- Home
- Blog
- ความรู้ทั่วไป
- ปอดอักเสบในเด็ก
ปอดอักเสบในเด็ก
ความรู้ทั่วไป, ความรู้เด็ก ลงวันที่ 22 December 2566
ปอดอักเสบในเด็ก
โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ
รู้จักโรคปอดอักเสบ
ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia)
- การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย
- อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก
ไข้หวัด (Common Cold)
- การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน
- อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย
การตรวจที่โรงพยาบาล
ซักประวัติร่างกาย
- วัดไข้
- วัดอัตราการหายใจ
- วัดออกซิเจนปลายนิ้ว
- ฟังเสียงปอด
NasoPharyngeal Swab
- หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด
ส่งตรวจเพิ่มเติม
- ตรวจเลือด
- เอกซเรย์ปอด
การรักษา
- ความรุนแรงของโรคไม่เท่ากันในแต่ละราย
- ยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ ยาละลามเสมหะ ล้างจมูก
- ยาฆ่าเชื้อ เฉพาะรายที่สงสัยติดเชื้อจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ข้อบ่งชี้ในการนอนโรงพยาบาล ได้แก่ หายใจเหนื่อย ออกซเจนต่ำ กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำ ในเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว (เด็กเกิดก่อนกำหนด โรคปอด โรคหัวใจ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง) อาการแย่ลง มีภาวะแทรกซ้อน
เชื้อไวรัสหน้าฝน
อาร์เอสวี (RSV : Respiratory Syncytial Virus)
- ไวรัสเด่นการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
- อาการไข้ ไอมาก น้ำมูก หลอกลมอักเสบ ปอดอักเสบ
- ติดได้ทุกกลุ่มอายุ
- กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เด็กเกิดก่อนกำหนด มีโรคประจำตัวทางปอด หรือหัวใจ
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
- อาการไข้สูง ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย กินได้น้อย
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน สถานที่แออัด
- ใส่หน้ากากอนามัย
- ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่
- ทำความสะอาดของเล่น
- ใช้ช้อนกลาง แยกของใช้ส่วนตัว
- แยกผู้มีอาการป่วยที่อยู่ในบ้านเดียวกัน
- เมื่อเริ่มมีอาการไม่สบาย ควรหยุดโรงเรียนทันที
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสัมผัสควันบุหรี่
- วัคซีนเสริม ไข้หวัดใหญ่ โควิด ปอดอักเสบนิวโมคอคคัส
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม
คลินิกกุมารเวชกรรม
- โทร 02 849 6600 ต่อ 1121
บทความที่เกี่ยวข้อง
ตะลิงปลิงอาจเป็นภัยต่อไตของคุณ
ตะลิงปลิง อาจเป็นภัยต่อไตของคุณ พญ.มลินพร แจ่มพงษ์ (หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์และตจวิทยา) ตะลิงปลิงเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจัดด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่เชื่อกันว่ามีมากมาย ทำให้ตะลิงปลิงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งรับประทานสด ๆ ผสมในอาหาร หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่ในอีกด้านหนึ่งการรับประทานตะลิงปลิงมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อไตได้ เนื่องจากตะลิงปลิงมีสารออกซาลิกสูง สารชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะรวมตัวกับแคลเซียมในร่างกาย ทำให้เกิดผลึกออกซาเลท ซึ่งอาจสะสมในท่อไตและทางเดินปัสสาวะ หากสะสมมากเกินไปอาจก่อให้เกิดนิ่วในไต หรือในกรณีที่รุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ อาการแสดงของโรคไตจากผลึกออกซาเลท อาจปรากฏอาการตั้งแต่ 24-48 ชม.แรกหากรับประทานในปริมาณมาก หรืออาจไม่ปรากฏให้เห็นในระยะเริ่มแรกแต่เมื่อโรคดำเนินไป อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดหลังโดยเฉพาะบริเวณเอว ปัสสาวะมีเลือดปนอาจเป็นสีชมพู แดง หรือน้ำตาล ปัสสาวะขุ่นหรือมีตะกอน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย กินตะลิงปลิงอย่างไรให้ปลอดภัย รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรกินตะลิงปลิงในปริมาณมากเกินไป หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำคั้นจากตะลิงปลิง เนื่องจากน้ำคั้นจากตะลิงปลิงจะมีปริมาณสารออกซาลิกสูงมาก หลีกเลี่ยงการรับประทานตะลิงปลิงในช่วงท้องว่าง เพราะร่างกายจะดูดซึมสารออกซาลิกได้อย่างรวดเร็ว
การฝังเข็มความงาม
การฝังเข็มความงาม (美容针灸) โดย แพทย์จีนมาลีนา บุนนาค ลู่ ศาสตร์การฝังเข็มไม่เพียงแต่เป็นการรักษาโรคเท่านั้น หากยังมีการฝังเข็มความงามใบหน้าด้วย เมื่อการไหลเวียนโลหิต และการหมุนเวียนของพลังชี่บริเวณใบหน้าไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดใบหน้าหมองคล้ำ ซีดเซียว หย่อนยาน ขอบตาดำคล้ำ การแสดงออกทางสีหน้าด้วยอารมณ็ต่างๆ ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดสิว ผิวหน้าของเราได้รับสัมผัสกับสิ่งภายนอกตลอดปี และมีความไวต่อมลภาวะในอากาศเป็นพิเศษ ผิวหน้านั้นต้องการการดูแลอย่างอ่อนโยน การฝังเข็มความงามใบหน้า จะใช้เข็มบางขนาดเล็ก เป็นเข็มสเตอร์ไรด์ และบางกว่าเข็มรักษาโรค ใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีความปลอดภัยสูง และได้ผลดี เนื่องจากการฝังเข็มความงามใบหน้า ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณใบหน้า เร่งการเผาผลาญของเสียในเซลล์ จึงช่วยให้ใบหน้ากระจ่างใส ลดริ้วรอย ฝ้า กระ สิวและรอยสิวได้ การฝังเข็มความงามใบหน้า หากต้องการเห็นผลเร็ว สามารถทำวัน เว้นวัน โดยทั่วไปควรทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรืออย่างน้อยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (20 ครั้งเป็น 1 รอบการบำรุง) สำหรับผลลัพธ์แต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับเหตุปัจจัยหลายอย่าง แต่สามารถทำได้เรื่อยๆ เพราะถือเป็นการบำรุงผิวหน้าอย่างหนึ่ง ถึงแม้การฝังเข็มความงามใบหน้า […]
กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง
กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง (Ptosis) นพ. เอกชัย เลาวเลิศ กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง เกิดขึ้นได้โดยกำเนิด หรือพบในภายหลัง ทุกวัย โดยระดับความรุนแรงมากน้อยต่างกัน ส่งผลทำให้ตาดูง่วง และไม่สดใส ยังส่งผลถึงการมองเห็น ทำให้วิสัยทัศน์การมองเห็นแคบลงด้วย (ตาขี้เกียจ) ตาปรือ ทำให้ดำเนินชีวิตลำบาก ทั้งภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ และการใช้งานด้านการมองเห็น หนังตาตกหย่อนคล้อย ดูเศร้า ไม่สดชื่น เปลือกตาบดบังทัศนวิสัย กล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรง ดูอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เปลือกตาบดบังทัศนวิสัย ผ่าตัด “แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” เพื่ออะไร สามารถเปิดหนังตาให้ตาดำดูโต ช่วยให้ตาแลดูสดใส มีชั้นตาชัดเจน ส่งเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น เพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็น จากกล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรงที่ได้รับการแก้ไข ลดความตึงเครียดจากการใช้กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle) ซึ่งส่งผลต่ออาการปวดล้าหน้าผาก (Overuse) จนปวดศีรษะ (Headache) และลดริ้วรอยที่หน้าผากจากการใช้กล้ามเนื้อได้ ช่วยเสริมบุคลิกภาพ ไม่ให้ดูเป็นคนเครียดที่ย่นหน้าผากตลอดเวลา รอยย่นที่หน้าผากจากการใช้กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle) เพื่อดึงเปลือกตาแทนกล้ามเนื้อยกเปลือกตาที่อ่อนแรง กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle) ผ่าตัด […]
เบื่อไหมสายจมูก
การทำสายให้อาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Gastrostomy: PEG) โดย พญ. เปรมกมล ภัทรอิทธิกุล ประโยชน์ของการทำ Percutaneous Gastrostomy (PEG) การให้อาหารและของเหลว: PEG ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือรับประทานอาหารทางปากได้รับสารอาหารและของเหลวที่จำเป็นผ่านทางท่อที่เชื่อมต่อกับกระเพาะอาหาร การบริหารยา: สามารถใช้เพื่อการบริหารยาที่จำเป็นให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับยาทางปากได้ ลดความเสี่ยงของการสำลัก: ช่วยลดความเสี่ยงของการสำลักอาหารและของเหลวเข้าปอด ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ปรับปรุงคุณภาพชีวิต: ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือรับประทานอาหาร ทำให้สามารถรับสารอาหารและของเหลวได้อย่างเพียงพอ ระยะเวลาการใช้ที่ยาวนาน: เป็นวิธีการที่มีความทนทานและสามารถใช้งานได้นาน เมื่อเทียบกับการให้อาหารผ่านท่อชั่วคราว ความสะดวกสบายและปลอดภัย: PEG มีความปลอดภัยและมีความสะดวกสบายสำหรับผู้ป่วย เมื่อเทียบกับวิธีการให้อาหารอื่นๆ เช่น การให้อาหารทางสายยางจมูก (NG tube) กลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการทำ Percutaneous Gastrostomy (PEG) ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืน: เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดอาหารตีบ (Esophageal Stricture) หรือภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางสมองหรือกระดูกสันหลัง: เช่น ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางสมองหรือกระดูกสันหลังที่ส่งผลต่อการกลืน ผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก คอ หรือหลอดอาหาร: […]