มะเร็งปอด

มะเร็งปอด

นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา)

มะเร็งปอดคืออะไร

มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก

 

อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร

อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ

 

สาเหตุของมะเร็งปอด

  1. การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 ปี เท่ากับมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า
  2. มีการกลายพันธุ์ของยีนในร่างกายบางชนิด ที่ทำให้เซลล์เจริญเติบโตกลายเป็นเซลล์มะเร็งปอด ในประเทศไทยที่พบได้บ่อย เช่น ยีน EGFR, ALK
  3. สำหรับเรื่องฝุ่น PM 2.5 ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเบื้องต้นพบว่า ฝุ่น PM 2.5 เมื่อสูดดมเข้าไปโดยตรงทำให้เกิดการอักเสบต่าง ๆ ในทางเดินหายใจขึ้น ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปอดได้
  4. สาเหตุอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด เช่น แร่ใยหิน ควันถ่านหิน ประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง

 

มะเร็งปอดอันตรายแค่ไหน

ข้อมูลจากกรมการแพทย์ ปี 2565 มะเร็งปอดพบได้เป็นอันดับ 2 เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมะเร็งอันดับ 2 ของคนไทย แต่การตรวจคัดกรองให้พบโรคในระยะแรกทำได้ยาก เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมักจะเป็นโรคในระยะที่ลุกลามไปแล้ว และ มีอัตราตายสูง

 

วิธีการรักษามะเร็งปอด

วิธีการรักษาโรคมะเร็งปอดอาจมีการรักษาที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคลและระยะของโรค ได้ดังนี้

ระยะที่ 1 และ 2 ระยะที่พบว่าเซลล์มะเร็งอยู่ในปอดและมีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด

ใช้วิธีการผ่าตัด หลังจากผ่าตัดจะนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อประเมินว่าเป็นเซลล์ชนิดใด เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีการรักษาเสริมด้วยการให้ยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า หรือยาเสริมภูมิต้านทานร่วมด้วย เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำและลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งอยู่ในปอดเริ่มออกมาบริเวณต่อมน้ำเหลืองกลางทรวงอก

อาจมีการรักษาหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ ผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เมื่อผ่าตัดแล้วต้องได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า หรือยาเสริมภูมิต้านทาน รวมไปถึงการใช้รังสีรักษา ลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษาหลักจะเป็นการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีรักษา อาจมีการรักษาต่อด้วยยากระตุ้มภูมิต้านทานหรือยาเสริมภูมิต้านทานร่วมด้วยได้

ระยะที่ 4 ระยะที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง

ในระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะแพร่กระจายซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และยืดระยะเวลาการรอดชีวิต การรักษาหลัก ๆ จะมีการใช้ยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า หรือยาเสริมภูมิคุ้มกัน หรือมีการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ ความเหมาะสมกับชนิดของเซลล์มะเร็งปอดแต่ละชนิด และที่สำคัญขึ้นกับสภาวะร่างกายของผู้ป่วยอีกด้วย เนื่องจากยาแต่ละชนิดก็จะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป

 

มีวิธีป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งปอดได้อย่างไร

  1. งดการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่จากผู้ที่สูบบุหรี่
  2. ดูแลและสังเกตอาการผิดปกติเป็นประจำ มีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
  3. ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกสุขลักษณะและสารอาหารครบ 5 หมู่
  5. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  6. ตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยง ด้วยวิธีการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ

ปัจจุบันแนะนำให้ตรวจคัดกรองตั้งแต่คนที่อายุ 50 ปี และมีประวัติเคยสูบบุหรี่มากกว่า 20 pack-yrs วิธีคิดหน่วย pack-yrs นำจำนวนบุหรี่ที่สูบเป็นซองต่อวัน คูณจำนวนปีที่สูบ

 

คำแนะนำอื่น ๆ

การรักษามะเร็งปอด ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด ในปัจจุบันต้องบอกว่ายารักษาโรคมะเร็งปอดแต่ละชนิด มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมากสามารถที่จะช่วยบรรเทาอาการและช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก เราสามารถตรวจความผิดปกติของยีนกลายพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอด ได้จากชิ้นเนื้อมะเร็งและสามารถให้การรักษาแบบตรงจุด หรือแบบมุ่งเป้าซึ่งประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ยาเคมีบำบัด และยังมียาใหม่ๆ ที่ได้ผลดีมาก ในการรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากยาเคมีบำบัด เช่น ยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน  หรือยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล Office Syndrome คืออะไร เป็นโรคที่คนยุคใหม่เริ่มเป็นกันมากขึ้นเรื่อย จากพฤติกรรมของคนเราที่เปลี่ยนไป ซึ่งแต่ก่อนคนเรามักจะมีกิจกรรมมากกว่านี้ เช่นการเดิน เคลื่อนไหว การออกแรงทำงาน หรือออกกำลังกายที่ลดลง เปลี่ยนไปเป็นการทำงานหรือใช้มือถือเป็นเวลานาน ๆ  ก็เลยทำให้เราใช้แต่กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ และเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้อาการมีการลุกลามมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดหัวคล้ายไมเกรน หรืออาจจะเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่น กระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท วิธีการรักษา เป็นการสอดเข็มขนาดเล็กและบางเข้าไปในจุดฝังเข็มเฉพาะบนร่างกาย เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยการฝังเข็มช่วยลดการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น substance p , prostaglandin, cyclooxygenase-2 (COX-2)  ปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดหรือชา  […]

มะเร็งตับทุกระยะ…เราดูแลให้

มะเร็งตับทุกระยะ…เราดูแลให้ โดย ทีมแพทย์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma) จัดเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับต้น ๆ ถือเป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยไปไม่น้อยในแต่ละปี ซึ่งในระยะแรก อาจไม่มีอาการใด แต่พบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปี ไปจนถึงอาการปวดจุกแน่นท้อง คลำได้ก้อนบริเวณชายโครงด้านขวา หรือรุนแรงจนตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต ขาบวมในระยะท้าย แม้ฟังดูอาจเป็นโรคที่น่ากลัว แต่ที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เรามีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับทุกระยะ ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา บุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยและเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้เราพร้อมดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมในทุกมิติ เริ่มตั้งแต่การตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ ผู้ป่วยตับแข็งหรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยใช้อัลตราซาวน์และเจาะเลือดตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ หากมีความผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาส่งตรวจละเอียดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) นอกจากนี้ หากผลตรวจยังไม่ชัดเจน อาจมีการเจาะชิ้นเนื้อตับส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีร่วมรักษา ในส่วนของการรักษานั้น จะแบ่งตามความรุนแรง ระยะต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตับและทางเดินน้ำดี (HPB surgeons) หรือจะเป็นการจี้ก้อนด้วยเข็มความร้อน (Radiofrequency ablation; RFA, Microwave ablation; MWA), เข็มความเย็น […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 28

GJ E-Magazine ฉบับที่ 28 (เดือนกรกฎาคม 2567) “โรคผิวหนัง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่  

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่