โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด

นายธนวัฒน์ ชาชิโย (นักวิชาการโภชนาการ)

 

วัณโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดย พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทย เป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก และคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 รายต่อปี วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและสามารถวัณแพร่เชื้อโดยการไอ จาม ฝอยละอองเสมหะที่ออกมาจากปอดของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคและผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคก็คือผู้ที่หายใจรับเชื้อวัณโรคที่ล่องลองในอากาศเข้าสู่ปอด   อาการของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดที่มีมักพบ คือ เบื่ออาหาร ไอ มีเสมหะ เหนื่อย หอบ ต่อมรับรสผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวคือผลจากโรคและผลข้างเคียงจากยา  ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดมีน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ในภายหลัง และเมื่อร่างกายขาดสารอาหารจึงส่งต่ออาการของโรคและการแพ้ยารุนแรง

ภาวะทุพโภชนาการกับวัณโรค โดยปกติแล้วผู้ป่วยวัณโรค จะได้รับการรักษาและยา ตามที่แนวทางการรักษาของแพทย์ แต่อาหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ป่วยวัณโรค หรือผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง จากอาการที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ส่งผลให้น้ำหนักจะลดลงเร็วมากถึง 3 –5 กิโลกรัมใน 2 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลต่อค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทำให้มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ และมวลกล้ามเนื้อลดลง จากการได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งผลต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ภูมิคุ้มกันลดลง แผลหายช้า ผิวหนังบาง ติดเชื้อง่าย อ่อนแรง เคลื่อนไหวด้วยตัวเองลำบาก เป็นแผลกดทับ แผลเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในที่สุด

แนวทางการดูแลโภชนาการของผู้ป่วยวัณโรค

1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน

  • กลุ่มเนื้อสัตว์ นม ไข่ และผลิตภัณฑ์จากถั่ว จะช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีน เสริมสร้างภูมิต้านทาน และยับยั้งการสลายของมวลกล้ามเนื้อ
  • กลุ่มข้าว แป้ง ขนมปัง เผือก มัน ข้าวโพด น้ำตาลควรเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ขัดสี เช่นข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เพราะมีวิตามินบีสูงช่วยลดอาการชาปลายมือปลายเท้าและเพิ่มความอยากอาหาร
  • กลุ่มพืชผักและผลไม้ต่างๆ ควรเลือกรับประทานให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่างๆ ตลอดจนเสริมสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  • หมู่ที่ 5 น้ำมัน ไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งให้พลังงานสูง สร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย ควรเลือกบริโภคน้ำมันที่มีกรดไขมันดี เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

2.ถ้าหากผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยควร เพิ่มมื้ออาหารให้มากขึ้นโดยอาจแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ 5 – 6 มื้อ ซึ่งในแต่ละมื้อควรจะมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ และอาจเพิ่มกรดไขมันดี เช่น โอเมก้าสาม ในอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอเหมาะสมต่อวัน

***ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวันเท่ากับ 1- 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น***

3.ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการไอ และมีเสมหะ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ ของทอด ของมัน กะทิ และน้ำเย็น น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง อาทิ  น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว 

และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแก๊สสูง เช่น ของดอง ถั่ว น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่มีกลิ่นแรง และอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 

4.ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ และการสูบบุหรี่

นอกจากนั้นผู้ป่วยวัณโรคหรือผู้ดูแล อาจต้องหมั่นชั่งน้ำหนักตัว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งเพื่อ ติดตามภาวะการลดลงของน้ำหนักตัว เพื่อนำไปประเมินความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการที่อาจเกิด โดยอาจแจ้งกับแพทย์ผู้รักษาร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้ร่วมกันประเมิน วางแผน และดูแลเพื่อฟื้นฟูร่างกาย ทั้งในด้านโภชนาการ การดูแลตัวเองของผู้ป่วย และการออกกำลังกาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]