นวดกดจุดบรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้องได้จริงหรือ

ความรู้แผนจีน   ลงวันที่

อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ในปี 2015 พบผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดทั่วโลกคิดเป็น 29.8%[1]. ซึ่งในจำนวนนี้มีประชากรชาวยุโรปคิดเป็นประมาณ10%[2].  และประชากรชาวเอเชียคิดเป็นร้อยละ 19%. และพบชาวจีนอีกร้อยละ 24% แต่ดูเหมือนว่าในอนาคตประชาชนทั่วโลกจะมีอาการท้องอืดเพิ่มมากชึ้นอีก[3]. ในประเทศจีนศาตราจารย์ดร. Li Yan แห่ง Shengjing Hospital Affiliated to China Medical University ได้ทำงานวิจัยและรวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างอาการท้องอืดและความวิตกกังวลโดยใช้แบบสอบถาม Hamilton Depression Scale (HAMD)、Hamilton Anxiety Scale(HAMA) เป็นต้น ภาวะAnxiety และ depressive มีความสัมพันธ์กับอาการท้องอืด[4-5] . Kugler[6] ได้รวบรวมคนไข้ที่มีภาวะAnxiousและภาวะDepressed จำนวน125คน พบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะAnxiousมีจำนวนร้อยละ50.4%และภาวะDepressedจำนวนร้อยละ42.4% ซึ่งในจำนวนทั้งหมดนี้ไม่มีภาวะท้องอืดคิดเป็น13.3%,6.66% ตามลำดับ นั้นหมายความว่าภาวะทางอารมณ์ค่อนข้างส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งทำให้ท้องอืดและอาหารไม่ย่อยได้ง่าย

มุมมองทางการแพทย์แผนตะวันตก

อาการและสาเหตุอาการท้องอืด (Bloated stomach) พบได้บ่อย โดยทั่วไปเป็นภาวะที่ท้องเกิดอาการแน่นเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องดูมีลักษณะบวม บางครั้งรู้สึกปวดแน่นท้องส่วนบน รู้สึกไม่สบายท้อง เสมือนมีลมในท้อง ต้องเรอบ่อยๆบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อิ่มเร็ว หรืออาจมีอาการแน่นท้อง แม้จะรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยก็ตาม บางรายมีอาหารแสบบริเวณหน้าอกร่วมด้วย ซึ่งอาหารท้องอืดสามารถเกิดขึ้นกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเมื่อเกิดอาการแล้วจะส่งผลให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่สะดวกเนื่องจากรู้สึกอึดอัดท้อง บางรายอาจได้ยินเสียงโครกครากภายในท้อง และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย สาเหตุโดยทั่วไปเกิดจาก เช่น โรคในระบบทางเดินอาหารเองที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ หรืออาจจะเกิดจากยาที่รับประทาน เช่น ยาแก้ปวดข้อที่อาจจะทำให้เยื่ยบุกระเพาะอาหารอักเสบ หรือแม้แต่ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับที่ทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง รวมถึงการดื่มสุรา แอลกอฮอลล์และการรับประทานอาหารแข็ง เป็นต้น
มุมมองทางการแพทย์แผนจีน

อาการและสาเหตุอาการท้องอืด (Piman) สาเหตุทางศาสตร์การแพทย์จีน แบ่งสาเหตุได้เป็นภาวะแกร่งและภาวะพร่อง ซึ่งทั้งสองสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาการที่ไม่ตรงเวลา หรือทานอาหารปริมาณมากเกินไป อาหารที่ไม่ย่อยตกค้างในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอืดแน่นในท้อง หากมีอาหารที่ไม่ย่อยตกค้างในลำไส้จะเกิดการแน่นท้อง ปวดท้อง ท้องผูก หรือเกิดจากภาวะชี่ของม้ามและกระเพาะพร่อง ทำให้การลำเลียงและดูดซึมอาหารผิดปกติไป จึงทำให้เบื่ออาหาร หรือมีเสียงเคลื่อนไหวในกระเพาะอาหารและลำไส้ เมื่อการลำเลียงและดูดซึมอาหารผิดปกติไป การสร้างชี่และเลือดน้อยลง จึงเป็นสาเหตุของความอ่อนเพลียตามมา

การรักษา

การจัดการกับภาวะท้องอืด หลักการในการรักษาพยาบาลอาการท้องอืด คือการที่พยายามลดหรือกำจัดปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการท้องอืด โดยแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ[7]

1.การจัดการกับภาวะท้องอืดโดยใช้ยา เช่น การใช้ยาขับลมทำหน้าที่ขับลมในกระเพาะและลำไส้ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย (Peppermint oil) 、 Air-x, การใช้ยาลดกรดเป็นยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร ให้มีความเป็นกลางมากขึ้น ได้แก่ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminum Hydroxide) 、antacid, การใช้ยาระบาย เช่น Dulcolax , ยาช่วยย่อยที่มีส่วนประกอบของเอนไซม์ช่วยย่อย ได้แก่ อะไมเลส (Amylase) หรือแม้แต่ยากล่อมประสาทที่ช่วยลดความวิตกกังวลแต่ยาบางชนิดก็อาจส่งผลข้างเคียง เช่น ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้ ซึ่งหากมีอาการไม่พึงประสงค์ ควรรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์ให้เร็วที่สุด

2.การจัดการกับภาวะท้องอืดโดยไม่ใช้ยา เช่น การเล่นโยคะ,การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช่น การรับประทานอาหารมื้อเย็นให้เร็วขึ้น หลีกเลี่ยงการนอนหลังรับประทานอาหาร หมั่นเดินเล่นหลังจากรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานผักดิบ ,หลีกเลี่ยงความเครียด หรือแม้แต่การนวดกดจุด , การฝังเข็ม เป็นต้น

ในช่วง10ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2009-2019 ศาตราจารย์ Liu [8] แห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนฉางชุนได้รวบรวมและสังเคราะห์บทความงานวิจัยเกี่ยวกับการฝังเข็มรักษาอาการท้องอืด แน่นท้อง พบว่าการฝังเข็มรักษาระบบทางเดินอาหารได้ผลดีถึง 90% โดยใช้ Excel และ Clementinel 2.0 พบว่าในช่วง10ปี งานวิจัยที่เกี่ยวการฝังเข็มรักษาอาหารท้องอืด แน่นท้องมี 52ฉบับ จุดฝังเข็มที่ใช้ทั้งหมดที่พบในงานวิจัยมี 47 จุด ใช้ไปจำนวน600ครั้ง โดยเลือกใช้เส้นลมปราณกระเพาะอาหารมากที่สุด รองลงไปคือเส้นลมปราณเริ่น และเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะตามลำดับ โดยจุดที่เลือกใช้มากที่สุดคือจุดจูซานหลี่、จุดจงหว่าน、จุดเน่ยกวาน、จุดเทียนซู、จุดไท่ซง ตามลำดับ,นอกจากนี้ยังมีการใช้จุดมู้ ค่อนข้างมาก เช่นจุดจงหว่าน、 จุดเทียนซู 、จุดชีเหมิน โดยจุดคู่ที่ใช้ด้วยกันมากที่สุดในทางคลินิกคือ จุดจูซานหลี่และจุดจงหวาน เนื่องจากเป็นจุดมู่และจุดที่รักษาอวัยวะกลวง.

ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันอาจแก้จุกเสียดแน่นท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อยด้วยยาขับลม หรือยาช่วยย่อยอาหาร ทว่าตามศาสตร์แพทย์แผนจีน เรามีวิธีกดจุดหยุดอาการท้องอืด แน่นท้องช่วยด้วยอีกทางหนึ่ง

1.จุดจู๋ซานหลี

จุดนี้จะอยู่ใต้สะบ้าหัวเข่าล่างลงไปประมาณ 3 นิ้ว โดยจะอยู่บริเวณข้างกระดูกหน้าแข้งด้านนอก โดยให้ใช้หัวแม่มือกดที่จุดจู๋ซานหลีทั้งสองข้างประมาณ 3-5 นาที ดังรูป

2.จุดจงหว่าน

จุดมู่ของกระเพาะอาหาร อยู่บนแนวกึ่งกลางลำตัวด้านหน้า เหนือสะดือ 4 นิ้ว

3.จุดเน่ยกวน

จุดเน่ยกวนจะอยู่ห่างจากเส้นข้อมือระหว่างเอ็นทั้งสอง โดยห่างจากเส้นข้อมือประมาณ 2 นิ้ว ดังรูป   กดจุดเน่ยกวานค้างไว้ข้างละ 3-5 นาทีก็จะช่วยให้ได้ผลดีขึ้น ยิ่งหากดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ สักแก้ว อาการก็จะทุเลาลงเร็วขึ้นด้วย

นอกจากวิธีการกดจุดข้างต้นแล้ว ยังอยากแนะนำวิธีป้องกันอาการจุกลิ้นปี่ด้วยการเลือกรับประทานอาหารไฟเบอร์สูง อย่างผัก-ผลไม้ เพื่อช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมไปถึงควรดื่มน้ำให้พอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เพราะอาหารไขมันสูงเป็นสาเหตุของอาการจุกเสียดแน่นท้อง

อย่างไรก็ตามอาการท้องอืด แน่นท้อง อาจเป็นอาการแสดงของโรคต่างๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะคนที่มีอาการจุกแน่นท้อง ต่อเนื่องนานเกิน2 สัปดาห์ แม้จะแก้ด้วยวิธีต่างๆ ไปก็ไม่ค่อยได้ผลแนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการจุกเสียดลิ้นปี่โดยเร็วจะดีที่สุดค่ะ

Reference

[1]FordAC,MarwahaA,SoodR,etal.Globalprevalenceof,andrisk factors for, uninvestigated dyspepsia: a meta-analysis[J]. Gut, 2015,64(7):1049-1057.

[2]Aziz I, Palsson OS, Törnblom H, et al. Epidemiology, clinical characteristics, and associations for symptom-based Rome IV functional dyspepsia inadultsin the USA, Canada,andtheUK:a cross-sectionalpopulation-basedstudy[J].LancetGastroenterol Hepatol,2018,3(4):252-262.

[3]Ghoshal UC, Singh R, Chang FY, et al. Epidemiology of uninvestigated and functional dyspepsia in Asia: facts and fiction[J].JNeurogastroenterolMotil,  2011,17(3):235-244.2011.

[4]尚妍妍,徐峰.功能性胃肠病伴焦虑、抑郁状态及其与胃肠道症 状积分的相关性[J] . 世界华人消化杂志,2016,24(19):30513055.

[5]刘隽,刁磊,杨彩虹,等.功能性胃肠病与精神心理因素的关系 及其治疗[J] .胃肠病学,2016,21(2):98-100.

[6] Kugler TE. Anxiety and depressive disorders in functional dyspepsia: cause or consequence?[J]. Eksp Klin Gastroenterol, 2015,(9):29-35.

[7] กษมา ตันติผลาชีวะ. (2549). Post operative ileus: Cause,prevention and treatment. ศัลยศาสตร์ วิวัฒน์ 32. (หน้า 83-110). กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร.

[8]刘武,马鋆,刘晓娜,王富春.基于数据挖掘的功能性消化不良针灸取穴规律[J].亚太传统医药,2019,15(10):157-159.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

หยิน-หยาง

หยิน-หยาง พจ.ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ :  ผู้แปลและเรียบเรียง หากพูดถึงการแพทย์แผนจีน หลายคนนอกจากจะนึกถึงการฝังเข็มแล้ว ยังอาจจะนึกถึงสัญลักษณ์หยิน-หยาง หรือสัญลักษณ์รูปร่างกลมที่มีสีขาวและสีดำนั้นเอง ความหมายและความสำคัญของหยิน-หยาง หยินและหยาง (阴阳Yin-Yang) เป็นแนวคิดปรัชญาของชาวจีนที่มีมาแต่โบราณกาล ได้จากการสังเกตและค้นพบลักษณะที่สำคัญของธรรมชาติ ว่าสิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วย 2 ด้าน ซึ่งขัดแย้งกัน ต่อสู้กัน พึ่งพากัน แยกจากกันไม่ได้  โดย สีดำแทนหยิน สีขาวแทนหยาง มีการกล่าวถึง หยิน-หยาง เป็นครั้งแรก ซึ่งถูกบันทึกในคัมภีร์อี้จิง《易经》ในสมัยโบราณหยินและหยาง จึงถูกนำมาใช้ในวิชาการ เช่น การพยากรณ์อากาศ ภูมิศาสตร์-ฮวงจุ้ย ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และหมายรวมถึงการแพทย์แผนจีนด้วย บทความนี้จะกล่าวถึงหนึ่งในการดูแลสุขภาพตามหลักการแพทย์แผนจีน นั้นคือการรับประทานอาหาร หรืออาหารเป็นยาได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องเช็คร่างกายเราก่อนว่ามีลักษณะเป็นไปในทางหยิน หรือ หยาง ?จากนั้นเราก็จะสามารถเลือกอาหารหยินหรืออาหารหยางได้ว่าเราควรทานอาหารลักษณะแบบไหน ลักษณะร่างกายหยิน พูดเสียงเบา ตกใจง่าย ค่อนข้างเก็บตัว หายใจเบา ชีพจรเต้นช้า หน้าซีดขาว ขี้หนาว แขนฝ่ามือ ฝ่าเท้าและขาเย็น กินอาหารได้น้อยไม่ค่อยเจริญอาหาร ท้องอืดง่ายหรือระบบย่อยไม่ค่อยดี ไม่ค่อยกระหายน้ำ […]

การนวดทุยหนา

การนวดทุยหนา (TUINA) โดย พจ. รณกร โลหะฐานัส การนวดทุยหนา เป็นการปรับสมดุลลมปราณภายในร่างกาย เพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด และความเมื่อยล้า ลมปราณที่ติดขัด หรือเลือดที่หมุนเวียนไม่สะดวก การนวด จะนวดตามเส้นลมปราณ หรือจุดฝังเข็ม โดยการใช้ศอก มือ และส่วนต่าง ๆ ของมือแทนการใช้เข็ม การรักษาด้วยวิธีนวดทุยหนา จะเน้นด้านเทคนิค ฝีมือการพลิกแพลง ใช้เทคนิคการนวดด้วยมือหลายรูปแบบในการรักษา เช่น การทุบ ตบ คลึงกล้ามเนื้อ กดจุด บีบ บิด โยก หมุน รวมไปถึงการจัดเส้นเอ็น กระดูก คลายประสาท กระตุ้นให้เลือดหมุนเวียน เลือดลมเดินสะดวก คลายเส้น ปรับสมดุลหยิน-หยาง รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ แพทย์ผู้ทำการนวดทุยหนาจะต้องมีทักษะและผ่านการฝึกอบรม การนวดทุยหนาจะใช้เวลาประมาณ 20– 30 นาที   ขั้นตอนในการนวดทุยหนา ขั้นแรก นวดเพื่อกระตุ้น : เป็นการนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ […]

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล   โรคภูมิแพ้(hypersensitivity)โรคที่เกิดจาการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารเกิดภูมิแพ้ เช่นอาหาร ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดการตอบสนองอักเสบในร่างกาย ซึ่งอาการที่พบได้เช่นภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก จาม ไอ หอบหืด หรือผื่นคันตามตัว คันตา คันจมูก ข้อควรทำ4 ข้อ คือ หลีกเลี่ยง กำจัด รักษา ป้องกัน หลีกเลี่ยงสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น หลีกเลี่ยง อาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ควันบุหรี่ หรือช่วงเวลาที่มีการฟุ้งกระจายของละอองเกสรดอกไม้ กำจัดสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ผ้าปูที่นอนก็ควรนำไปซักน้ำอุ่นทุกอาทิตย์ การรักษา ในทางของการแพทย์แผนปัจจุบัน จะพิจารณาให้ยาแก้แพ้ (antihistamine) หรือยากลุ่ม สเตียรอยด์ได้ ในรูปแบบของการกิน ทาผิว หรือพ่นจมูกได้ ซึ่งในมุมของแพทย์แผนจีนโรคภูมิแพ้เกิดได้จากสาเหตุ ลมเย็น หรือความชื้นทำให้อวัยวะภายในเสียสมดุลได้แก่ ปอด ม้าม ไต การรักษาของทางแพทย์แผนจีน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น 1.การฝังเข็มซึ่งจุดที่เลือกใช้ได้แก่ […]

การฝังเข็มเลิกบุหรี่

จากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลการสูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า ผลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากรในปี 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 57 ล้านคน พบว่า ผู้สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.4 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบจากปี 2560 ซึ่งสูงถึงร้อยละ 19.1(กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค) ถึงแม้ว่าการเสพติดบุหรี่ เป็นปัญหาที่สำคัญทางสังคมและการแพทย์ ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมนุษย์ เนื่องจากบุหรี่มีสารพิษมากกว่า100ชนิดที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคร้ายจากการสูบบุหรี่ ทั้งนี้บุหรี่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคปอดอักเสบ โรคมะเร็ง อายุขัยสั้นลง เกิดความพิการของทารกในครรภ์ ฯลฯ นอกจากนี้ควันบุหรี่มีผลกับสมองและระบบประสาทซึ่งในควันบุหรี่มีสารนิโคตินที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท สารนี้สามารถผ่านไปสู่สมองภายในเวลา10-20วินาที หลังจากดูดบุหรี่แต่ละครั้งปริมาณนิโคตินในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งสารนิโคตินมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่ควบคุมความรู้สึกและอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเคลิ้มสุข(Euphoria) ความรู้สึกสุขสบายนี้จะเกิดขึ้นในการสูบบุหรี่ครั้งแรก ๆ เมื่อสูบบุหรี่ติดต่อไปในระยะหนึ่งจะเกิดการดื้อทำให้แม้ผู้สูบจะสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานก็ไม่เกิดความรู้สึกสุขสบายจากการสูบบุหรี่แต่ต้องสูบบุหรี่เพื่อระงับภาวะถอนยา หรือภาวะอยากยาทางจิต (Psychological Withdrawal Syndrome) ทำให้เกิดอาการต่างๆได้แก่ เครียด หงุดหงิด ฉุนเฉียว กระวนกระวาย […]