การฝึกหายใจและขับเสมหะ

ความรู้ COVID19, ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่
โรค COVID-19 ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง 😷 ดังนั้นผู้ที่มีภาวะการติดเชื้อทางเดินหายใจและปอด ควรได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยฝึกหายใจอย่างเหมาะสมควบคู่กันไปด้วยค่ะ เพื่อช่วยป้องกัน และบรรเทาภาวะการหายใจลำบาก และยังช่วยเรื่องการระบายเสมหะได้ดีขึ้นด้วย 👍 และนี่คือวิธีง่าย ๆ เบื้องต้นในการฝึกหายใจ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวที่อยู่ระหว่างการรักษาแบบ Home isolation เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ โดยวิธีนี้สามารถทำได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยเท่านั้นนะคะ
การฝึกหายใจ
• ฝึกควบคุมลมหายใจเข้า-ออก (Breathing control)
โดยสูดลมหายใจเข้าทางจมูก และเป่าออกทางปาก สลับกันช้าๆ• ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม (Deep breathing exercise)
วางมือตรงหน้าท้องและหน้าอก หายใจเข้าทางจมูกให้ท้องป่อง เป่าลมออกทางปากท้องยุบ

>ทำ 5 ครั้งต่อรอบ วันละ 3-4 ครั้ง

การฝึกหายใจร่วมกับเพิ่มความเคลื่อนไหวของทรวงอก
(Chest Trunk Mobilization)
• ท่าที่ 1
ไขว้มือข้างหน้า สูดหายใจเข้าพร้อมกางแขนออกและยกแขนขึ้น หายใจออก แล้วค่อย ๆ เป่าลมออกทางปาก พร้อมลดแขนลง
ทำช้า ๆ 5 ครั้งต่อรอบ

• ท่าที่ 2
หายใจเข้า กางแขนข้างใดก็ได้ออกข้างลำตัว พร้อมเอียงตัวไปฝั่งตรงข้าม หายใจออก แล้วค่อย ๆ เป่าลมออกทางปากพร้อมลดแขนลง
ทำช้าๆ 5 ครั้งต่อรอบ

เทคนิคการระบายเสมหะ

การกระแอม หรือการพ่นลม (Huffing)
1. ปรับหัวเตียงขึ้น หรือนั่งในท่าสบาย ๆ
2. หายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูก กลั้นหายใจนับ 1 – 3
3. ทำปากรูปตัวโอ พ่นลมหายใจออกทางปาก

การไอ (Cough)
1. ปรับหัวเตียงขึ้น หรือนั่งในท่าสบาย ๆ
2. หายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูก กลั้นหายใจนับ 1 – 3
3. พ่นลมหายใจออกทางปากอย่างเร็วและแรง

ข้อควรระวังที่สำคัญ

– ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง และตลอดเวลาที่ฝึกหายใจ
– การไอหรือจามทุกครั้ง ห้ามเปิดหน้ากากอนามัย (หากต้องเปิด ควรใช้กระดาษทิชชูปิดปากหรือจมูกทุกครั้ง หรือไอจาม โดยเอาจมูกกับปากแนบที่พับข้อศอก)

หากมีอาการดังนี้ ให้หยุดทันที
– เหนื่อยหอบมาก
– หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
– หายใจสั้นหรือถี่มากๆ
(อัตราการหายใจมากกว่า 22 ครั้ง/นาที หายใจเข้าและออก นับเป็น 1 ครั้ง)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด นายธนวัฒน์ ชาชิโย (นักวิชาการโภชนาการ)   วัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดย พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทย เป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก และคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 รายต่อปี วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและสามารถวัณแพร่เชื้อโดยการไอ จาม ฝอยละอองเสมหะที่ออกมาจากปอดของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคและผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคก็คือผู้ที่หายใจรับเชื้อวัณโรคที่ล่องลองในอากาศเข้าสู่ปอด   อาการของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดที่มีมักพบ คือ เบื่ออาหาร ไอ มีเสมหะ เหนื่อย หอบ ต่อมรับรสผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวคือผลจากโรคและผลข้างเคียงจากยา  ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดมีน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ในภายหลัง และเมื่อร่างกายขาดสารอาหารจึงส่งต่ออาการของโรคและการแพ้ยารุนแรง ภาวะทุพโภชนาการกับวัณโรค โดยปกติแล้วผู้ป่วยวัณโรค จะได้รับการรักษาและยา ตามที่แนวทางการรักษาของแพทย์ แต่อาหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ป่วยวัณโรค หรือผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง จากอาการที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ส่งผลให้น้ำหนักจะลดลงเร็วมากถึง 3 –5 กิโลกรัมใน 2 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลต่อค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทำให้มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ และมวลกล้ามเนื้อลดลง จากการได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งผลต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ภูมิคุ้มกันลดลง […]

5 คุณประโยชน์ของการนอนที่ดี (Surprising Reasons to Get More Sleep)

5 คุณประโยชน์ของการนอนที่ดี (Surprising Reasons to Get More Sleep) โดย นพ. นพดล ตรีประทีปศิลป์ และ พญ. ศิริลักษณ์ ผลศิริปฐม (หน่วยโรคจากการนอนหลับ แผนกโสตนาสิกลาริงซ์) เคยไหม? บางวันรู้สึกเป็นวันที่ไม่สดใส หงุดหงิดกับคนรอบตัว สมองไม่ปลอดโปร่ง หรือไม่มีสมาธิเอาเสียเลย ทุกอย่างดูไม่เป็นใจไปเสียหมด หรือเพราะมันเป็นเพียงวันแย่ๆ วันหนึ่ง (It’s just a bad day) ทว่าเราเคยคิดทบทวนกันบ้างไหมว่า การนอนหลับของเราในคืนที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เป็นการนอนที่มีคุณภาพหรือไม่ ร่างกายของเราได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และมีพลังกายพลังใจ พร้อมที่จะทำกิจกรรมในวันต่อไปแล้วหรือยัง ฉะนั้นเราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญในชีวิตของเราก็คือเรื่องการนอน การอดนอนหรือการนอนที่ไม่มีคุณภาพ อาจส่งผลให้คุณรู้สึกฉุนเฉียว อ่อนล้าได้ในเช้าวันรุ่งขึ้น แต่หากปัญหาการนอนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจจะส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากสภาวะอารมณ์ ยังสามารถแผ่ขยายไปกระทบถึงสุขภาพทางกาย ทางจิตใจ หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตผลให้เรามีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงทั้งสิ้น มีงานวิจัยทางการแพทย์หลายบทความพบว่า การมีคุณภาพการนอนที่ดีอย่างสม่ำเสมอนั้น เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลายแง่มุมตั้งแต่เรื่องการคุมน้ำหนัก ไปถึงการลดอัตราการเกิดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ และนี่คือเหตผลว่าทำไมเราควรมี “สุขภาพการนอนที่ดี” โดยบทความนี้ก็จะพาไปให้เห็นถึงเรื่องนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น และนี่คือ 5 เหตผลว่าทำไมเราควรถึงต้องนอนให้ดี 1. […]

โรคอ้วน

โรคอ้วน พญ.ปฏินุช เย็นรมภ์ (อายุรศาสตร์และตจวิทยา) เกิดจากร่างกายมีการสะสมไขมันใต้ชั้นผิวหนังมากกว่าปกติ ซึ่งจะคิดตามน้ำหนักตัว  คำนวนโดยใช้ดัชนีมวลกาย (BMI) BMI = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม/(ส่วนสูงเป็นเมตร)ยกกำลังสอง     มีหน่วยเป็น kg/m2  หากมีค่า BMI มากกว่า 25 kg/m2   จัดว่าเป็นโรคอ้วน แต่หากเจ้าไขมันที่สะสมตามร่างกายนี้ส่งผลถึงระบบอวัยวะภายในร่างกาย จะเรียกว่า โรคอ้วนลงพุง ซึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้ มีภาวะอ้วน โดยวัดจากเส้นรอบเอว ในผู้หญิงตั้งแต่ 80 เซ็นติเมตร ส่วน ผู้ชายตั้งแต่ 90 เซ็นติเมตร ร่วมกับมีภาวะมากกว่า2ใน4ข้อดังต่อไปนี้ ความดันโลหิตสูงมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูงมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร   ระดับไขมันดี (HDL) ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ชาย และต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง […]

ยาจีนบำรุงปอด

ยาจีนบำรุงปอด                                                                    โดย พจ.มาลีนา บุนนาค ลู่   ยาจีนหรือสมุนไพรจีนที่บำรุงปอด บรรเทาอาการไอ แบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้หลายชนิด ดังนี้ 1. บำรุงปอดบรรเทาอาการไอ เช่น ไป๋เหอ มีฤทธิ์ บำรุงปอด สงบจิตใจ ลดความร้อน บรรเทาอาการไอ ไอเป็นเลือด เป้ยหมู่ มีฤทธิ์ กดชี่ลงล่าง หยุดอาการไอ สลายเสมหะ อาการไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ยังช่วยระบายความร้อน ลดไข้ กำจัดตุ่มหนอง ไป๋เหอ เป้ยหมู่ 2. บำรุงปอดเพิ่มสารอิน หรือสารน้ำ เช่น เทียนฮัวเฝิ่น มีฤทธิ์ ลดไข้ ทำให้ปอดชุ่มชื้น แก้กระหายน้ำ เพิ่มสารน้ำ ขับเสมหะ อู่เว่ยจึ มีฤทธิ์ เสริมสารน้ำ หยุดอาการไอ ซาเซิน มีฤทธิ์ ลดความร้อน […]