หยิน-หยาง

หยิน-หยาง

พจ.ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ :  ผู้แปลและเรียบเรียง

หากพูดถึงการแพทย์แผนจีน หลายคนนอกจากจะนึกถึงการฝังเข็มแล้ว ยังอาจจะนึกถึงสัญลักษณ์หยิน-หยาง หรือสัญลักษณ์รูปร่างกลมที่มีสีขาวและสีดำนั้นเอง

ความหมายและความสำคัญของหยิน-หยาง

หยินและหยาง (阴阳Yin-Yang) เป็นแนวคิดปรัชญาของชาวจีนที่มีมาแต่โบราณกาล ได้จากการสังเกตและค้นพบลักษณะที่สำคัญของธรรมชาติ ว่าสิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วย 2 ด้าน ซึ่งขัดแย้งกัน ต่อสู้กัน พึ่งพากัน แยกจากกันไม่ได้  โดย สีดำแทนหยิน สีขาวแทนหยาง มีการกล่าวถึง หยิน-หยาง เป็นครั้งแรก ซึ่งถูกบันทึกในคัมภีร์อี้จิง《易经》ในสมัยโบราณหยินและหยาง จึงถูกนำมาใช้ในวิชาการ เช่น การพยากรณ์อากาศ ภูมิศาสตร์-ฮวงจุ้ย ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และหมายรวมถึงการแพทย์แผนจีนด้วย

บทความนี้จะกล่าวถึงหนึ่งในการดูแลสุขภาพตามหลักการแพทย์แผนจีน นั้นคือการรับประทานอาหาร หรืออาหารเป็นยาได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องเช็คร่างกายเราก่อนว่ามีลักษณะเป็นไปในทางหยิน หรือ หยาง ?จากนั้นเราก็จะสามารถเลือกอาหารหยินหรืออาหารหยางได้ว่าเราควรทานอาหารลักษณะแบบไหน

ลักษณะร่างกายหยิน

พูดเสียงเบา ตกใจง่าย ค่อนข้างเก็บตัว หายใจเบา ชีพจรเต้นช้า หน้าซีดขาว ขี้หนาว แขนฝ่ามือ ฝ่าเท้าและขาเย็น กินอาหารได้น้อยไม่ค่อยเจริญอาหาร ท้องอืดง่ายหรือระบบย่อยไม่ค่อยดี ไม่ค่อยกระหายน้ำ เป็นต้น

อาหารหยินคือ อาหารที่กินแล้วให้ความรู้สึกเย็น มีรสชาติขม เปรี้ยว และเค็ม รวมไปถึงอาหารที่ผ่านการปรุงรสด้วยวิธีต้ม นึ่ง ตุ๋น เป็นต้น เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อเป็ด เนื้อปู เนื้อหมู เป็นต้น ผักและผลไม้ได้แก่ กล้วย ส้ม แตงโต แอปเปิ้ล กีวี แคนตาลูป ถั่วฝักยาว ถั่วแขก แตงกวา ปวยเล้ง มะเขือเทศ เป็นต้น

ดังนั้น “คนที่มีร่างกายเป็นไปในทางหยิน(เย็น) ควรรับประทานอาหารหยาง(ฤทธิ์ร้อน)”

ลักษณะร่างกายหยาง

คล่องแคล่ว พูดเก่ง คิดไว กระวนกระวายง่าย กระฉับกระเฉง ขี้ร้อน ชีพจรเต้นเร็ว อารมณ์เสียง่าย หน้าแดง หายใจแรง หงุดหงิดง่าย ตัวร้อน กินเก่ง ท้องผูก คอและปากแห้ง เป็นต้น

อาหารหยางคือ อาหารที่กินแล้วให้ความรู้สึกร้อน มีรสชาติเผ็ด หวาน รวมไปถึงอาหารที่ผ่านการปรุงรสด้วยวิธีทอด ย่าง รมควัน เป็นต้น เนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อแพะ เป็นต้น ผักและผลไม้ ได้แก่ มะเขือยาว พริก ผักชี ต้นกระเทียม ขิง มะละกอ โหระพา กาแฟ ถั่วลิสง เป็นต้น

ดังนั้น “คนที่มีร่างกายเป็นไปในทางหยาง(ร้อน) ควรรับประทานอาหารหยิน(ฤทธิ์เย็น)”

 

เมื่อเรารู้ว่าร่างกายเป็นหยินหรือหยางแล้ว เราก็จะสามารถเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมได้ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายเราสมดุล สุขภาพที่ดี ย่อมต้องสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับธรรมชาติเสมอ ทั้งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมทางสังคม ทั้งหมดทั้งมวลล้วนแต่มีอิทธิพลต่อร่างกายของเราทั้งสิ้น

ความหมายของการมีสุขภาพที่ดี ไม่เพียงแต่ไม่เจ็บป่วย แต่ต้องรู้จักป้องกันและสังเกตอาการของตัวเอง ณ ขณะนั้น หลีกเลี่ยงปัจจัยภายนอกที่อาจจะนำมาซึ่งความเจ็บป่วยได้  ตามด้วยสุขภาพจิต  ปรับสมดุลของจิตใจและอารมณ์ของตนเอง หากรู้ตัวว่ากำลังเครียดต้องรีบหางานอดิเรกทำให้จิตใจเบิกบาน หมั่นฝึกสมาธิอยู่เสมอ หากเรารู้เท่าทันและเข้าใจอารมณ์ของตัวเองแล้วเราก็จะสามารถป้องกันปัจจัยภายนอกที่อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆได้มากมายเลยทีเดียวค่ะ

 

ที่มา

1.The Yin & Yang Concept in Chinese Eating. https://www.chinesemedicineliving.com/blog/yin-yang-concept-chinese-eating/. Accessed on June 28,2018

2.A comparison of traditional food and health strategies among Taiwanese and Chinese immigrants in Atlanta, Georgia, USA. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3846646/. Accessed 2 September 2019.

3.ทฤษฎียิน-หยาง. http://cmed.hcu.ac.th/knowledge.php?num=41. Accessed on June 28,2018

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล Office Syndrome คืออะไร เป็นโรคที่คนยุคใหม่เริ่มเป็นกันมากขึ้นเรื่อย จากพฤติกรรมของคนเราที่เปลี่ยนไป ซึ่งแต่ก่อนคนเรามักจะมีกิจกรรมมากกว่านี้ เช่นการเดิน เคลื่อนไหว การออกแรงทำงาน หรือออกกำลังกายที่ลดลง เปลี่ยนไปเป็นการทำงานหรือใช้มือถือเป็นเวลานาน ๆ  ก็เลยทำให้เราใช้แต่กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ และเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้อาการมีการลุกลามมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดหัวคล้ายไมเกรน หรืออาจจะเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่น กระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท วิธีการรักษา เป็นการสอดเข็มขนาดเล็กและบางเข้าไปในจุดฝังเข็มเฉพาะบนร่างกาย เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยการฝังเข็มช่วยลดการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น substance p , prostaglandin, cyclooxygenase-2 (COX-2)  ปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดหรือชา  […]

มะเร็งตับทุกระยะ…เราดูแลให้

มะเร็งตับทุกระยะ…เราดูแลให้ โดย ทีมแพทย์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma) จัดเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับต้น ๆ ถือเป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยไปไม่น้อยในแต่ละปี ซึ่งในระยะแรก อาจไม่มีอาการใด แต่พบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปี ไปจนถึงอาการปวดจุกแน่นท้อง คลำได้ก้อนบริเวณชายโครงด้านขวา หรือรุนแรงจนตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต ขาบวมในระยะท้าย แม้ฟังดูอาจเป็นโรคที่น่ากลัว แต่ที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เรามีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับทุกระยะ ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา บุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยและเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้เราพร้อมดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมในทุกมิติ เริ่มตั้งแต่การตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ ผู้ป่วยตับแข็งหรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยใช้อัลตราซาวน์และเจาะเลือดตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ หากมีความผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาส่งตรวจละเอียดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) นอกจากนี้ หากผลตรวจยังไม่ชัดเจน อาจมีการเจาะชิ้นเนื้อตับส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีร่วมรักษา ในส่วนของการรักษานั้น จะแบ่งตามความรุนแรง ระยะต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตับและทางเดินน้ำดี (HPB surgeons) หรือจะเป็นการจี้ก้อนด้วยเข็มความร้อน (Radiofrequency ablation; RFA, Microwave ablation; MWA), เข็มความเย็น […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 28

GJ E-Magazine ฉบับที่ 28 (เดือนกรกฎาคม 2567) “โรคผิวหนัง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่  

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่