การฝึกหายใจและขับเสมหะ

ความรู้ COVID19, ความรู้ทั่วไปลงวันที่
โรค COVID-19 ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง 😷 ดังนั้นผู้ที่มีภาวะการติดเชื้อทางเดินหายใจและปอด ควรได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยฝึกหายใจอย่างเหมาะสมควบคู่กันไปด้วยค่ะ เพื่อช่วยป้องกัน และบรรเทาภาวะการหายใจลำบาก และยังช่วยเรื่องการระบายเสมหะได้ดีขึ้นด้วย 👍 และนี่คือวิธีง่าย ๆ เบื้องต้นในการฝึกหายใจ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวที่อยู่ระหว่างการรักษาแบบ Home isolation เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ โดยวิธีนี้สามารถทำได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยเท่านั้นนะคะ
การฝึกหายใจ
• ฝึกควบคุมลมหายใจเข้า-ออก (Breathing control)
โดยสูดลมหายใจเข้าทางจมูก และเป่าออกทางปาก สลับกันช้าๆ• ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม (Deep breathing exercise)
วางมือตรงหน้าท้องและหน้าอก หายใจเข้าทางจมูกให้ท้องป่อง เป่าลมออกทางปากท้องยุบ

>ทำ 5 ครั้งต่อรอบ วันละ 3-4 ครั้ง

การฝึกหายใจร่วมกับเพิ่มความเคลื่อนไหวของทรวงอก
(Chest Trunk Mobilization)
• ท่าที่ 1
ไขว้มือข้างหน้า สูดหายใจเข้าพร้อมกางแขนออกและยกแขนขึ้น หายใจออก แล้วค่อย ๆ เป่าลมออกทางปาก พร้อมลดแขนลง
ทำช้า ๆ 5 ครั้งต่อรอบ

• ท่าที่ 2
หายใจเข้า กางแขนข้างใดก็ได้ออกข้างลำตัว พร้อมเอียงตัวไปฝั่งตรงข้าม หายใจออก แล้วค่อย ๆ เป่าลมออกทางปากพร้อมลดแขนลง
ทำช้าๆ 5 ครั้งต่อรอบ

เทคนิคการระบายเสมหะ

การกระแอม หรือการพ่นลม (Huffing)
1. ปรับหัวเตียงขึ้น หรือนั่งในท่าสบาย ๆ
2. หายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูก กลั้นหายใจนับ 1 – 3
3. ทำปากรูปตัวโอ พ่นลมหายใจออกทางปาก

การไอ (Cough)
1. ปรับหัวเตียงขึ้น หรือนั่งในท่าสบาย ๆ
2. หายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูก กลั้นหายใจนับ 1 – 3
3. พ่นลมหายใจออกทางปากอย่างเร็วและแรง

ข้อควรระวังที่สำคัญ

– ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง และตลอดเวลาที่ฝึกหายใจ
– การไอหรือจามทุกครั้ง ห้ามเปิดหน้ากากอนามัย (หากต้องเปิด ควรใช้กระดาษทิชชูปิดปากหรือจมูกทุกครั้ง หรือไอจาม โดยเอาจมูกกับปากแนบที่พับข้อศอก)

หากมีอาการดังนี้ ให้หยุดทันที
– เหนื่อยหอบมาก
– หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
– หายใจสั้นหรือถี่มากๆ
(อัตราการหายใจมากกว่า 22 ครั้ง/นาที หายใจเข้าและออก นับเป็น 1 ครั้ง)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง