บทความทางรังสีวิทยา : ตรวจหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตันด้วยอัลตราซาวด์

ตรวจหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตันด้วยอัลตราซาวด์

โดย พ.ญ.สิรินุช โรจนไพฑูรย์ รังสีแพทย์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกฯ

 

หลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตันหรือ deep vein thrombosis (DVT) คือ ภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดในหลอดเลือดดำของขาทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด

อาการเป็นอย่างไร ไม่มีอาการ ขาบวม ปวด กดเจ็บตามแนวหลอดเลือดดำที่อุดตัน ผิวหนังแดง

อันตรายหรือไม่

สิ่งที่อันตรายที่สุดคือ เมื่อลิ่มเลือดที่ขาหลุดไปแล้วไหลเวียนไปตามกระแสเลือด ไปสู่เส้นเลือดในปอด ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในปอดอุดตัน (pulmonary embolism) ซึ่งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการ ได้แก่ เหนื่อย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เจ็บแน่นหน้าอก ไอเป็นเลือด หรือหมดสติได้

ในระยะยาว ผู้ป่วยอาจมีอาการที่เกิดจากหลอดเลือดที่ขาและลิ้นของหลอดเลือดดำเสียหาย ทำให้มีอาการขาบวมหรือแผลเรื้อรังได้

สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง

  1. การบาดเจ็บของหลอดเลือดดำ เช่น อุบัติเหตุ กระดูกหัก
  2. เลือดหมุนเวียนช้า เช่น ผู้ป่วยนอนติดเตียง ผู้ป่วยที่ไม่ได้ขยับขาเป็นระยะเวลานาน หลังการผ่าตัด การเดินทางและนั่งนาน ๆ
  3. ภาวะเลือดแข็งตัวง่าย เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง การรับประทานยาฮอร์โมนบางชนิด โรคเลือดแข็งตัวง่าย
  4. อื่น ๆ เช่น เคยเป็นลิ่มเลือดอุดตันมาก่อน ภาวะอ้วน การใส่สายสวนหลอดเดือดดำ

มีการตรวจวินิจฉัยทางรังสีอย่างไรบ้าง อัลตราซาวด์ (Doppler ultrasound) เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTV) ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRV) การฉีดสารทึบรังสี (Venogram)

ข้อดีของการทำอัลตราซาวด์ (Doppler ultrasound) ถูกต้องแม่นยำ สะดวกรวดเร็ว ไม่เจ็บ ไม่ได้รับรังสี ไม่ใช้สารทึบรังสีจึงไม่มีข้อควรระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้หรือเป็นโรคไต

การเตรียมตัวตรวจอัลตราซาวด์ ตรวจได้เลยโดยไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร

ตรวจอย่างไร ผู้ป่วยนอนหงาย จัดท่างอเข่าเล็กน้อย ตรวจที่ระดับขาหนีบลงไป บางกรณีจะมีการบีบน่องของผู้ป่วยหรือให้ผู้ป่วยช่วยเบ่งท้องร่วมด้วย ตรวจขา 1 หรือ 2 ข้างตามข้อบ่งชี้

การรักษา ฉีดยา กินยาละลายลิ่มเลือด ในกรณีที่อุดตันและมีอาการรุนแรงอาจมีการรักษาโดยการผ่าตัดนำลิ่มเลือดออก

การป้องกัน

ขยับตัวโดยเร็วที่สุดหลังจากไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น หลังการผ่าตัด การเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บ

เมื่อนั่งเป็นเวลานานให้ลุกขึ้นเดินไปรอบๆ ทุกๆ 2 ถึง 3 ชั่วโมง

ออกกำลังกายขาขณะนั่งโดย

  1. ยกและลดระดับส้นเท้าโดยให้นิ้วเท้าอยู่บนพื้น
  2. ยกและลดระดับนิ้วเท้าโดยให้ส้นเท้าอยู่บนพื้น
  3. เกร็งและคลายกล้ามเนื้อขา

สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ควบคุมน้ำหนัก ไม่สูบบุหรี่

หากมีความเสี่ยงต่อการเป็น DVT อาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับถุงน่องรัดกล้ามเนื้อหรือการรับประทานยาป้องกัน

 

 

อ้างอิง  Centers for Disease Control and Prevention (CDC)

 

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกรังสีวินิจฉัย

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 3155 , 3156

บทความที่เกี่ยวข้อง

การฝังเข็มเลิกบุหรี่

จากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลการสูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า ผลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากรในปี 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 57 ล้านคน พบว่า ผู้สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.4 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบจากปี 2560 ซึ่งสูงถึงร้อยละ 19.1(กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค) ถึงแม้ว่าการเสพติดบุหรี่ เป็นปัญหาที่สำคัญทางสังคมและการแพทย์ ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมนุษย์ เนื่องจากบุหรี่มีสารพิษมากกว่า100ชนิดที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคร้ายจากการสูบบุหรี่ ทั้งนี้บุหรี่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคปอดอักเสบ โรคมะเร็ง อายุขัยสั้นลง เกิดความพิการของทารกในครรภ์ ฯลฯ นอกจากนี้ควันบุหรี่มีผลกับสมองและระบบประสาทซึ่งในควันบุหรี่มีสารนิโคตินที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท สารนี้สามารถผ่านไปสู่สมองภายในเวลา10-20วินาที หลังจากดูดบุหรี่แต่ละครั้งปริมาณนิโคตินในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งสารนิโคตินมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่ควบคุมความรู้สึกและอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเคลิ้มสุข(Euphoria) ความรู้สึกสุขสบายนี้จะเกิดขึ้นในการสูบบุหรี่ครั้งแรก ๆ เมื่อสูบบุหรี่ติดต่อไปในระยะหนึ่งจะเกิดการดื้อทำให้แม้ผู้สูบจะสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานก็ไม่เกิดความรู้สึกสุขสบายจากการสูบบุหรี่แต่ต้องสูบบุหรี่เพื่อระงับภาวะถอนยา หรือภาวะอยากยาทางจิต (Psychological Withdrawal Syndrome) ทำให้เกิดอาการต่างๆได้แก่ เครียด หงุดหงิด ฉุนเฉียว กระวนกระวาย […]

ฝังเข็มเจ็บมากไหม ? อันตรายหรือไม่ ?

ฝังเข็มเจ็บมากไหม ? อันตรายหรือไม่ ? โดย พจ.ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ การฝังเข็ม(ภาษาจีน: 針灸; ภาษาอังกฤษ: Acupuncture) เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยการฝังเข็มเป็นการใช้เข็มปักลงไปตามจุดต่างๆบนร่างกาย ตามจุดสำคัญๆที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า มีความสำคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย จุดฝังเข็มบนร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายร้อยจุด แต่จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิงขององค์การอนามัยโลก(WHO)มีอยู่จำนวน 349 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) หลักๆ 12 เส้นหลัก และอีก 2 เส้นรอง ซึ่งแต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่อย่างชัดเจน การฝังเข็มให้เกิดผลในการรักษาโรค ไม่ใช่เพียงแพทย์จีนปักเข็มไปตามร่างกายเท่านั้น แต่แพทย์จีนยังต้องมีเทคนิคหลายอย่างในขั้นตอนการฝังเข็ม การเลือกรักษากับแพทย์จีนที่มีความรู้เกี่ยวกับเข็มและอุปกรณ์การฝังเข็มเป็นอย่างดี ทั้งการเลือกใช้ประเภทของเข็ม ข้อระวัง วิธีการใช้ เทคนิคต่างๆในการกระทำต่อเข็มเพื่อให้ผลการรักษาได้ผลดี ตั้งแต่เริ่มการจับเข็ม การลงเข็ม การถอนเข็ม รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพปลอดภัยและปลอดเชื้อ แพทย์จีนใช้เข็มอะไรฝังเข็มคนไข้ ปัจจุบันการฝังเข็มได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคควบคู่ไปกับการแพทย์แผนตะวันตก หลายครั้งมีคำถามว่า เข็มที่แพทย์จีนใช้ปักบนร่างกายของคนไข้ใช้เข็มอะไร? เหมือนเข็มฉีดยาไหม? ใหญ่ไหม? ปลอดภัยหรือเปล่า?  แล้วเจ็บหรือเปล่า? รูปที่1 ลักษณะเข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม เข็มที่แพทย์จีนนิยมใช้แพร่หลายที่สุดคือ เข็มที่มีลักษณะกลม-บาง ปลายเข็มแหลมคม ความยาวอยู่ระหว่าง […]

รังสีร่วมรักษากับการรักษามะเร็ง

รังสีร่วมรักษากับการรักษามะเร็ง โดย นพ. พิพิธ ปิตุวงศ์ (แพทย์รังสีร่วมรักษาของลำตัว) รู้หรือไม่!!! รังสีแพทย์ก็ทำการรักษาผู้ป่วยเหมือนกัน รังสีร่วมรักษา ไม่ใช่รังสีรักษานะ มะเร็งบางชนิดสามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และ ไม่ต้องได้ยาเคมีบำบัด ———————————————————————————————————————– มารู้จักกับแพทย์รังสีร่วมรักษากันเถอะ แพทย์รังสีร่วมรักษาเป็นแพทย์ที่เรียนต่อเฉพาะทาง ทางด้านรังสีวินิจฉัย ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยได้พบรังสีแพทย์ด้านนี้เท่าไหร่ เนื่องจากเราทำงานอยู่เบื้องหลัง ช่วยแปลผลภาพให้แพทย์เฉพาะทางด้านอื่นๆ ได้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง แม่นยำขึ้น เราจะมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องเอกซ์เรย์ เครื่องฟลูโอโรสโคปี้ระบบดิจิตอล เครื่องอัลตราซาวด์ และ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแพทย์เฉพาะทาง ทางรังสีลงไปอีก คือ แพทย์รังสีร่วมรักษา ที่จะใช้อุปกรณ์ทางรังสีดังกล่าว เพื่อนำทางในการรักษาผู้ป่วย โดยไม่ต้องผ่าตัด อีกทั้งมีความแม่นยำสูง และแผลเล็กนิดเดียว  เช่น การเจาะระบายหนองทางหน้าท้อง, การให้ยาเคมีบำบัดกับเส้นเลือดที่จำเพาะไปยังก้อนมะเร็ง, การรักษาภาวะหลอดเลือดผิดปกติผ่านทางสายระบายหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด และ การจี้ก้อนมะเร็งผ่านทางผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็กโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นต้น รังสีร่วมรักษานะ ไม่ใช่รังสีรักษา หลายคนมีความสับสนระหว่างแพทย์รังสีร่วมรักษา กับ แพทย์รังสีรักษา ด้วยความที่ชื่อภาษาไทยมีความคล้ายกันอย่างมาก แต่อันที่จริงการทำงานของเราต่างกันโดยสิ้นเชิง เปรียบเทียบได้ตามตารางข้างล่างนี้ รังสีร่วมรักษา รังสีรักษา ภาษาอังกฤษ คือ […]

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด นายธนวัฒน์ ชาชิโย (นักวิชาการโภชนาการ)   วัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดย พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทย เป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก และคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 รายต่อปี วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและสามารถวัณแพร่เชื้อโดยการไอ จาม ฝอยละอองเสมหะที่ออกมาจากปอดของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคและผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคก็คือผู้ที่หายใจรับเชื้อวัณโรคที่ล่องลองในอากาศเข้าสู่ปอด   อาการของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดที่มีมักพบ คือ เบื่ออาหาร ไอ มีเสมหะ เหนื่อย หอบ ต่อมรับรสผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวคือผลจากโรคและผลข้างเคียงจากยา  ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดมีน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ในภายหลัง และเมื่อร่างกายขาดสารอาหารจึงส่งต่ออาการของโรคและการแพ้ยารุนแรง ภาวะทุพโภชนาการกับวัณโรค โดยปกติแล้วผู้ป่วยวัณโรค จะได้รับการรักษาและยา ตามที่แนวทางการรักษาของแพทย์ แต่อาหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ป่วยวัณโรค หรือผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง จากอาการที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ส่งผลให้น้ำหนักจะลดลงเร็วมากถึง 3 –5 กิโลกรัมใน 2 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลต่อค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทำให้มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ และมวลกล้ามเนื้อลดลง จากการได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งผลต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ภูมิคุ้มกันลดลง […]