/เข็ม
**ราคาวัคซีนอาจมีการเปลี่ยนแปลง ณ วันที่ฉีด กรุณาตรวจสอบอีกครั้ง**

ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน

รวมข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน

รวมสื่อโปสเตอร์ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนต่างๆ ที่เปิดให้บริการ

วัคซีนนอกสถานที่

ติดต่อนัดหมาย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และประสานงานนัดหมายวัคซีนนอกสถานที่
โทร. 02-849-6600 ต่อเบอร์ภายใน 1059 หรือ 2307
ในวันและเวลาทำการ

ช่องทางติดตามข่าวสารวัคซีน

LINE
ศูนย์วัคซีน

Facebook
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ในวันและเวลาทำการ
โทร. 02-849-6600
ต่อเบอร์ภายใน 2307, 1059

ประเมินความเสี่ยงโควิด-19

ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ พจ.มาลีนา บุนนาค ลู่ ปอด ในทางทฤษฎีการแพทย์แผนจีน เป็นอวัยวะที่ควบคุมพลังชี่ และการไหลเวียนลมปรานชี่ และของเหลวในร่างกาย โดยปกติปอดจะไม่ชอบความชื้น  เมื่อร่างกายรับเชื้อโควิดลงสู่ปอด ปอดติดเชื้อก่อให้เกิดการอักเสบ เกิดเสมหะอุดกั้น ทำให้การกระจายชี่ของปอดไม่สมบูรณ์ เกิดอาการหอบเหนื่อย หายใจติดขัด และการที่ชี่จากปอดไหลย้อนกลับ จะก่อให้เกิดอาการไอ เมื่อยังมีการอักเสบอยู่ การทำงานของปอดจึงยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ จึงทำให้เกิดการไอเรื้อรังได้ อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน เช่น  ไอ หายใจติดขัด เหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งอาจเกิดจากภาวะ Long Covid   เกิดจากการติดเชื้อโรคอื่น หรือโรคที่เกิดขึ้นใหม่ก็เป็นได้ อาการที่อาจหลงเหลืออยู่ […]

มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่

มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่ พญ สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล (กุมารแพทย์) การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในกรณีทารกเกิดจากมารดาที่เป็น COVID-19 และ PUI ที่มีความเสี่ยงสูง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกผ่านทางนมแม่ และองค์กรทางสาธารณสุขต่าง ๆ แนะนำว่าสามารถให้น้ำนมแม่แก่ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อ COVID -19 ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านบุคลากร สถานที่  และครุภัณฑ์ในการเก็บตุนน้ำนม ตลอดจนความปลอดภัยจากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสขณะขนส่งน้ำนมจากมารดามายังทารก ดังนั้นทารกจะได้รับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเท่านั้น   สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยแนะนำมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) ปั๊มน้ำนมทิ้งจนกว่าจะทราบผลตรวจเป็น Undetectable และ ในมารดาที่ยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ให้ปั๊มนมทิ้ง เป็นระยะเวลา 14 วัน หลังจากนั้นให้นั้นนมแม่แก่ทารกได้ตามปกติ   หากมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) หรือยืนยันการติด COVID-19 มีสภาพร่างกายที่พร้อมจะเก็บตุนน้ำนมได้และยืนยันจะเก็บตุนนม ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำการปฏิบัติของกรมอนามัย […]

วัคซีนcovid-19 ในหญิงตั้งครรภ์ /ให้นมบุตร

โดย พญ สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล (กุมารแพทย์)        เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก พบว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต และใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพิ่มโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกร่วมด้วย  การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จึงมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงของวัคซีน โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และหญิงให้นมบุตร สามารถรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ได้ ซึ่งวัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทย ปัจจุบันได้แก่ Sinovac และ Astraseneca  ในอนาคตที่มีการนำเข้าวัคซีน mRNA ได้แก่ pfizer และ  moderna จากการศึกษาในปัจจุบัน ยังไม่พบรายงานภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และพบระดับภูมิคุ้มกันขึ้นไม่ต่างจากกลุ่มที่ไม่ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการติดตามถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในอนาคต ควรติดตามข่าวสารหรือสอบถามแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรับวัคซีน  

แนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่น ในสถานการณ์การติดเชื้อโรค COVID-19 ในครอบครัว

แนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่น ในสถานการณ์การติดเชื้อโรค COVID-19 ในครอบครัว โดย พญ.พิมพิกา หาญวัฒนานุกุล (กุมารแพทย์ทั่วไป) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มากขึ้น โดยมีทั้งผู้ปกครองและเด็กในหลายครอบครัวติดเชื้อโรคโควิด 19 และต้องไปรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ต้องเกิดการแยกจากกันระหว่างผู้ปกครองและเด็ก ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลต่อตัวเด็กและวัยรุ่นเป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละครอบครัวควรเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าหากเกิดสถานการณ์การติดเชื้อเช่นนี้ในครอบครัว ซึ่งแนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่นที่เหมาะสมในสถานการณ์การติดเชื้อในครอบครัวนั้น ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้ 1. บอกเล่าเหตุการณ์ให้เด็กฟังอย่างตรงไปตรงมา เช่น เหตุการณ์ติดเชื้อโควิดของสมาชิกในบ้าน ทำให้ไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้ชั่วคราวเพราะอาจติดเชื้อกันได้ โดยมีการแนะนำว่าใครต้องไปอยู่ที่สถานที่ใด ระยะเวลานานประมาณเท่าใด 2. ให้เด็กสามารถสื่อสารกับผู้ปกครองได้อย่างสม่ำเสมอ โดยระหว่างที่แยกกันให้มีช่องทางที่สามารถติดต่อทางออนไลน์หรือโทรศัพท์ได้เสมอ 3. พยายามสอบถามถึงความต้องการของเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าและสามารถควบคุมอะไรบางอย่างได้ เช่น ของที่ต้องการนำติดตัวไปด้วย เลือกช่วงเวลาที่จะติดต่อกันเป็นประจำ หรือตารางกิจกรรมประจำวัน 4. แสดงความเข้าอกเข้าใจถึงอารมณ์และการแสดงออกของเด็ก โดยเด็กจะมีการตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตหรือการแยกจากแตกต่างกันออกไป ผู้ปกครองควรรับฟังอย่างตั้งใจ ไม่ต่อว่า และไม่ด่วนตัดสิน 5. ช่วยเหลือเด็กให้รู้จักและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวเอง เช่น กลัว กังวล เศร้า และให้เด็กลองคิดกิจกรรมที่ช่วยจัดการอารมณ์ได้ด้วยตนเอง 6. ช่วยให้เด็กสามารถคงกิจวัตรประจำวันคล้ายเดิมได้มากที่สุด เพื่อลดความรู้สึกถึงสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป […]

ผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19

ผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 พญ.พิมพิกา หาญวัฒนานุกุล (กุมารแพทย์ทั่วไป) ในสถานการณ์วิกฤตฉุกเฉิน เด็ก ๆ จะมีปฏิกิริยาทางด้านจิตใจเมื่อได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤต ฉุกเฉิน รุนแรง ในรูปแบบแตกต่างกันไป อาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือไม่จดจ่อ เป็นอาการสำคัญที่พบได้บ่อยมากขึ้น เด็กส่วนใหญ่ที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจเพียงพอ จะสามารถปรับตัวและเรียนรู้การจัดการอารมณ์ได้เมื่อได้รับการดูแลที่เหมาะสมจากพ่อแม่ เพื่อนและคนรอบตัว อย่างไรก็ตาม มีเด็กบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะมีปฏิกิริยาทางด้านจิตใจที่รุนแรง เช่น วิตกกังวลมาก ซึมเศร้า หรือมีความคิดฆ่าตัวตายได้ โดยความเสี่ยงของเด็กในกลุ่มนี้ ได้แก่ การมีปัญหาทางสุขภาพจิตอยู่เดิม เคยมีประสบการณ์ที่ถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ครอบครัวไม่มั่นคง หรือมีการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถสังเกตเห็นและมองหาเด็ก ๆ ที่ต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยสังเกตจากสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก ดังต่อไปนี้ วัย 0-5 ปี – ติดพ่อแม่หรือผู้ดูแลมาก – พฤติกรรมถดถอยไปจากช่วงวัยปกติ เช่น ดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอน – เปลี่ยนพฤติกรรมการกินการนอน – กลัวความมืดหรือกลัวในสิ่งที่ไม่เคยกลัวมาก่อน – ร้องไห้งอแงและหงุดหงิด – […]

คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและคำถามที่พบบ่อย

ในขณะนี้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีข้อมูลรองรับถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ในเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เป็นวัคซีนชนิด mRNA และที่มีใช้ในประเทศไทยในขณะนี้ (เดือนสิงหาคม 2564) คือ วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของ Pfizer-BioNTech ซึ่งได้รับการรับรองให้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาในภาวะฉุกเฉินในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนขนาด 30 ไมโครกรัม (ปริมาณ 0.3 มล.) ต่อโดส เข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ สำหรับการศึกษาผลข้างเคียงของวัคซีนนี้ในเด็กและวัยรุ่น พบว่ามีความปลอดภัยสูง ไม่แตกต่างกับการฉีดในประชากรกลุ่มอายุอื่น ๆ ซึ่งผลข้างเคียงเฉพาะที่และทั้งระบบส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายภายใน 1-2 วัน ผลข้างเคียงเฉพาะที่ที่พบบ่อย ได้แก่ เจ็บในตำแหน่งที่ฉีด 79-86% สำหรับผลข้างเคียงทั้งระบบ ได้แก่ อ่อนเพลีย 60-66% ปวดศีรษะ 55-66% โดยพบรายงานสูงขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สองมากกว่าภายหลังการฉีดเข็มแรกเพียงเล็กน้อย ยกเว้นพบไข้ 10% […]

การดูแลและปฏิบัติตัวในเด็กช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID-19

การดูแลและปฏิบัติตัวในเด็กช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID-19 เมื่อจำนวนผู้ป่วยลดลงจนควบคุมได้แล้ว จะต้องมีมาตรการปลด lock down แต่ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังคงต้องเน้นนโยบาย Social distancing , hand hygiene เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดครั้งใหม่อย่างรุนแรงดังเช่นเห็นได้จากต่างประเทศ ดังนั้น บทความนี้จึงขอเสนอวิธีการปฏิบัติตัวของเด็กขณะมีมาตรการ lock down ทั้งในเรื่องการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่บ้าน เมื่อต้องเข้าชุมชนเช่นไปสถานศึกษา การยังคงมีกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตในเด็กก่อนวัยเรียนและเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น และการไปโรงพยาบาลเพื่อรับวัคซีนหรือเมื่อมีภาวะเจ็บป่วย เป็นต้น การดูแลปฏิบัติตัวในเด็กเมื่ออยู่บ้านและที่ชุมชน ปัจจัยสำคัญที่สามารถลดการแพร่ระบาดโรค COVID-19 ให้ช้าลงคือ ลดการไปพบปะผู้คนจำนวนมาก สอนให้เด็กรู้จัก Social distancing เช่น ลดกิจกรรมในสถานศึกษาที่ต้องเข้าร่วมกับคนหมู่มาก อย่างไรก็ตาม เด็กยังคงต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรจัดเวลาที่จะให้เด็กได้ออกกำลังกายบ้าง โดยทางหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้แบ่งความเสี่ยงในการทำกิจกรรมเพื่อออกกำลังกายเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ความเสี่ยงต่ำสุด เช่น การเล่นในบ้านคนเดียวหรือกับคนในครอบครัว ความเสี่ยงเล็กน้อย เช่น การเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม ความเสี่ยงปานกลาง เช่น การเล่นหรือทำกิจกรรแข่งขันเป็นกลุ่ม ความเสี่ยงมาก เช่น การเล่นหรือทำกิจกรรมแข่งขันเป็นกลุ่มที่มีคนจำนวนมาก แต่บุคคลมาจากพื้นที่เดียวกัน […]

คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป

คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยได้ติดตามข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่น เพื่อให้คำแนะนำเพิ่ม โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และประโยชน์ทางด้านสุขภาพของเด็กเป็นสำคัญ ดังนี้ เด็กและวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี อายุ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีน ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer BioNTech โดย เด็กและวัยรุ่นชาย รับวัคซีน เข็มที่ 1 และ ชะลอการให้เข็มที่ 2 ไปก่อน จนกว่าจะมีคำแนะนำเพิ่มเติม (เนื่องจากการฉีดเข็ม 2 ในเด็กกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงกว่าเข็มแรก จากกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ อักเสบ ซึ่งพบน้อยมาก) เด็กและวัยรุ่นหญิง สามารถรับวัคซีน 2 เข็มห่างกัน อย่างน้อย 3 สัปดาห์ ชนิดของวัคซีนที่แนะนำในเด็กและวัยรุ่น ขณะนี้ (วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564) มีวัคซีนที่มีในประเทศไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เด็กอายุ […]

ผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคโควิด-19 รุนแรง

โดย พญ.ปิยนันท์ โฆษิดาพันธุ์ (กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ) ในภาพรวมยังพบการติดโรคโควิด-19 ในเด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่ และผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 มักไม่รุนแรง ดังนั้นราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจึงมีความเห็นสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก โดยยังไม่จัดเด็กปกติที่มีสุขภาพดีเป็นกลุ่มที่มีลำดับความสำคัญในอันดับต้นในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในขณะนี้ซึ่งยังมีวัคซีนจำกัด แต่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรงและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในจังหวัดควบคุมสูงสุด และเข้มงวด คำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยในขณะนี้ มีดังต่อไปนี้ – แนะนำให้ฉีดวัคซีนที่รับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ในกรณีเป็นผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคโควิด-19 รุนแรง ดังต่อไปนี้ บุคคลที่มีโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 12-13 ปี น้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 13-15 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ […]