การฝังเข็มเลิกบุหรี่

จากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลการสูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า ผลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากรในปี 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 57 ล้านคน พบว่า ผู้สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.4 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบจากปี 2560 ซึ่งสูงถึงร้อยละ 19.1(กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค) ถึงแม้ว่าการเสพติดบุหรี่ เป็นปัญหาที่สำคัญทางสังคมและการแพทย์ ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมนุษย์ เนื่องจากบุหรี่มีสารพิษมากกว่า100ชนิดที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคร้ายจากการสูบบุหรี่ ทั้งนี้บุหรี่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคปอดอักเสบ โรคมะเร็ง อายุขัยสั้นลง เกิดความพิการของทารกในครรภ์ ฯลฯ นอกจากนี้ควันบุหรี่มีผลกับสมองและระบบประสาทซึ่งในควันบุหรี่มีสารนิโคตินที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท สารนี้สามารถผ่านไปสู่สมองภายในเวลา10-20วินาที หลังจากดูดบุหรี่แต่ละครั้งปริมาณนิโคตินในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งสารนิโคตินมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่ควบคุมความรู้สึกและอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเคลิ้มสุข(Euphoria) ความรู้สึกสุขสบายนี้จะเกิดขึ้นในการสูบบุหรี่ครั้งแรก ๆ เมื่อสูบบุหรี่ติดต่อไปในระยะหนึ่งจะเกิดการดื้อทำให้แม้ผู้สูบจะสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานก็ไม่เกิดความรู้สึกสุขสบายจากการสูบบุหรี่แต่ต้องสูบบุหรี่เพื่อระงับภาวะถอนยา หรือภาวะอยากยาทางจิต (Psychological Withdrawal Syndrome) ทำให้เกิดอาการต่างๆได้แก่ เครียด หงุดหงิด ฉุนเฉียว กระวนกระวาย ขาดสมาธิ มึนงงและหลงลืม (รชานนท์ ง่วนใจรัก, 2552)

สำหรับผู้ที่ต้องการเลิกเสพติดบุหรี่นั้นมีหลายหนทางด้วยกัน เช่น การฝังเข็ม การติดเม็ดผักกาด การนวดกดจุดสะท้อนเท้า การดื่มชาหญ้าดอกขาวหรือก้านกานพลู การออกกำลังกายชี่กง การฝึกสมาธิบำบัด เป็นต้น ในที่นี้ขออธิบายถึงการรักษาโดยแพทย์แผนจีนว่ามีแนวทางอย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้

ในทัศนะของแพทย์แผนจีน “บุหรี่เกี่ยวข้องกับปอด” ปอดทำหน้าที่กระจายลมปราณ กระจายพลังเปรียบเสมือนกิ่งก้านต้นไม้ ลำต้นเปรียบเสมือนร่างกาย การสูบบุหรี่เข้าไปในทางเดินหายใจเข้าสู่ปอด จะทำให้ร่างกายขาดความสมดุลระหว่างลมปราณและเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในร่างกายลดลงจนทำให้เกิดโรคหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆขึ้น เมื่อปอดมีปัญหาเบื้องต้นจะมีอาการไอ มีเสมหะ จากนั้นจะพัฒนาไปสู่เสมหะที่มีลักษณะเหนียวข้น ปริมาณเยอะ หากเป็นมากอาจพบอาการหอบ เหนื่อยง่ายร่วมด้วย นั้นหมายถึงสัญญาณที่บ่งบอกว่าการทำงานของปอดเริ่มทดถอย วันนี้ขอแนะนำจุดฝังเข็มจุดพิเศษชื่อว่า จุด TianWeiXue หรือ Tim Mee Point

ตำแหน่ง: อยู่บริเวณข้อมือ ตรงกลางระหว่างเส้นที่ลากจากจุดเลี่ยเชี่ยว LIEQUE (LU7) และจุดหยางซี YANGXI (LI5)

สรรพคุณ: โรคติดบุหรี่ จุดนี้ในผู้ที่ติดบุหรี่จะเด่นชัด เละมีอาการเจ็บมากถ้ากด

การฝังเข็มใบหู(Auricular Acupunture) เป็นวิธีการฝังเข็มเฉพาะตัว ปัจจุบันถูกนำมาใช้เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาทางคลินิกในหลายรูปแบบ ศาสตร์นี้พบว่าจุดต่างๆบนใบหูมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอวัยวะภายในและส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใบหูมีลักษณะคล้ายกับ“ทารกกลับหัว” จึงมีการนำจุดสะท้อนมาประยุกต์ใช้ในคลินิก ตั้งแต่การฝังด้วยเข็มขนาดเล็ก(Small Filiform Needles) การติดเม็ดผักกาดสำหรับกด(Seed Pressing)ที่แพทย์จีนนิยมใช้ในการรักษา เนื่องจากง่ายและสะดวกทั้งยังคนไข้สามารถกดได้เองที่บ้านเหมาะคนที่กลัวเจ็บ กลัวเข็ม ใช้ติดที่จุดหูด้วยเทปกาว คาไว้ 3-5 วัน กดคลึง 1-3 นาที วันละ 3-5 ครั้ง

จุดหลัก

จุดปอด: เพื่อเป็นการรกระตุ้นการทำงานของปอด แทนการการกระตุ้นนิโคติน
จุดเสินเหมิน :เพื่อสงบจิตใจ
จุดใต้สมอง: เพื่อปรับและกระตุ้นการหลั่งสาร Endorphins,ACTH เป็นต้น เพื่อลดความเครียดและวิตกกังวล เป็นต้น

การฝังเข็มของการแพทย์แผนจีน จากการศึกษา พบว่า การฝังเข็มช่วยกระตุ้นให้ผู้ติดบุหรี่มีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ลดลงหรือถึงขั้นเลิกสูบได้ เนื่องจากการฝังเข็มมีผลทำให้เพิ่มการหลั่งสาร Serotonin ในสมองส่วน Hypothalamus ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกอยากหรือเบื่ออาหาร การย่อยอาหาร และการควบคุมการนอนหลับให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ การฝังเข็มมีผลในการปรับความสมดุลของลมปราณและเลือด ผลจะปรากฏใน 2-3 วันแรก ถ้าสูบอีกจะรู้สึกขม เผ็ด เหมือนกินใบไม้ที่่ขม จนเกิดอาการเบื่อที่จะสูบ นอกจากนี้การฝังเข็มจะต้องดูคนไข้เป็นหลักและปรับองค์รวมต่างๆ ไม่เพียงแต่เพื่อเลิกบุหรี่เท่านั้น เนื่องจากคนไข้แต่ละคนที่มีอาการเลิกบุหรี่หรือถอนนิโคตินจะมีอาการแตกต่างกัน ดังนั้น แพทย์จีนผู้ฝังเข็มจะต้องพิจารณาเพื่อให้เกิดองค์รวมต่างๆต่อไป

อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มควรใช้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ ทั้งการรักษาของการแพทย์แผนปัจจุบัน และรวมถึงการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาร่วมด้วย การเลิกบุหรี่ผู้สูบต้องตั้งใจเลิกเด็ดขาด หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ผู้สูบนึกถึงการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ควรออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมทำยามว่าง งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากมีบุคคลสูบบุหรี่ในบ้านควรแนะนำให้เลิกพร้อมกัน

 

อ้างอิง

-ข้อมูลจาก : กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค จากhttps://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=22385&deptcode=brc&news_views=1559

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566

-รชานนท์ ง่วนใจรัก. (2552).ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุน

ทางสังคมในการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่2อำเภอ

เมืองจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจันสาธารณสุขศาสตร์มหาวิยาลัยขอนแก่น. 2(1),45-57.

-https://baike.baidu.com

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]