คลินิกรังสีร่วมรักษา

ข้อมูลทั่วไป

  • คลินิกรังสีร่วมรักษาให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย โดยใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางรังสีร่วมรักษาที่ทันสมัยระดับมาตรฐานสากล  มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางรังสีร่วมรักษา พยาบาล และนักรังสีการแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง แม่นยำ และสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
  • คลินิกรังสีร่วมรักษาได้เปิดให้บริการทั้งผู้ป่วยนัดหมาย ผู้ป่วยส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น และผู้ป่วยฉุกเฉินเพื่อให้ได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีตลอด 24 ชั่วโมง
  • นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนด้านการเรียนการสอนแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทางด้านรังสีร่วมรักษา  มีการจัดการประชุมวิชาการและถ่ายทอดความรู้ทางด้านงานรังสีร่วมรักษาอย่างต่อเนื่อง

เครื่องมือพิเศษ / การให้บริการพิเศษ

เครื่องเอกซเรย์สำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด

(DSA : Digital Subtraction Angiography)

 

คลินิกรังสีร่วมรักษาเปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคโดยการฉีดสารทึบรังสีผ่านทางสายสวนหลอดเลือด โดยภาพที่ได้มีคุณภาพสูง ทำให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำ

ขอบเขตการให้บริการด้วยเครื่อง DSA

– การให้ยาเคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดแดงเพื่อรักษามะเร็งตับ

(TACE : Trans-arterial chemoembolization)

– การอุดหลอดเลือดดำพอร์ทอลให้ตับมีขนาดโตขึ้น เพื่อเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด

(PVE : Portal vein embolization)

– การตัดชิ้นเนื้อตับผ่านทางหลอดเลือดดำในตับ (Trans-jugular liver biopsy)

– การใส่สายระบาย และ/หรือขวดลวดค้ำยันในท่อทางเดินน้ำดี

(PTBD : Percutaneous trans-hepatic biliary drainage, Cholangioplasty with stenting)

– การใส่สายระบายในไต

(PCN : Percutaneous nephrostomy)

– การถ่างขยายหลอดเลือดตีบด้วยบอลลูนหรือขดลวดค้ำยัน (Angioplasty with stenting)

– การอุดหลอดเลือดเพื่อรักษาภาวะเลือดออกในร่างกายเฉียบพลัน (Angioembolization)

– วินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดเจริญเติบโตผิดปกติ

(Arterio-venous malformation treatment)

– การใส่สายสวนหลอดเลือดดำ/พอร์ตให้ยาเคมีบำบัด

(Central venous catheter insertion)

– การอุดหลอดเลือดผิดปกติบริเวณเข่า เพื่อรักษาอาการปวดจากภาวะข้อเข่าเสื่อม

(GAE : Genicular artery embolization)

– การอุดหลอดเลือดผิดปกติบริเวณหัวไหล่/ฝ่าเท้า เพื่อรักษาภาวะปวดไหล่/รองช้ำ

(TAME : Trans-arterial microembolization)

– การตรวจและรักษาภาวะน้ำเหลืองรั่วในช่องอกหรือช่องท้อง (Lymphangiography)

– การใส่ตะแกรงกรองลิ่มเลือดเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (IVC filter insertion)

– การเก็บเลือดจากต่อมหมวกไตเพื่อส่งตรวจหาภาวการณ์ทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต

(AVS : Adrenal venous blood sampling)

 

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (Computed Tomography)

 

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถสร้างภาพได้แบบสามมิติ มีความละเอียดสูง และมีความรวดเร็วในการตรวจ ทำให้เห็นรอยโรคของอวัยวะภายในต่างๆ ได้อย่างชัดเจน นำไปใช้ประกอบหัตถการในการตรวจวินิจฉัยทางรังสีร่วมรักษาที่แผลมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังคงความแม่นยำไว้ได้อย่างดีเยี่ยม

ขอบเขตการให้บริการด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในทางรังสีร่วมรักษา

– การเจาะชิ้นเนื้อจากรอยโรคในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

(CT-guided core biopsy/aspiration)

– การจี้ทำลายก้อนมะเร็งด้วยเข็มความร้อน-ความเย็น-มีดนาโน

(Tumor ablation with RFA-MWA-Cryoablation-IRE)

– การใส่สายระบายในส่วนต่างๆ ของร่างกาย (CT-guided percutaneous drainage)

 

เครื่องอัลตราซาวน์ (Ultrasonography)

 

 

อัลตราซาวน์เป็นการตรวจโดยอาศัยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงแล้วแปลงเป็นภาพ  แสดงอวัยวะต่างๆในร่างกาย  และสามารถตรวจประเมินหลอดเลือดตามอวัยวะสำคัญต่างๆได้อย่างแม่นยำ  นอกจากนี้ การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ไม่มีรังสี  จึงมีความปลอดภัยในเด็กและสตรีมีครรภ์

ในงานรังสีร่วมรักษา อัลตราซาวด์ยังสามารถช่วยนำทางอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เข็มเก็บชิ้นเนื้อ  เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถนำชิ้นเนื้อจากรอยโรคต่างๆ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้อย่างแม่นยำ

ขอบเขตการให้บริการด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ในทางรังสีร่วมรักษา

– อัลตราซาวน์ดูดสารคัดหลั่ง หนอง หรือเจาะชิ้นเนื้อ เพื่อการวินิจฉัย และการรักษา

(US-guided core biopsy / aspiration)

– อัลตราซาวน์ระบบหลอดเลือดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ หลอดเลือดแดงบริเวณคอ/ไต/หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง/แขน/ขา และ หลอดเลือดดำบริเวณแขน/ขา

ข้อกำหนด / เงื่อนไขพิเศษ

ขั้นตอนการรับบริการ

กรณีส่งปรึกษาจากแผนกต่างๆ

  1. แพทย์เจ้าของไข้เขียนใบส่งตรวจทางรังสีร่วมรักษา
  2. ผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย นำใบส่งตรวจมาทำนัดหมายพบแพทย์รังสีร่วมรักษาที่แผนกรังสีวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษา ชั้น 2 อาคารศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ส่วนต่อขยาย
  3. ผู้ป่วยมาพบแพทย์รังสีร่วมรักษาเพื่อรับคำแนะนำในการตรวจและทำหัตถการทางรังสีร่วมรักษา
  4. ตรวจสอบสิทธิและประเมินค่าใช้จ่าย
  5. พยาบาลแนะนำการจองเตียงและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการทำหัตถการ
  6. กรณีที่มีความจำเป็นต้องระงับความรู้สึกระหว่างทำหัตถการ จะมีการนัดพบอายุรแพทย์และวิสัญญีแพทย์  เพื่อประเมินก่อนเข้ารับการทำหัตถการ
  7. ผู้ป่วยมาเข้ารับการตรวจรักษาและทำหัตถการทำวันเวลาที่นัดหมายไว้

 

กรณีผู้ป่วยต้องการนัดปรึกษาเรื่องการอุดหลอดเลือดผิดปกติในโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. ผู้ป่วยสามารถติดต่อทำนัดได้โดยตรงที่แผนกรังสีวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษา ชั้น 2 อาคารศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ส่วนต่อขยาย หรือ โทรนัดหมายล่วงหน้าที่เบอร์ 02-849-6600 ต่อ 3155 , 2553  ในเวลาราชการ เวลา 13.00-16.00 น.
  2. ผู้ป่วยมาพบแพทย์รังสีร่วมรักษาเพื่อรับคำแนะนำตามวันนัดหมาย

 

ประโยชน์จากการรักษา / ข้อดีที่ได้

การตรวจรักษาทางรังสีร่วมรักษา ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรค ตลอดจนได้การรักษาด้วยวิธีการที่แผลเล็กกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม ส่งผลให้การฟื้นตัวไวขึ้นมาก และยังคงความแม่นยำในการวินิจฉัยได้เป็นอย่างดี ดังวิสัยทัศน์ของหน่วยรังสีร่วมรักษาที่ว่า “รังสีนำ แม่นยำชัวร์ ฟื้นตัวไว”

ที่ตั้ง

แผนกรังสีวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษา ชั้น 2 อาคารศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก (ส่วนต่อขยาย)

เวลาทำการ

ผู้ป่วยนัดหมาย :

1.ในเวลาราชการ : ติดต่อนัดหมาย วันจันทร์-วันศุกร์ 8.00-16.00 น

2.คลินิกพิเศษ : ติดต่อนัดหมาย

วันจันทร์-วันศุกร์ 16.00-20.00 น

วันเสาร์-อาทิตย์ 8.00-16.00 น

งดให้บริการคลินิกพิเศษวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่ไม่ตรงวันเสาร์-อาทิตย์

 

ผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง**

แพทย์ประจำคลินิก

ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับข้อมูลตารางออกตรวจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ COVID-19 ที่ดีขึ้น 
สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-8496600 (ต่อหน่วยตรวจ)
ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

วัน เวลาออกตรวจ
จันทร์
09:00 - 12:00
16:00 - 20:00
พุธ
09:00 - 12:00
พฤหัสบดี
16:00 - 20:00
วัน เวลาออกตรวจ
พุธ
09:00 - 12:00
16:00 - 20:00
ศุกร์
09:00 - 12:00
16:00 - 20:00
3155,2553
  • สำหรับเลื่อนนัดและสอบถามข้อมูล  ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น.
  • แจ้งเลื่อนนัดก่อนล่วงหน้า 1 – 2 สัปดาห์ เวลา 13.00 – 16.00 .น. ในเวลาราชการ ยกเว้น เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่รับเลื่อนนัดเนื่องจากคลินิกปิดทำการ