• Home
  • Blog
  • ความรู้ COVID19
  • คำแนะนำการปฏิบัติระหว่างการแยกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน โควิด-19

คำแนะนำการปฏิบัติระหว่างการแยกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน โควิด-19

ความรู้ COVID19, ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

คำแนะนำการปฏิบัติระหว่างการแยกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน โควิด-19

 

โรคโควิด-19 (COVID-19)

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ที่ติดเชื้อเข้าไปจากการไอ จาม และพูดคุยกัน เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก และตา ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้ออยู่

 

ผู้ที่ติดเชื้อนี้อาจมีอาการป่วยหรือไม่มีอาการก็ได้ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ อาการของโรค โควิด-19 มีตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรง และเสียชีวิตได้อาการที่พบได้บ่อย เช่น ไข้น้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสเปลี่ยนไป หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น

 

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคอ้วน โรคมะเร็งโรคไตเรื้อรัง กลุ่มอาการดาวน์ โรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ระยะฟักตัวของโรค (ระยะเวลาหลังจากที่รับเชื้อแล้วแสดงอาการหรือตรวจพบเชื้อ) ประมาณ 2-14 วัน

 

ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรค โควิด-19 และยังไม่มีอาการจึงมีความจำเป็นต้องแยกกักตัวเพื่อสังเกตอาการที่บ้านเป็นเวลา 14 วันนับจากวันสุดท้ายที่สัมผัสโรค เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น หากเกิดการติดเชื้อ ยกตัวอย่างเช่น วันสุดท้ายที่สัมผัสผู้ป่วย โควิด-19 คือ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้น

 

วิธีการสังเกตอาการที่บ้านในช่วงแยกกักตัว 14 วัน

สังเกตอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจทุกวันโดยแนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกาย

  • อาการไข้ ได้แก่ เมื่อวัดอุณหภูมิร่างกายได้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปหรือมีอาการตัวร้อนหนาวสั่นปวดเมื่อยตัว
  • อาการระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ น้ำมูก ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสเปลี่ยนไปหายใจหอบเหนื่อย

 

หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบไปพบแพทย์โดยใช้รถส่วนตัว ผู้ป่วยและผู้ร่วมเดินทางทุกคนใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากเป็นรถยนต์ให้เปิดหน้าต่างรถไว้เสมอ

 

การปฎิบัติตัวระหว่างแยกกักตัวระหว่างแยกกับตัว 14 วันที่บ้านที่พักเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น ๆ

  1. ให้หยุดอยู่บ้าน ไม่เดินทางออกนอกบ้าน หรือเข้าไปในสถานที่แออัดที่มีคนจำนวนมาก
  2. ควรนอนแยกห้องเดี่ยว
  3. สวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างจากคนอื่น ๆ ในบ้านโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อย 2 ช่วงแขน
  4. รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น
  5. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้าผ้าเช็ดตัว ช้อนส้อม แก้วน้ำ เป็นต้น
  6. สำหรับห้องน้ำ หากเป็นไปได้ควรใช้ห้องน้ำแยกกัน หรือถ้ามีห้องน้ำเพียงห้องเดียว แนะนำให้ใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้ายและปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกดน้ำทิ้ง
  7. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาทีก็รณีไม่มีน้ำและสบู่ สามารถล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
  8. การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ให้ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือถือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำและสบู่ทันที
  9. เมื่อไอจามควรไอใส่ต้นแขน หรือใช้กระดาษทิชชู่ปิดจมูกและปากถึงคาง แล้วทิ้งในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง หลังจากนั้นทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำและสบู่ทันที
  10. ทำความสะอาดบริเวณที่พัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบตัว รวมถึงห้องน้ำด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาวหนึ่งส่วนต่อน้ำสะอาด 99 ส่วนน้ำยาฟอกขาว 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร
  11. ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ

 

*****************************

การปฏิบัติตัวของผู้อยู่อาศัยร่วมบ้านของผู้ที่แยกกักตัว 14 วันและการทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมในบ้าน

  1. ทุกคนในบ้านควรสวมหน้ากากอนามัย
  2. ควรล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน หรือมีการปนเปื้อน รวมถึงล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ โดยใช้น้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
  3. เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกในบ้าน ภายในระยะเวลา 14 วัน หลังสัมผัสผู้ป่วย
  4. ควรนอนแยกห้องกับผู้ที่ต้องสังเกตอาการหรือห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร และปิดหน้าต่าง
  5. ไม่รับประทานอาหารและใช้ของส่วนตัวร่วมกัน

 

**หากมีอาการเจ็บป่วยภายใน 14 วันหลังสัมผัสโรคหรือมีข้อสงสัยสามารถโทร 02-8496600**

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]