บริการให้คำปรึกษา

เงื่อนไขในการขอรับบริการ

หน่วยวิจัย งานการศึกษา วิจัยและบริการวิชาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลให้บริการรับคำปรึกษางานวิจัยสำหรับบุคลากรศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โดยให้บริการให้คำปรึกษา ด้านการวางแผนงานวิจัย การคำนวณขนาดตัวอย่าง การวิเคราะห์ผลงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การเขียนเอกสารอ้างอิง เป็นต้น โดยจะพิจารณาให้บริการปรึกษางานวิจัย  ตามโครงการวิจัยที่ท่านได้กรอกแบบฟอร์มขอรับคำปรึกษา โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

     1. ผู้ขอรับบริการเป็นบุคลากรสังกัดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
     2. ผู้ขอรับบริการกรอกแบบฟอร์มการขอรับคำปรึกษาให้ครบถ้วน (กรณีที่เป็นโครงการใหม่)
     3. กรุณากรอกแบบฟอร์มการขอรับคำปรึกษาล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ ก่อนวันที่มาปรึกษา
     4. ผู้ขอรับบริการที่เคยกรอกแบบฟอร์มขอรับคำปรึกษาผ่านทางเว็บไซต์แล้ว และต้องการขอรับคำปรึกษาต่อเนื่อง กรุณากรอกแบบฟอร์มขอรับคำปรึกษาต่อเนื่อง 

         (โครงการวิจัยเก่า)
     5. เมื่อเสร็จขั้นตอนการกรอกแบบฟอร์ม ท่านสามารถตรวจสอบสถานะและยืนยันการนัดหมายด้วยตนเอง หลังวันที่ลงทะเบียน 2-3 วันทำการ

         และหากภายใน 3 วันทำการ โครงการวิจัยของท่านยังไม่ได้รับการนัดหมาย กรุณาติดต่อ 2201
     6. ท่านจะได้รับแบบฟอร์มการประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการทางอีเมลล์ หลังจบการให้บริการทุกครั้งที่ขอรับคำปรึกษา
 

ขอบข่าย: การพัฒนาโครงร่างวิจัย การออกแบบงานวิจัย / รูปแบบการวิจัย


ขอให้ท่านเตรียมเนื้อหาของโครงการวิจัย ดังนี้
1. ข้อมูลโครงการวิจัย ประกอบด้วย ชื่อโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ ผลลัพธ์หลัก / ผลลัพธ์รองของการวิจัย
2. โครงร่างวิจัย หรือเอกสารหมายเลข 2 (ส่ง SIRB) ไฟล์ word/pdf
3. ผลงานวิจัยก่อนหน้า เพื่อนำมาใช้คำนวณขนาดตัวอย่าง (Reference)
โปรด Login ด้วย e-mail : .............. @mahidol.ac.th เท่านั้น

ขอบข่าย: การคำนวณขนาดตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนจัดทำตารางการเก็บข้อมูล

เรียน ผู้มารับบริการปรึกษาการวิจัยกับนักสถิติ

 

     หน่วยวิจัย งานการศึกษา วิจัยและบริการวิชาการ ได้กำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมของนักสถิติในผลงานวิจัยที่มารับบริการจากนักสถิติ ดังนี้
     1. หากนักสถิติช่วยวางแผนการวิจัย คำนวณขนาดตัวอย่าง แนะนำวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อนักสถิติในผลงานวิจัย
     2. หากนักสถิติเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของผลการวิจัย เขียนตารางผลการวิเคราะห์ / สร้างกราฟ  เขียน manuscript ในส่วนวิธีวิเคราะห์ทางสถิติ และอธิบายผลการวิเคราะห์ทางสถิติ นักสถิติก็ควรเป็นผู้นิพนธ์ชื่อร่วมของผลงานวิจัยดังกล่าว
     3. หากนักสถิติช่วยวิเคราะห์ข้อมูลบางส่วน นักสถิติก็ควรได้รับการกล่าวถึงใน acknowledgement ของ ผลงานวิจัย


     จึงเรียนมาเพื่อทราบ

 

ขอบข่าย: การสืบค้น การทบทวนวรรณกรรม และการเขียนเอกสารอ้างอิง