โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล

 

โรคภูมิแพ้(hypersensitivity)โรคที่เกิดจาการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารเกิดภูมิแพ้ เช่นอาหาร ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดการตอบสนองอักเสบในร่างกาย ซึ่งอาการที่พบได้เช่นภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก จาม ไอ หอบหืด หรือผื่นคันตามตัว คันตา คันจมูก

ข้อควรทำ4 ข้อ คือ หลีกเลี่ยง กำจัด รักษา ป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น หลีกเลี่ยง อาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ควันบุหรี่ หรือช่วงเวลาที่มีการฟุ้งกระจายของละอองเกสรดอกไม้
  2. กำจัดสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ผ้าปูที่นอนก็ควรนำไปซักน้ำอุ่นทุกอาทิตย์
  3. การรักษา ในทางของการแพทย์แผนปัจจุบัน จะพิจารณาให้ยาแก้แพ้ (antihistamine) หรือยากลุ่ม สเตียรอยด์ได้ ในรูปแบบของการกิน ทาผิว หรือพ่นจมูกได้

ซึ่งในมุมของแพทย์แผนจีนโรคภูมิแพ้เกิดได้จากสาเหตุ ลมเย็น หรือความชื้นทำให้อวัยวะภายในเสียสมดุลได้แก่ ปอด ม้าม ไต การรักษาของทางแพทย์แผนจีน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

1.การฝังเข็มซึ่งจุดที่เลือกใช้ได้แก่ จุดYin Xiang (LI 20) ซึ่งเป็นจุดบริเวณปีกจมูก ใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ จุดLie que (LU 7)ซึ่งเป็นจุดบริเวณข้อมือ ที่อยู่บนเส้นลมปราณปอดช่วยทำให้ปอดทำงานได้ดีมากขึ้นขับเสมหะได้ดีขึ้น

 Yin Xiang (LI 20)

 Lie que (LU 7)

2.การใช้ยา ก็ต้องใช้ยาที่ช่วยขับลมหรือเสมหะออกมา หรือบำรุงปอด ม้าม เพื่อให้อวัยวะภายในทำงานได้ดีมากขึ้น เช่น fang fen เป็นสมุนไพรที่ช่วยขับลม

 fang fen

หรือ chen pi หรือเปลือกส้มแมนดาริน สรรพคุณ ทำให้ลมปราณหมุนเวียนได้ดีขึ้น ไล่ความชื้น หรือเสมหะออก

 เปลือกส้มแมนดาริน

วิธีป้องกัน
• หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง ควันรถยนต์ ควันบุหรี่ ควันธูป กลิ่นน้ำหอมแรง ๆ สารเคมีต่าง ๆ เพื่อไม่ให้อาการภูมิแพ้กำเริบ
• ดูแลความสะอาดภายในบ้าน โดยเฉพาะห้องนอน ควรเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อลดการกักเก็บฝุ่น
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง จะให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และทำให้อาการโรคภูมิแพ้ค่อยๆ ดีขึ้นด้วย
• ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์  โปรตีน ผัก และผลไม้ ก็จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ ถือเป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้น
• พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการซ่อมแซม ฟื้นฟู และปรับสมดุล ในช่วงเวลานอนพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นไม่ควรเข้านอนดึกจนเกินไป

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]