ยามุ่งเป้า ทางเลือกใหม่ของการรักษามะเร็ง

ยามุ่งเป้า ทางเลือกใหม่ของการรักษามะเร็ง

โดย นพ.วรเศรษฐ์ สายฝน

ปัจจุบันการรักษามะเร็งวิวัฒนาการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษาพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งทำให้ค้นพบว่าเซลล์มะเร็งมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งส่งผลต่อการส่งสัญญาณการแบ่งตัวภายในเซลล์ (Signal transduction pathway) ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้เองอย่างไม่จำกัด มีความสามารถในการสร้างหลอดเลือดมาเลี้ยงตัวเอง สามารถหลบหลีกการถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย และสามารถมีความสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะต่าง ๆ ได้

ความสามารถพิเศษเหล่านี้เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบางชนิดซึ่งส่งผลต่อการทำงานของโปรตีนต่าง ๆ ที่ควบคุมการแบ่งตัวของมะเร็ง โดยมะเร็งแต่ละชนิดมีการกลายพันธุ์ของยีนต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เมื่อนักวิจัยสามารถศึกษาจนค้นพบว่า กลไกใดสำคัญต่อมะเร็งชนิดใด จึงสามารถพัฒนายามายับยั้งกลไกการทำงานของยีนกลายพันธุ์นั้น ๆ ทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายลงได้ในที่สุด จึงเรียกยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงในกลไกการแบ่งตัวที่ถูกรบกวนเหล่านี้ว่า ยามุ่งเป้า (Targeted therapy)

โดยยามุ่งเป้าในปัจจุบันจะมีชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และชนิดที่ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดเป็นหลัก

 

ความแตกต่างระหว่างยามุ่งเป้าและยาเคมีบำบัด

  • ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็งเป้าหมายโดยตรง โดยอาจส่งผลต่อเซลล์ปกติเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ยาเคมีบำบัดทำลายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็ว
  • ยามุ่งเป้ามักมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด
  • ยามุ่งเป้าใช้ได้เฉพาะในมะเร็งบางชนิดและต้องตรวจพบยีนกลายพันธุ์ที่เข้าได้กับยามุ่งเป้านั้น ในส่วนของยาเคมีบำบัดไม่ต้องตรวจการกลายพันธุ์ของมะเร็งก่อน

 

รูปแบบของยามุ่งเป้า

  • มีทั้งรูปแบบยากิน (Tyrosine kinase inhibitors) และยาฉีด (monoclonal antibody)
  • มีทั้งการใช้เป็นยาชนิดเดียวและการใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น ยาเคมีบำบัด ยาภูมิคุ้มกันบำบัด

 

ประโยชน์ของยามุ่งเป้าในการรักษามะเร็ง

  • เพิ่มอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งบางชนิดได้อย่างชัดเจน
  • ทำให้เซลล์มะเร็งเป้าหมายยุบลงได้
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

 

ผลข้างเคียงของยามุ่งเป้า

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่

  • อาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นลักษณะคล้ายสิว ผิวหนังแห้ง คัน
  • อาการทางเล็บ เช่น จมูกเล็บอักเสบ
  • อ่อนเพลีย
  • ปาก/คออักเสบ
  • ความดันโลหิตสูง

โดยผลข้างเคียงจากยาจะแตกต่างกันไปตามชนิดของยาที่ใช้ จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนเสมอ

 

ขั้นตอนการใช้ยามุ่งเป้ารักษามะเร็ง

  • แพทย์จำเป็นต้องนำชิ้นเนื้อมะเร็งส่งตรวจพันธุกรรม
  • หากตรวจพบการยีนพันธุ์ที่เข้าได้จึงมีโอกาสใช้ยามุ่งเป้าได้

 

ข้อจำกัดการใช้ยามุ่งเป้า

  • มีการใช้เฉพาะในมะเร็งบางชนิดเท่านั้น เช่น
    • มะเร็งปอดชนิดยีนกลายพันธุ์ EGFR หรือชนิด ALK
    • มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งกระเพาะอาหารชนิดยีน HER2 amplification
    • มะเร็งลำไส้
    • มะเร็งจิสต์ (GIST)
    • มะเร็งต่อมลูกหมาก
    • มะเร็งตับ
    • มะเร็งต่อมไทรอยด์
    • มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด
  • ใช้ได้ผลเมื่อตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนเป้าหมายที่จำเพาะเท่านั้น
  • ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้ในการรักษามะเร็งในระยะแพร่กระจาย
  • ยามีราคาสูง มีข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายได้เฉพาะในบางสิทธิ์การรักษา
  • หลังจากใช้ยาไประยะหนึ่ง มะเร็งมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์รูปแบบใหม่หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงอื่นๆซึ่งส่งผลให้ดื้อต่อยามุ่งเป้าชนิดเดิมได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกโรคมะเร็ง

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2632-2633

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]