คำถามน่ารู้เกี่ยวกับวิสัญญี

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับวิสัญญี

โดย พญ. พิมพ์สิริ ตั้งกิจโชติ วิสัญญีแพทย์

1.ถ้าผู้ป่วยใช้กัญชาต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

ตอบ : กัญชามีผลต่อยาระงับความรู้สึกและภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด ทั้งในระบบหัวใจหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ และการควบคุมอุณหภูมิกาย ควรแจ้งแพทย์ถ้าใช้กัญชา และต้องงดการใช้กัญชา 72 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

2.ทำไมถึงต้องงดทาเล็บเมื่อมาระงับความรู้สึก

ตอบ : ระหว่างระงับความรู้สึกต้องมีการตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วย โดยวิธียิงแสงผ่านปลายนิ้ว ซึ่งการทาเล็บทำให้การวัดค่าออกซิเจนคลาดเคลื่อน

3.การงดน้ำงดอาหารก่อนให้การระงับความรู้สึก งดอย่างไร งดกี่ชั่วโมง

ตอบ :

1.งดอาหารมื้อหลัก เช่น ข้าวผัด 8 ชั่วโมง

2.งดอาหารมื้อเบา เช่น โจ๊ก และเครื่องดื่มที่ผสมนมหรือมีกากใย 6 ชั่วโมง

3.งดนมแม่ 4 ชั่วโมง

4.งดน้ำเปล่าและเครื่องดื่มใส ไม่มีกากใย 2 ชั่วโมง

4.ยาสมุนไพรอะไรบ้างที่ต้องงดก่อนมาผ่าตัด

ตอบ : น้ำมันปลา(fish oil), วิตามินอี, กระเทียม ,โสม ,ขิง ,แปะก๊วย ต้องงดก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพราะมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยควรนำยารวมไปถึงสมุนไพรที่ทานมาให้วิสัญญีแพทย์และแพทย์ผ่าตัดดูเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด

5.ต้องเตรียมตัวอะไรบ้างก่อนมาผ่าตัด

ตอบ : ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และทำให้จิตใจให้ผ่อนคลายค่ะ

6.ถ้าเข้ารับการผ่าตัดที่ไม่ต้องดมยาสลบ ทำไมต้องงดน้ำงดอาหารด้วย

ตอบ : การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนอาจทำให้ไม่สมบูรณ์ หรือการผ่าตัดอาจจะยากและนาน ทำให้ยาชาหมดฤทธิ์ไปก่อน จึงต้องเปลี่ยนวิธีระงับความรู้สึกไปเป็นแบบดมยาสลบ รวมไปถึงหากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นระหว่างการผ่าตัด และต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการสูดสำลักอาหารเข้าปอดหากไม่ได้งดน้ำงดอาหาร

7.ระหว่างดมยาสลบมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ตอบ : ในขณะที่มีการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์และพยาบาลจะอยู่กับคนไข้ตลอดเวลา เพื่อให้คนไข้ไม่รู้สึกตัวระหว่างผ่าตัดและไม่เจ็บปวด รวมถึงเฝ้าระวังสัญญาณชีพต่าง ๆ ให้ปกติ จนเสร็จสิ้นการผ่าตัด

8.ระหว่างที่ดมยาสลบจะมีตื่นขึ้นมาเจ็บปวดระหว่างผ่าตัดหรือไม่

ตอบ : แทบเป็นไปไม่ได้เลย ขณะดมยาสลบมีวิสัญญีแพทย์หรือพยาบาลดูแลตลอดเวลา กรณีที่อาจเจอตามข่าวหรือที่ต่างประเทศ อาจจะเจอบ้างในกรณีพิเศษ เช่น คนไข้มีการเสียเลือดเยอะ ความดันต่ำ หรือหัวใจหยุดเต้นทำให้ต้องลดระดับการสลบลง เพื่อรักษาชีวิต วิสัญญีแพทย์จะต้องดูแลชีวิตเป็นสำคัญ ตรงนี้ผู้ป่วยอาจรู้สึกตัวขึ้นมาในช่วงของการช่วยเหลือชีวิต

9.กลัวว่าดมยาสลบไปแล้วจะไม่ฟื้น

ตอบ : ตื่นค่ะ พอหมอผ่าตัดผ่าเสร็จ ปิดแผล ทางวิสัญญีจะปลุกคนไข้ตื่น คนไข้จะตื่นและทำตามคำสั่งได้ แต่คนไข้อาจจะจำไม่ได้ มาจำได้อีกทีที่ห้องพักฟื้นหรือที่หอผู้ป่วย

10.หลังผ่าตัดเสร็จกลับบ้านได้เลยหรือไม่

ตอบ : ขึ้นอยู่กับชนิดการผ่าตัดที่คนไข้ได้รับ ปัจจุบันมีการผ่าตัดที่สามารถทำแล้วกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบ และการผ่าตัดรักษากระดูกหักที่ข้อมือ เป็นต้น เนื่องจากมีการพัฒนาเรื่องยาที่ใช้ในการระงับความรู้สึก ยาแก้ปวด เทคนิคในการระงับความรู้สึกแบบเฉพาะส่วน(บล็อกเส้นประสาท) และเทคนิคในการผ่าตัด

11.สามารถขับรถกลับบ้านเองได้หรือไม่หลังผ่าตัดและได้ยาระงับความรู้สึก

ตอบ : เพื่อความปลอดภัยควรงดขับรถภายใน 24 ชั่วโมงหลังระงับความรู้สึก เนื่องจากอาจมีฤทธิ์ของยาสลบตกค้างอยู่ ต้องมีผู้ติดตามพากลับบ้าน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา

ถุงใต้ตาและร่องใต้ตา (Baggy Eyelid and Tear Trough Deformity) โดย นพ. เอกชัย เลาวเลิศ   (ภาพแสดงลักษณะถุงใต้ตา และร่องใต้ตา) ถุงใต้ตาทำให้ใบหน้าดูโทรม อ่อนล้า และดูมีอายุ ไม่สดใส ร่วมกันกับการมีร่องใต้ตาที่ลึก เมื่อถ่ายรูป และยิ้ม อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือแสดงสีหน้า สร้างความลำบากในการเข้าสังคม และเสียบุคลิกภาพ (ภาพแสดงลักษณะกายวิภาคการเกิดถุงใต้ตา) ถุงใต้ตาเกิดจากลักษณะเอ็นยึดใต้เบ้าตา (Orbital Retaining Ligament) และเอ็นยึดเบ้าส่วนร่องน้ำตา (Tear Trough Ligament) หย่อน (Attenuation) เห็นเป็นร่องชัด และมีถุงไขมันใต้ตาชั้นลึก (Retroseptal Fat Pad) เริ่มขยายและหย่อนตัวลง (herniation) เหนือเอ็นยึด ทำให้เห็นเป็นถุงปูดเหนือร่องใต้เบ้าตา (ภาพแสดงการแก้ไขจัดเรียงไขมันถุงใต้ตา) เพื่อให้ร่องชัดน้อยลง และเห็นถุงปูดน้อยลง สามารถแก้ไขได้โดยการสลายเอ็นยึดดังกล่าว และจัดเรียงไขมัน หรือนำออกบางส่วนเพื่อให้ระหว่างเบ้าตา และใบหน้าส่วนแก้ม (Lid-Cheek Junction) มีร่องลึกรอยต่อที่เห็นได้ชัดน้อยลง […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 30

GJ E-Magazine ฉบับที่ 30 (เดือนมกราคม 2568) “การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัดแรงดันสูง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

สมุนไพรต้านอากาศหนาว

สมุนไพรต้านอากาศหนาว พจ.รณกร โลหะฐานัส ตามตำราแพทย์จีน ความเย็น เป็นลมฟ้าอากาศหลักในฤดูหนาว ในฤดูหนาวมีโอกาสป่วยจากความเย็นได้ง่าย ถ้ารักษาความอบอุ่นของร่างกายไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าบางเกินไป โดนฝน แช่อยู่ในน้ำเย็นนานเกินไป จะมีโอกาสเจ็บป่วยจากความเย็นได้ง่าย คุณสมบัติของความเย็นและการเกิดโรค ความเย็นชอบทำลายหยาง ความเย็นเป็นอิน ปกติลมปราณอินจะถูกควบคุมด้วยลมปราณหยาง อินเพิ่มทำให้หยางป่วย เกิดจากลมปราณอินเพิ่มขึ้นและย้อนไปข่มหยาง ลมปราณหยางไม่สามารถสร้างความอบอุ่นเป็นพลังผลักดันการทำงานของร่างกายจึงเกิดกลุ่มอาการเย็น เช่น ถ้าความเย็นมากระทบที่ส่วนนอกของร่างกายผลักดันหยางให้เข้าไปอยู่ในร่างกาย จะทำให้มีอาการกลัวหนาว เหงื่อไม่ออก ปวดศีรษะ ปวดตัว ปวดข้อ ถ้าความเย็นกระทบกระเพาะอาหาร จะทำให้ปวดเย็นในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ้าความเย็นกระทบปอด จะทำให้ไอ หอบ มีเสมหะใส ถ้าความเย็นกระทบไต จะทำให้ปวดเย็นที่เอว ปัสสาวะมาก บวมน้ำ ความเย็นทำให้หยุดนิ่ง ติดขัด เมื่อความเย็นเข้าทำลายหยาง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน เกิดการติดขัดและปวดขึ้น ถ้าให้ความอบอุ่นจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น อาการปวดทุเลาลง ความเย็นทำให้หดเกร็ง เมื่อความเย็นมากระทบส่วนนอกของร่างกาย ทำให้ผิวหนังหดตัว รูขุมขนปิด เส้นลมปราณตีบตัน หยางที่ปกป้องร่างกายไม่ไหลเวียนมาที่ส่วนนอก ทำให้เป็นไข้ กลัวหนาว เหงื่อไม่ออก […]

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์ เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV) คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม. ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง   ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน […]