- หน้าแรก
- บทความ
- ความรู้ทั่วไป
- Sleep hygiene : สุขอนามัยการนอนหลับ
Sleep hygiene : สุขอนามัยการนอนหลับ
Sleep hygiene : สุขอนามัยการนอนหลับ
โดย พญ. ศิริลักษณ์ ผลศิริปฐม
- เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำสม่ำเสมอและมีระยะเวลาการหลับเพียงพอ
- พยายามอยู่บนที่นอนเมื่อง่วงนอน และไม่ทำกิจกรรมอื่นบนเตียง ยกเว้น การนอนหลับหรือกิจกรรมทางเพศ ถ้าไม่สามารถนอนหลับภายใน 30 นาทีหลังจากเข้านอน แนะนำให้พิจารณาลุกออกจากเตียงแล้วทำกิจกรรมอื่นที่สงบและผ่อนคลายในความมืดหรือแสงสลัว เมื่อง่วงแล้วจึงกลับมานอนอีกครั้ง
- จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการนอนที่ดี เช่น จัดห้องนอนให้เงียบ หรือไม่มีเสียงรบกวน มีอุณหภูมิพอเหมาะที่ทำให้หลับสบาย และหลับได้ดีตลอดคืน
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ 4 ถึง 6 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะอาจทำให้เกิดการนอนหลับไม่สนิทในช่วงหลังได้
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงการสูบบุหรี่ ก่อนนอน เพราะคาเฟอีนและนิโคตินจะไปรบกวนการนอนหลับได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากยาดังกล่าวทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบนหย่อนมากขึ้น และหลีกเลี่ยงยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท โดยเฉพาะก่อนเวลาเข้านอน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำนวนมาก หรืออาหารที่ย่อยยาก 3 ถึง 4 ชั่วโมงก่อนนอน เนื่องจากอาจทำให้รู้สึกอึดอัด นอนหลับไม่สนิท แต่สามารถรับประทานอาหารว่างเบาๆ ได้ เช่น นม ผลไม้ จะช่วยให้หลับสบายขึ้น
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักในเวลาก่อนนอน และหลีกเลี่ยงการทำงานที่มีความเครียดสูงเนื่องจากจะทำให้สมองตื่นตัว และพยายามทำให้ร่างกายผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น อาบน้ำอุ่น 1-2 ชั่วโมงก่อนนอน หรืออ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเบาๆ เป็นต้น
- พยายามไม่งีบหลับในเวลากลางวัน หากมีความจำเป็นให้พิจารณางีบหลับช่วงสั้นๆ ในตอนบ่าย แต่ไม่ควรนานเกิน 1 ชั่วโมง
คลินิกโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ (ENT) ให้บริการวินิจฉัยและรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับหู คอ จมูก ได้แก่ โรคในช่องปาก ลำคอ ทอมซิลอักเสบ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก ไทรอยด์ โรคภูมิแพ้ทางจมูก หวัดเรื้อรัง จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ โรคทางหู หูอื้อ หูน้ำหนวก หูอักเสบ รูหน้าใบหู โรคเวียนศีรษะจากน้ำในหูไม่เท่ากัน รวมถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดทอมซิล ไทรอยด์ ก้อนบริเวณหูและคอ และการตรวจรักษาในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินด้วยเครื่องมือพิเศษ OAE, Audiogram, Tympanometry, ABR
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
-ในเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. โทร 02-849-6600 ต่อ 2571-2574
ศูนย์ตรวจการนอนหลับกาญจนาภิเษก ให้บริการตรวจวิเคราะห์ และวินิจฉัยโรคต่าง ๆ แก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการนอนหลับ และบริการให้คำปรึกษา และคำแนะนำการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) เพื่อใช้รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA)
เปิดให้บริการทุกวัน 8.00 – 20.00 น. โทร 0613849154 หรือไลน์แอด @sleeplabgj
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม
คลินิกโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์
- โทร 02 849 6600 ต่อ 2571-2572