บทความทางรังสีวิทยา : ตรวจหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตันด้วยอัลตราซาวด์

ตรวจหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตันด้วยอัลตราซาวด์

โดย พ.ญ.สิรินุช โรจนไพฑูรย์ รังสีแพทย์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกฯ

 

หลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตันหรือ deep vein thrombosis (DVT) คือ ภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดในหลอดเลือดดำของขาทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด

อาการเป็นอย่างไร ไม่มีอาการ ขาบวม ปวด กดเจ็บตามแนวหลอดเลือดดำที่อุดตัน ผิวหนังแดง

อันตรายหรือไม่

สิ่งที่อันตรายที่สุดคือ เมื่อลิ่มเลือดที่ขาหลุดไปแล้วไหลเวียนไปตามกระแสเลือด ไปสู่เส้นเลือดในปอด ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในปอดอุดตัน (pulmonary embolism) ซึ่งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการ ได้แก่ เหนื่อย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เจ็บแน่นหน้าอก ไอเป็นเลือด หรือหมดสติได้

ในระยะยาว ผู้ป่วยอาจมีอาการที่เกิดจากหลอดเลือดที่ขาและลิ้นของหลอดเลือดดำเสียหาย ทำให้มีอาการขาบวมหรือแผลเรื้อรังได้

สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง

  1. การบาดเจ็บของหลอดเลือดดำ เช่น อุบัติเหตุ กระดูกหัก
  2. เลือดหมุนเวียนช้า เช่น ผู้ป่วยนอนติดเตียง ผู้ป่วยที่ไม่ได้ขยับขาเป็นระยะเวลานาน หลังการผ่าตัด การเดินทางและนั่งนาน ๆ
  3. ภาวะเลือดแข็งตัวง่าย เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง การรับประทานยาฮอร์โมนบางชนิด โรคเลือดแข็งตัวง่าย
  4. อื่น ๆ เช่น เคยเป็นลิ่มเลือดอุดตันมาก่อน ภาวะอ้วน การใส่สายสวนหลอดเดือดดำ

มีการตรวจวินิจฉัยทางรังสีอย่างไรบ้าง อัลตราซาวด์ (Doppler ultrasound) เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTV) ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRV) การฉีดสารทึบรังสี (Venogram)

ข้อดีของการทำอัลตราซาวด์ (Doppler ultrasound) ถูกต้องแม่นยำ สะดวกรวดเร็ว ไม่เจ็บ ไม่ได้รับรังสี ไม่ใช้สารทึบรังสีจึงไม่มีข้อควรระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้หรือเป็นโรคไต

การเตรียมตัวตรวจอัลตราซาวด์ ตรวจได้เลยโดยไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร

ตรวจอย่างไร ผู้ป่วยนอนหงาย จัดท่างอเข่าเล็กน้อย ตรวจที่ระดับขาหนีบลงไป บางกรณีจะมีการบีบน่องของผู้ป่วยหรือให้ผู้ป่วยช่วยเบ่งท้องร่วมด้วย ตรวจขา 1 หรือ 2 ข้างตามข้อบ่งชี้

การรักษา ฉีดยา กินยาละลายลิ่มเลือด ในกรณีที่อุดตันและมีอาการรุนแรงอาจมีการรักษาโดยการผ่าตัดนำลิ่มเลือดออก

การป้องกัน

ขยับตัวโดยเร็วที่สุดหลังจากไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น หลังการผ่าตัด การเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บ

เมื่อนั่งเป็นเวลานานให้ลุกขึ้นเดินไปรอบๆ ทุกๆ 2 ถึง 3 ชั่วโมง

ออกกำลังกายขาขณะนั่งโดย

  1. ยกและลดระดับส้นเท้าโดยให้นิ้วเท้าอยู่บนพื้น
  2. ยกและลดระดับนิ้วเท้าโดยให้ส้นเท้าอยู่บนพื้น
  3. เกร็งและคลายกล้ามเนื้อขา

สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ควบคุมน้ำหนัก ไม่สูบบุหรี่

หากมีความเสี่ยงต่อการเป็น DVT อาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับถุงน่องรัดกล้ามเนื้อหรือการรับประทานยาป้องกัน

 

 

อ้างอิง  Centers for Disease Control and Prevention (CDC)

 

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกรังสีวินิจฉัย

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 3155 , 3156

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]