ภาวะอะเฟเซีย

ภาวะอะเฟเซีย

โดย พ.ญ. ศิริกัญญา รุ่งเรือง

ภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร หรือ อะเฟเซีย (Aphasia) คือภาวะที่มีปัญหาของการฟัง พูด อ่าน หรือ เขียน ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากพยาธิสภาพ หรือความผิดปกติในสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องภาษา โดยในส่วนใหญ่มักจะอยู่ที่บริเวณสมองซีกซ้าย

ประเภทของภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร

การสื่อสาร คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล ได้แก่ การรรับสาร การแปลความหมาย และการส่งสาร โดยอาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมีความรุนแรง และความผิดปกติแตกต่างกันออกไป

  1. กลุ่มฟังไม่เข้าใจ โดยเมื่อไม่เข้าใจจะไม่สามารถตอบโต้ได้ตรงกับคำถาม หรือเมื่อถูกถามจะงง ไม่สามารถสื่อสารตอบกลับมาได้ เช่น การพูด หรือการตอบไม่ตรงคำถาม หรือทำตามคำบอกไม่ได้ เช่น บอกให้ยกมือ หรือกำมือ ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำตามได้
  2. กลุ่มมีปัญหาด้านการพูด มีความรุนแรงตั้งแต่พูดไม่คล่อง พูดได้เป็นคำ ๆ พูดติดขัด เรียงประโยคผิด พูดตามไม่ได้ ไปจนถึงพูดไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจนึกคำไม่ออก เช่น คำว่า แก้วน้ำ อาจบอกว่าเป็นอะไรที่เอาไว้ใส่น้ำ หรือ ข้าวสวย ก็อาจพูดว่าที่เป็นเม็ดขาว ๆ หลาย ๆ เม็ด เอาไว้ทาน เป็นต้น หรือบางรายอาจมีความผิดปกติทั้งสองทาง คือทั้งการรับสาร และสื่อสารทำให้ฟังไม่เข้าใจ และพูดตอบไม่ได้
  3. กลุ่มอ่านไม่เข้าใจ หรือพิมพ์ไม่ได้ หรือมีปัญหาด้านการอ่านการเขียนในผู้ป่วยที่เคยอ่านออกเขียนได้ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถเชื่อมเสียงกับตัวอักษาได้ เห็นตัวอักษร หรือคำ แล้วอ่านไม่ออก

สาเหตุของภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร

ตามความจริงแล้วภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุที่ทำให้เนื้อสมองที่ควบคุมเกี่ยวกับการพูด และความเข้าใจถูกทำลาย ได้แก่

  1. โรคหลอดเลือดสมอง ทั้งเส้นเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตก หรือที่รู้กันกันในชื่อ Stroke
  2. โรคเนื้องอกในสมอง โดยมีก้อน หรือเนื้องอกไปกดทับทำให้เกิดความผิดปกติในส่วนของสมองซีกซ้าย ภาวะติดเชื้อ หรืออุบัติเหตุทางสมอง
  3. กลุ่มโรคอัลไซเมอร์ บางครั้งอาจพบภาวะคิดคำไม่ออก

โดยแพทย์สามารถวินิจฉัย และหาสาเหตุของโรคได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง การเจาะน้ำไขสันหลังในรายที่สงสัยการติดเชื้อ เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป

ภาวะบกพร่องทางการสื่อสารมีวิธีรักษาอย่างไร

การรักษาภาวะบกพร่องทางการสื่อสารจะรักษาตามสภาพของโรค เช่น หากเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดอย่างทันท่วงที หากไปโรงพยาบาลภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

หากเกิดจากเนื้องอกสมอง สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด

หากเกิดจากภาวะติดเชื้อ สามารถรักษาได้โดยการให้ยาฆ่าเชื้อที่จำเพาะต่อเชื้อนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังมีวิธีการฝึกการพูด และการใช้ภาษา โดยทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกิจกรรมบำบัด และนักอรรถบำบัด เพื่อแก้ไขปัญหาความบกพร่องทางการสื่อสาร

โดยการฝึกผู้ป่วยที่มีภาวะบกพรองทางการสื่อสาร จะฝึกตามปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วย โดยเน้นการฝึกซ้ำ ๆ ให้ผู้ป่วยหัดทำบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

  1. ฝึกฟัง เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจสิ่งที่คนรอบข้างพูด เริ่มจากฝึกฟังแล้วให้ทำตามคำสั่ง เช่น กำมือ แบมือ ให้จับอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงอาจให้ทำเลียนแบบ เช่น กำมือ แบมือ ทำซ้ำ ๆ จะทำให้คนไข้พอเข้าใจมากขึ้น
  2. ฝึกนึกคำ เริ่มจากการใช้ของจริงก่อน เพื่อให้คนไข้ได้สัมผัสสิ่งของนั้น ๆ เช่น ให้ดูนาฬิกา ปากกา กระดาษ เป็นต้น ถ้าผู้ป่วยคิดคำไม่ออก ผู้ฝึกอาจใบ้คำแรกเพื่อช่วยผู้ป่วยได้
  3. ฝึกพูดเพื่อโต้ตอบกับคนรอบข้าง โดยฝึกคำถามทั่ว ๆ ไปที่ผู้ป่วยคุ้นเคย เช่น ถามชื่อ หรือมีบทสนทนาทั่วไป เช่น ทานข้าวหรือยัง ทานอะไร อยู่ที่ไหน โดยค่อย ๆ ถามทีละคำถามช้า ๆ ถ้าผู้ป่วยนึกคำไม่ออก อาจช่วยใบ้พยางค์แรก หรือให้พูดตาม เป็นต้น การฝึกพูดตามอาจใช้สถานการณ์ช่วยได้ เช่น เวลาทานข้าวด้วยกัน ก็จะพูดไปด้วยว่า “กิน” พอผู้ฝึกทำซ้ำ ๆ ผู้ป่วยก็จะเข้าใจคำพูดนั้นมากขึ้น หลังจากนั้นจะสามารถพูดคำว่า “กิน” ได้ระหว่างที่กำลังทานข้าว โดยเมื่อทำได้แล้วก็ให้พูดว่า “กินข้าว” โดยเพิ่มเป็นสองพยางค์ หรือต่อมาจะค่อย ๆ เพิ่มเป็นประโยคที่ยาวขึ้น เช่น “ตักข้าวกิน” สถานการณ์เหล่านี้จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจของผู้ป่วยด้วย
  4. ฝึกอ่านเขียน เริ่มตั้งแต่ทำความรู้จักตัวอักษร สระ วรรณยุกต์ตัวสะกด หลังจากนั้นให้อ่านสะกดคำ เช่น กอ อิ นอ กิน เป็นต้น การเขียน อาจเริ่มจากสิ่งที่คุ้นเคย เช่น เขียนชื่อของผู้ป่วย แต่ในผู้ป่วยสูงอายุที่ปกติไม่ค่อยได้ใช้การอ่านหรือการเขียน แพทย์อาจเน้นการฟังหรือการพูดมากกว่า

วิธีป้องกันภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร

การป้องกันภาวะบกพร่องทางการสื่อสารสามารถทำได้โดยการรักษาโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ และที่สำคัญ หากมีอาการเกิดขึ้นแบบฉับพลันควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที หรือหากคนรอบข้างมีการพูดคุยที่ผิดปกติดังที่กล่าวมา ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เช่นกัน

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหล้าเถื่อน ยาดองมรณะ

เหล้าเถื่อน ยาดองมรณะ พญ.มลินพร แจ่มพงษ์ หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์และตจวิทยา เหล้าเถื่อน โดยเฉพาะที่ปนเปื้อนด้วย เมทานอล เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ การบริโภคแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจนำไปสู่ความพิการถาวรหรือเสียชีวิตได้ เมทานอล หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นสารเคมีที่เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว และระเหยง่าย ซึ่งแตกต่างจากเอทานอล(แอลกอฮอล์ที่ใช้ในการดื่ม)อย่างสิ้นเชิง โดยทั่วไปเมทานอลมักใช้ในการละลายสารเคมีในกระบวนการผลิต เช่น สี หมึกพิมพ์ เรซิน เมทานอลมักถูกนำมาผสมในเหล้าเถื่อนเพื่อเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์และลดต้นทุนการผลิต เมื่อเมทานอลเข้าสู่ร่างกาย มันจะถูกเปลี่ยนเป็นสารพิษที่ชื่อ ฟอร์มาลดีไฮด์ และ ฟอร์เมท ซึ่งสารเหล่านี้จะไปทำลายเซลล์ประสาทและอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อาการแสดงเมื่อได้รับสารพิษเมทานอล อาการแสดงสามารถพบได้ตั้งแต่ระยะ12-24ชม.หลังได้รับเข้าสู่ร่างกายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณเมทานอลที่ได้รับ อาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว มึนงง ง่วงซึม อาการทางสายตา เช่น มองเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว ตาบอด ชัก หมดสติ การป้องกันที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าเถื่อน: ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่รู้แหล่งที่มาหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต เลือกซื้อเครื่องดื่มจากแหล่งที่เชื่อถือได้: ควรซื้อเครื่องดื่มจากร้านค้าที่ได้รับอนุญาตและมีการควบคุมคุณภาพ สังเกตฉลากและบรรจุภัณฑ์: ตรวจสอบฉลากและบรรจุภัณฑ์ว่ามีการระบุส่วนผสมและผู้ผลิตอย่างชัดเจน […]

ตะลิงปลิงอาจเป็นภัยต่อไตของคุณ

ตะลิงปลิง อาจเป็นภัยต่อไตของคุณ พญ.มลินพร แจ่มพงษ์ (หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์และตจวิทยา) ตะลิงปลิงเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจัดด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่เชื่อกันว่ามีมากมาย ทำให้ตะลิงปลิงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งรับประทานสด ๆ ผสมในอาหาร หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่ในอีกด้านหนึ่งการรับประทานตะลิงปลิงมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อไตได้ เนื่องจากตะลิงปลิงมีสารออกซาลิกสูง สารชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะรวมตัวกับแคลเซียมในร่างกาย ทำให้เกิดผลึกออกซาเลท ซึ่งอาจสะสมในท่อไตและทางเดินปัสสาวะ หากสะสมมากเกินไปอาจก่อให้เกิดนิ่วในไต หรือในกรณีที่รุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ อาการแสดงของโรคไตจากผลึกออกซาเลท อาจปรากฏอาการตั้งแต่ 24-48 ชม.แรกหากรับประทานในปริมาณมาก หรืออาจไม่ปรากฏให้เห็นในระยะเริ่มแรกแต่เมื่อโรคดำเนินไป อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลังโดยเฉพาะบริเวณเอว ปัสสาวะมีเลือดปนอาจเป็นสีชมพู แดง หรือน้ำตาล ปัสสาวะขุ่นหรือมีตะกอน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย กินตะลิงปลิงอย่างไรให้ปลอดภัย รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรกินตะลิงปลิงในปริมาณมากเกินไป หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำคั้นจากตะลิงปลิง เนื่องจากน้ำคั้นจากตะลิงปลิงจะมีปริมาณสารออกซาลิกสูงมาก หลีกเลี่ยงการรับประทานตะลิงปลิงในช่วงท้องว่าง เพราะร่างกายจะดูดซึมสารออกซาลิกได้อย่างรวดเร็ว

การฝังเข็มความงาม

การฝังเข็มความงาม (美容针灸) โดย แพทย์จีนมาลีนา บุนนาค ลู่ ศาสตร์การฝังเข็มไม่เพียงแต่เป็นการรักษาโรคเท่านั้น หากยังมีการฝังเข็มความงามใบหน้าด้วย  เมื่อการไหลเวียนโลหิต และการหมุนเวียนของพลังชี่บริเวณใบหน้าไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดใบหน้าหมองคล้ำ ซีดเซียว หย่อนยาน ขอบตาดำคล้ำ การแสดงออกทางสีหน้าด้วยอารมณ็ต่างๆ ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดสิว ผิวหน้าของเราได้รับสัมผัสกับสิ่งภายนอกตลอดปี และมีความไวต่อมลภาวะในอากาศเป็นพิเศษ ผิวหน้านั้นต้องการการดูแลอย่างอ่อนโยน การฝังเข็มความงามใบหน้า จะใช้เข็มบางขนาดเล็ก เป็นเข็มสเตอร์ไรด์ และบางกว่าเข็มรักษาโรค ใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีความปลอดภัยสูง และได้ผลดี เนื่องจากการฝังเข็มความงามใบหน้า ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณใบหน้า เร่งการเผาผลาญของเสียในเซลล์ จึงช่วยให้ใบหน้ากระจ่างใส ลดริ้วรอย ฝ้า กระ สิวและรอยสิวได้ การฝังเข็มความงามใบหน้า หากต้องการเห็นผลเร็ว สามารถทำวัน เว้นวัน  โดยทั่วไปควรทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรืออย่างน้อยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (20 ครั้งเป็น 1 รอบการบำรุง) สำหรับผลลัพธ์แต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับเหตุปัจจัยหลายอย่าง แต่สามารถทำได้เรื่อยๆ เพราะถือเป็นการบำรุงผิวหน้าอย่างหนึ่ง ถึงแม้การฝังเข็มความงามใบหน้า […]

กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง (Ptosis) นพ. เอกชัย เลาวเลิศ กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง เกิดขึ้นได้โดยกำเนิด หรือพบในภายหลัง ทุกวัย โดยระดับความรุนแรงมากน้อยต่างกัน ส่งผลทำให้ตาดูง่วง และไม่สดใส ยังส่งผลถึงการมองเห็น ทำให้วิสัยทัศน์การมองเห็นแคบลงด้วย (ตาขี้เกียจ) ตาปรือ ทำให้ดำเนินชีวิตลำบาก ทั้งภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ และการใช้งานด้านการมองเห็น หนังตาตกหย่อนคล้อย ดูเศร้า ไม่สดชื่น เปลือกตาบดบังทัศนวิสัย กล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรง ดูอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เปลือกตาบดบังทัศนวิสัย   ผ่าตัด “แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” เพื่ออะไร สามารถเปิดหนังตาให้ตาดำดูโต ช่วยให้ตาแลดูสดใส มีชั้นตาชัดเจน ส่งเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น เพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็น จากกล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรงที่ได้รับการแก้ไข ลดความตึงเครียดจากการใช้กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle) ซึ่งส่งผลต่ออาการปวดล้าหน้าผาก (Overuse) จนปวดศีรษะ (Headache) และลดริ้วรอยที่หน้าผากจากการใช้กล้ามเนื้อได้ ช่วยเสริมบุคลิกภาพ ไม่ให้ดูเป็นคนเครียดที่ย่นหน้าผากตลอดเวลา รอยย่นที่หน้าผากจากการใช้กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle) เพื่อดึงเปลือกตาแทนกล้ามเนื้อยกเปลือกตาที่อ่อนแรง กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle)   ผ่าตัด […]