ฝังเข็มเจ็บมากไหม ? อันตรายหรือไม่ ?

ฝังเข็มเจ็บมากไหม ? อันตรายหรือไม่ ?

โดย พจ.ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์

การฝังเข็ม(ภาษาจีน: 針灸; ภาษาอังกฤษ: Acupuncture) เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยการฝังเข็มเป็นการใช้เข็มปักลงไปตามจุดต่างๆบนร่างกาย ตามจุดสำคัญๆที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า มีความสำคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย จุดฝังเข็มบนร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายร้อยจุด แต่จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิงขององค์การอนามัยโลก(WHO)มีอยู่จำนวน 349 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) หลักๆ 12 เส้นหลัก และอีก 2 เส้นรอง ซึ่งแต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่อย่างชัดเจน

การฝังเข็มให้เกิดผลในการรักษาโรค ไม่ใช่เพียงแพทย์จีนปักเข็มไปตามร่างกายเท่านั้น แต่แพทย์จีนยังต้องมีเทคนิคหลายอย่างในขั้นตอนการฝังเข็ม การเลือกรักษากับแพทย์จีนที่มีความรู้เกี่ยวกับเข็มและอุปกรณ์การฝังเข็มเป็นอย่างดี ทั้งการเลือกใช้ประเภทของเข็ม ข้อระวัง วิธีการใช้ เทคนิคต่างๆในการกระทำต่อเข็มเพื่อให้ผลการรักษาได้ผลดี ตั้งแต่เริ่มการจับเข็ม การลงเข็ม การถอนเข็ม รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพปลอดภัยและปลอดเชื้อ

แพทย์จีนใช้เข็มอะไรฝังเข็มคนไข้

ปัจจุบันการฝังเข็มได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคควบคู่ไปกับการแพทย์แผนตะวันตก หลายครั้งมีคำถามว่า เข็มที่แพทย์จีนใช้ปักบนร่างกายของคนไข้ใช้เข็มอะไร? เหมือนเข็มฉีดยาไหม? ใหญ่ไหม? ปลอดภัยหรือเปล่า?  แล้วเจ็บหรือเปล่า?

รูปที่1 ลักษณะเข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม

เข็มที่แพทย์จีนนิยมใช้แพร่หลายที่สุดคือ เข็มที่มีลักษณะกลม-บาง ปลายเข็มแหลมคม ความยาวอยู่ระหว่าง 13-75 มิลลิเมตร ทำจากโลหะสแตนเลส มีความคงทน-ทนทาน ยืดหยุ่นง่ายสามารถโค้งงอและคืนสภาพได้ดี ไม่หักหรือแตกเปราะง่าย และไม่เป็นสนิม และเนื่องจากเข็มมีความบางและแหลมคม เมื่อผ่านผิวหนังแทบจะไม่ทำให้เจ็บ เข็มที่แพทย์จีนนำมาใช้ในการรักษาจะต้องบรรจุอยู่ในภาชนะที่ปลอดเชื้อจนกว่าจะใช้งาน ส่วนเข็มที่ผ่านการใช้งานแล้วจะถูกทำลายทิ้งและไม่นำกลับมาใช้ซ้ำอีก

ระดับความลึกในการฝังเข็ม

ในเชิงทฤษฎีความลึกที่เหมาะสมคือ ความลึกที่เข็มสามารถกระตุ้นความรู้สึกได้ชี่หรือเต๋อชี่โดยไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะภายใน ในทางคลินิกความลึกของการปักเข็มขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น

– ตำแหน่งของจุดฝังเข็ม เช่น จุดบริเวณศีรษะและใบหน้า จะปักเข็มตื้นกว่าจุดตามร่างกาย

– รูปร่างของผู้ป่วย มีรูปร่างชั้นกล้ามเนื้อและไขมันมากกว่าโดยผู้ป่วยรูปร่างอ้วนใหญ่มักต้องปักเข็มให้ลึกกว่าผู้ที่มีรูปร่างผอมบาง

– พยาธิสภาพของผู้ป่วย ผู้ที่อ่อนแอ อายุมากหรือเด็ก ควรปักเข็มตื้นกว่าผู้ที่แข็งแรง เป็นต้น

ความรู้สึกของคนไข้ระหว่างการฝังเข็มเป็นอย่างไร ?

“การได้ชี่”(ภาษาจีน:得气 DéQì หรือ(เต๋อชี่), ภาษาอังกฤษ:Arrival of Qi) หรือ ปฏิกิริยาต่อเข็ม (needling sensation) หมายถึง ความรู้สึกถึงการออกฤทธิ์ของเข็มเมื่อปักเข็มลงไปถึงจุด โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกหน่วงบริเวณรอบจุดที่ฝังเข็ม หรืออาจรู้สึกแล่นกระจายขึ้นหรือลงไปตามแนวเส้นลมปราณ ในขณะเดียวกันแพทย์จีนจะรู้สึกได้ถึงเข็มในมือตึงแน่นเหมือนถูกหน่วงเอาไว้ เหมือนดั่งคัมภีร์โบราณที่เปรียบเทียบไว้ว่า“รู้สึกหน่วงเหมือนปลากระตุกสายเบ็ด”

รูปที่2 ลักษณะการฝังเข็ม

โดยทั่วไปแล้วเมื่อปักเข็มไปถึงจุดฝังเข็มแล้วมักจะเกิดอาการได้ชี่หรือเต๋อชี่ในทันที หรือในกรณีที่ไม่รู้สึก แพทย์จีนจะกระตุ้นเข็มเพื่อให้เกิดการได้ชี่หรือเต๋อชี่แบบบำรุงหรือระบายต่อไป ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

การกระตุ้นเข็มที่เหมาะสมไม่เพียงช่วยบรรเทาอาการป่วยแต่ยังช่วยปรับสมดุลอวัยวะภายในได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องจากกระเพาะอาหารและลำไส้หดเกร็ง การฝังเข็มไม่เพียงคลายอาการหดเกร็งเพื่อบรรเทาปวดเท่านั้น ยังช่วยให้การเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารเป็นไปอย่างสมดุลอีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]