อาหารตามธาตุเจ้าเรือน

ความรู้แผนไทย   ลงวันที่

ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยธาตุ ทั้งหมด 4 ธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ (เสมหะ) ธาตุลม (วาตะ) และธาตุไฟ (ปิตตะ) โดยมีธาตุดินเป็นธาตุหลักหรือเป็นธาตุแห่งโครงสร้าง ส่วนสามธาตุที่เหลือเรียกว่าตรีธาตุ ร่างกายแต่ละคนนั้นจะประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ที่ไม่เท่ากัน โดยมีธาตุหนึ่งเป็นธาตุใหญ่ เรียกว่า ธาตุเจ้าเรือน ธาตุเจ้าเรือนที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเรียกว่า ธาตุกำเนิด และธาตุจะมีการเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลของ อายุ ฤดูกาล กาลเวลา ถิ่นที่อยู่อาศัย และมูลเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของตรีธาตุแล้วจะมีผลต่อธาตุดินเป็นลำดับถัดไป

ธาตุเจ้าเรือนที่แสดงให้เห็นเป็นบุคลิกลักษณะ เรียกว่า ปรกติลักษณะ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่แสดงออกให้เห็นตามอิทธิพลของตรีธาตุ ในคัมภีร์วรโยคสารแบ่งลักษณะบุคคลได้ 3 แบบใหญ่ๆ คือ วาตะ ปิตตะ และ เสมหะ โดยแต่ละคนจะแสดงลักษณะที่เกิดจากอิทธิพลของตรีธาตุที่แตกต่างกัน เช่น รูปร่าง สีผิว เส้นผม อารมณ์ เป็นต้น และหากเมื่อร่างกายเรามีอาการเจ็บป่วย แสดงว่าธาตุในร่างกายเรามีอาการผิดปกติหรือมีอาการกำเริบ ทำงานไม่สมดุล นอกจากการรักษา การดูแลร่างกาย อาหารก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

ท่านสามารถตรวจสอบธาตุเจ้าเรือนของท่านได้ที่นี่

ตรีธาตุ

วาตะ(ธาตุลม)  

ลักษณะทั่วไป  ร่างกายผอม ผิวแห้ง ผมบาง พูดเยอะ อารมณ์แปรปรวน ขี้กลัว วิตกกังวล อยากรู้อยากเห็น นอนหลับยาก เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้ธาตุลมกำเริบคือ อดอาหาร อดนอน กลั้นอุจจาระ กลั้นปัสสาวะ  ยกของหนัก รับประทานอาหารรสจัด หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด วิตกกังวล สิ่งเหล่านี้จะทำให้ธาตุลมกำเริบ เมื่อธาตุลมกำเริบอาการที่พบได้บ่อยคือ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ปวดตามร่างกาย ปวดศีรษะ วิงเวียน เป็นต้น

การดูแลสุขภาพ ถ้าธาตุลมกำเริบหรือมีอาการผิดปกติ เพื่อทำให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุลต้องลดธาตุลมภายในร่างกาย ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน  เช่น ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง กะเพราไก่  ไก่ผัดขิง มันต้มขิง บัวลอยน้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำขิง เป็นต้น หรืออาจจะรับประทานอาหารหวาน อาหารเปรี้ยว ร่วมด้วยก็ได้ หรือ อาจจะนวดผ่อนคลายเพื่อกระจายธาตุลมก็ได้

ปิตตะ(ธาตุไฟ)

ลักษณะทั่วไป รูปร่างสมส่วน ผิวขาวเหลือง พูดชัด เสียงดัง หิวบ่อย กินจุขี้หงุดหงิด โกรธง่าย หายเร็ว ผมหงอกก่อนวัย สาเหตุที่ทำให้ธาตุไฟกำเริบ รับประทานอาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด โมโห ดื่มแอลกอฮอล์ แสงแดด สิ่งเหล่านี้ทำให้ธาตุไฟกำเริบ เมื่อธาตุไฟกำเริบอาการที่พบได้บ่อยคือ ท้องเสีย ท้องผูก แผลร้อนภายในปาก กรดไหลย้อน เกิดสิวบริเวณใบหน้าได้ ผื่นคัน เป็นต้น

การดูแลสุขภาพ ถ้าธาตุไฟกำเริบหรือมีอาการผิดปกติ เพื่อทำให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุลควรลดธาตุไฟในร่างกาย  ควรรับประทาน อาหารรส ขม ฝาด หวาน และเย็น ตัวอย่างอาหาร เช่น ผัดผักบุ้ง แกงจืดตำลึง แตงกวาผัดไข่ บวบผัดไข่ ไอศกรีม น้ำแตงโม น้ำเก๊กฮวย เป็นต้น หรือ อยู่ในที่ร่ม หรือ อาบน้ำ หรือ ขับถ่าย สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดธาตุไฟร่างกายได้

เสมหะ(ธาตุน้ำ)

ลักษณะทั่วไป รูปร่วงอวบ ผิวขาว ตาโต พูดช้าเสียงไพเราะ เคลื่อนไหวช้า ผมละเอียดสวย ผมดกดำ ชอบนอน ใจเย็น เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้ธาตุน้ำกำเริบ รับประทานอาหาร รสหวานจัด รสเปรี้ยวจัด รสเค็มจัด นอนกลางวันมากเกินไป ฤดูฝน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ธาตุน้ำกำเริบ อาการที่พบบ่อย โรคอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์ ไอมีเสมหะ น้ำมูกไหล ท้องเสีย เป็นน้ำเหลืองเสียได้มากกว่าธาตุอื่น เป็นต้น

การดูแลสุขภาพ ถ้าธาตุน้ำในร่างกายกำเริบหรือมีอาการผิดปกติ เพื่อทำให้ร่างกายเกิดภาวะสมดุล ควรรับประทานอาหารสร้อน และ รสขม  เช่น แกงส้มดอกแค แกงจืดมะระ ห่อหมกใบยอ มะระผัดไข่ มะระขี้นก น้ำใบบัวบก เป็นต้น หรือ อบสมุนไพร  ประคบสมุนไพร ออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดธาตุน้ำให้กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลได้ดี

การวิเคราะห์ธาตุเจ้าเรือนทำได้หลายวิธี วิธีนี้เป็นการวิเคราะห์จากบุคลิกลักษณะแต่บุคคล ว่าบุคคลนั้นมีธาตุเจ้าเรือนคืออะไร แต่เหมือนที่กล่าวจากข้างต้น ธาตุเจ้าเรือนอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลของ อายุ ฤดูกาล กาลเวลา ถิ่นที่อยู่อาศัย และมูลเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆร่วมด้วยได้ เมื่อเราเจ็บป่วยหรือมีอาการผิดปกติ การรับประทานอาหารให้ตรงกับธาตุจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและกลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล

ผู้จัดทำ นางสาวสุนันทา  แหล่งสะท้าน แพทย์แผนไทยประยุกต์

อ้างอิง

  • หนังสือ การแพทย์แผนไทย โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คัมภีร์วรโยคสาร http://ayurvedicassociationofthailand.blogspot.com/2012/01/blog-post_04.html
  • บทความ สงสัยไหมว่า ธาตุเจ้าเรือน คืออะไร โดย รศ.พร้อมจิตร ศรลัมพ์ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID โดย พท.ป. วรรณดี ชิตเจริญธรรม พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล และพจ. ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ กลุ่มอาการ ภาวะลองโควิด (Long COVID) ตามนิยามของ WHO ในปี 2021 กล่าวไว้ว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด (COVID – 2019) อาการลองโควิดโดยส่วนใหญ่เริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ระยะเวลาของอาการส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน และกลุ่มอาการมีความหลากหลายและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และ/หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ลักษณะอาการลองโควิดที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ […]

การดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมานามัย

หลักธรรมานามัย หมายถึงอะไร ประกอบด้วย 2 คำ คือ คำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ธรรมชาติ และ “อนามัย” หมายถึง การมีสุขภาพที่ดี เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายว่า การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยวิถีทางธรรมชาติ (Healthy by natural method) ซึ่งจะให้ความสำคัญแก่สิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่ช่วยให้มีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจสงบ ตระหนักรู้คิด สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ โดยเป็นแนวคิดของศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ซึ่งเป็นหนึ่งบุคคลที่ช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทย แนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทยมองสุขภาวะแบบองค์รวม มองชีวิตคนเป็นนามรูป โดยรวมกายและใจเป็นเอกพจน์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องรวมกันเป็นหนึ่ง ไม่แยกออกจากกัน เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง เป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องอิงอาศัยกัน มี 3 ส่วน คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย ความหมายของสุขภาพในการแพทย์แผนไทย คือ สุขภาพกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติตามหลักพุทธธรรม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทย […]

บรรเทาอาการเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร

สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นอัตราการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุชาวไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าประเทศในแถบตะวันตก เนื่องจากการใช้งานในวิถีชีวิตประจำวัน เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าไหว้พระ อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม             อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) จะค่อยๆเป็นทีละน้อย โดยเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ และเมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และอาจพบว่า ข้อเข่าผิดรูปได้ ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด อาชีพหรือลักษณะงานที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ เมื่อผู้ป่วยใช้งานข้อเข่ามากกว่าปกติเป็นระยะเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดและทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เมื่อลุกออกจากเก้าอี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้ทันที ต้องใช้เวลาเตรียมตัวสักครู่ถึงจะก้าวเดินได้ ส่วนในรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากอาจทำให้เดินไม่ไหว การนั่งยองหรือการคุกเข่า จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และถ้าผู้ป่วยข้อเสื่อมมากมักจะนั่งยองหรือคุกเข่าไม่ได้เลย เพราะพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าถูกจำกัด ทำให้งอเข่าได้ไม่สุดหรือเหยียดเข่าไม่ได้ สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อเข่าทำให้กระดูกข้อเข่าชิดกันเกินไป โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน(Articular cartilage) ที่คลุมผิวข้อนิ่มกว่าปกติ หรือ ผิวข้อแตกเป็นร่อง และอาจมีกระดูกงอกบริเวณขอบกระดูก ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและการควบคุมปลายประสาทเสียไป หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆที่นำไปสู่การเกิดข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย ได้แก่ อายุและเพศ โดยผู้ที่สูงอายุจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว และผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักเป็นเพศหญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย การใช้ข้อผิดวิธี เช่น การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆการออกกำลังกายผิดวิธี การขึ้นลงบันไดมากเกิน การนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิเป็นประจำส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น การได้รับบาดเจ็บ […]

อาหารสำหรับมารดาตั้งครรภ์ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

การตั้งครรภ์ทางการแพทย์แผนไทยนั้นได้มีการอธิบายไว้ในหัวข้อ “กุมารปฏิสนธิ” จากคัมภีร์ประถมจินดา กล่าวไว้ว่า “อันว่าสตรีทั้งหลายเมื่อจะตั้งอนุโลมปฏิสนธินั้น พร้อมด้วยบิดามารดากับธาตุทั้ง ๔ ก็บริบูรณ์พร้อม คือปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ ระคนกันเข้า” คือเกิดเพราะโลหิตบิดามารดาผสมรวมกันโดยสมบูรณ์พร้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ แพทย์สามารถสังเกตโดย ๑ เอ็นผ่านเส้นหน้าอกนั้นเขียว ๒ หัวนมนั้นคล้ำดำเข้า แล้วตั้งขึ้นเป็นเม็ดครอบหัวนม ซึ่งคนท้องส่วนมากจะมีอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายในแต่ละเดือนที่ตั้งครรภ์แตกต่างกัน จึงสมควรกินอาหารที่เหมาะสมกับอาการเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุครรภ์และอาหารที่แนะนำ เริ่มตั้งครรภ์ แพทย์แผนไทย เมื่อตั้งครรภ์ ๑๕ – ๓๐ วันจะแสดงอาการให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว  คือจะมีเอ็นเขียวผ่านหน้าอก หัวนมนั้นคล้ำดำขึ้นและมีเม็ดรอบหัวนม แพทย์แผนปัจจุบัน ผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหญิงตั้งครรภ์จาก Estrogen กระตุ้นให้มีการสะสม Melanin pigment ในเนื้อเยื่อทำให้สีผิวบริเวณส่วนต่าง ๆ เช่นที่ลานนม อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และบริเวณเส้นกลางลำตัวจากลิ้นปี่ถึงหัวเหน่า (Linea nigra) กระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม ต่อมน้ำนมและหัวนม ทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นและคัดตึง เดือนที่ ๑ […]