การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

High Power Laser Therapy

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยเลเซอร์กำลังสูง

โดย พญ.เยาวพา ฉันทไกรวัฒน์

เลเซอร์กำลังสูง (Laser Class IV)

คือคลื่นที่ถูกสังเคราะห์ให้มีความยาวคลื่นเดียว (Monochromaticity) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า (Invisible Light) มีกำลัง 0.5 วัตต์ขึ้นไป มีความยาวคลื่นที่สม่ำเสมอ (Directionality) มีทิศทางของคลื่นที่แน่นอน สามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่รักษาได้ประมาณ 6 ซม.

ข้อแตกต่างจากเลเซอร์ทั่วไป : ส่งพลังงานได้สูง รวดเร็ว ลงตำแหน่งที่ทำการรักษาได้ลึก

ข้อดี : ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะทำการรักษา ค่อนข้างเห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา ใช้เวลาไม่นาน 5-10 นาทีต่อตำแหน่งที่ทำการรักษา รักษาได้ทั้งโรคเฉียบพลันไปจนถึงเรื้อรัง

 

ประโยชน์ของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง

  • กระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อให้มีการซึมผ่านของของเหลวผ่านหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดอาการบวม ช้ำ ที่ตำแหน่งของการรักษา
  • ลดการสังเคราะห์โปรตีนที่ทำให้เกิดอาการปวด
  • ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน
  • กระตุ้นการซ่อมสร้างหลอดเลือด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท
  • กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในกระบวนการเสริมภูมิคุ้มกัน
  • ส่งเสริมให้มีกระบวนการหายของบาดแผล สร้างคอลลาเจน และป้องกันการเกิดแผลเป็น
  • ส่งเสริมให้มีการสร้างกระดูกอ่อน และกระดูกในตำแหน่งที่มีการหักของกระดูก

 

ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูงทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู

โรคที่เกี่ยวกับความปวด กระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ : กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง เช่น เอ็นข้อไหล่ ข้อศอก ข้อมืออักเสบ นิ้วล็อค เอ็นร้อยหวายอักเสบ รองช้ำ ข้อเสื่อม ปวดหลัง หมอนรองกระดูกเคลื่อน กดทับเส้นประสาทที่คอ หรือเอว กล้ามเนื้อเอ็นพังผืดอักเสบเรื้อรัง

โรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาท : อาการปลายประสาทอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น งูสวัดจากโรคเบาหวาน ผลแทรกซ้อนจาก การให้ยาเคมีบำบัด หรือจากการบาดเจ็บที่เส้นประสาทโดยตรง

โรคที่เกี่ยวกับอาการบวม : โรคต่อมน้ำเหลืองอุดตันหลังการผ่าตัดเต้านม และต่อมน้ำเหลือง โรคหลอดเลือดดำโป่งพอง

บาดแผล : แผลเบาหวาน แผลกดทับ

หมายเหตุ : ข้อบ่งชี้แต่ละโรค และผลในการรักษาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของความยาวคลื่นเลเซอร์ที่แพทย์เลือกใช้

 

ข้อความระวังและข้อห้ามในการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง

  • ผู้ป่วยที่มีบาดแผลที่ยังมีเลือดออก
  • ผู้ป่วยตั้งครรภ์ งดทำเลเซอร์บริเวณท้อง หรือหลัง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่อง Pacemaker
  • ตำแหน่งของกระดูกที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
  • ผู้ป่วยที่มีรอยสัก ณ ตำแหน่งที่ทำการรักษา
  • ตำแหน่งที่รักษามีอาการอักเสบติดเชื้อ
  • ผู้ป่วยที่ทานยาที่ไวต่อแสงบางชนิด
  • บริเวณที่เป็นมะเร็ง
  • ผู้ป่วยโรคลมชัก
  • บริเวณต่อมไร้ท่อ

ผลข้างเคียงของการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง

  • มีอาการหน้ามืด มึนศีรษะ อาเจียน
  • มีอาการเมื่อยล้า
  • ตำแหน่งที่ทำการรักษามีรอยไหม้

หมายเหตุ : การให้การรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา // ผู้ป่วยต้องใส่แว่นตาป้องกันแสงเลเซอร์ขณะทำการรักษา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง