การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อในปอด

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อในปอด

โดย นางสาวอ้อมเดือน  ชื่นวารี นักกายภาพบำบัด

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ปอด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เมื่อร่างกายได้รับเชื้อเข้าไปโดยเฉพาะถุงลมในปอด เชื้อจะมีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคือเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยจะล้อมเชื้อไว้ ในกรณีที่เม็ดเลือดขาวไม่สามารถควบคุมเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ จะทำให้เกิดรอยโรคในเนื้อปอดได้ 

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถจัดการทำลายเชื้อได้  ผู้ป่วยก็จะมีอาการแสดงดังนี้ คือ ไอมีเสมหะ มีไข้ อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย เป็นต้น ซึ่งภาวะอาการเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้ลดลง ทำให้สภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตที่ลดลงตามไปด้วย

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดด้วยวิธีกายภาพบำบัด ช่วยลดอาการเหนื่อยและเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยมีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้

เทคนิคการบรรเทาอาการเหนื่อย 

  • การหายใจเพื่อลดอาการเหนื่อย
    • หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ
    • ห่อริมฝีปาก (เหมือนกำลังผิวปาก)
    • หายใจออกช้าๆ ผ่านทางริมฝีปากที่กำลังห่ออยู่ (เป่าลมออกทางปาก) โดยเวลาในการหายใจออกให้มากกว่าการหายใจเข้าสองเท่า
  • การหายใจโดยใช้กระบังลม
    • ผ่อนคลายหัวไหล่
    • วางมือข้างหนึ่งบริเวณหน้าท้อง 
    • หายใจเข้าผ่านจมูก ให้บริเวณหน้าท้องขยายออก
    • หายใจออกด้วยวิธีการห่อริมฝีปาก และหดกล้ามเนื้อหน้าท้อง บริเวณหน้าท้องจะแฟบ
    • ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง 
    • สามารถฝึกได้หลายรอบต่อวัน และสามารถฝึกในท่านอน นั่ง ยืน หรือขณะเดิน

การจัดท่าทาง เพื่อลดอาการหอบเหนื่อย

เพื่อลดอาการเหนื่อยได้เร็วขึ้น ควรทำร่วมกับการหายใจโดยใช้กระบังลมและหายใจออกโดยเป่าลมออกทางปาก 

  • ท่าที่ 1  นอนตะแคง ศีรษะหนุนหมอนสูง (หมอน 3-4 ใบ)
  • ท่าที่ 2  นั่งโน้มตัวมาด้านหน้า โดยวางศอกลงบนขาทั้ง 2 ข้าง
  • ท่าที่ 3  นั่งฟุบวางแขนบนหมอนที่อยู่บนโต๊ะ
  • ท่าที่ 4  ยืนเท้าแขนบนขอบระเบียง ของหน้าต่าง หรือโต๊ะสูง
  • ท่าที่ 5  ยืนพิงผนัง ปล่อยแขนข้างลำตัว โดยโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย

เทคนิคการไอขับเสมหะที่ถูกต้อง

  • นั่งท่าสบายๆ
  • โน้มศีรษะไปด้านหน้าเล็กน้อย
  • วางเท้าทั้ง 2 ข้าง ลงบนพื้นให้เต็มฝ่าเท้า
  • หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ โดยใช้กระบังลม (หน้าท้องขยายออก)
  • กลั้นหายใจ 2 วินาที
  • ไอ 2 ครั้งติดต่อกัน โดยอ้าปากเล็กน้อย
  • บ้วนเสมหะออก
  • พักสักครู่ หากไม่ได้ผล ให้ทำซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

บรรณานุกรม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.  พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลราชวิถี. (2553). คู่มือผู้ป่วยและญาติ:กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยระยะฟื้นฟูสุขภาพ COPD. กรุงเทพฯ: งานพัฒนาและส่งเสริมวิชาการสุขภาพ โรงพยาบาลราชวิถี.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]