โรคมือเท้าปาก

ความรู้ทั่วไป, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

โรคมือเท้าปาก

โดย พญ.พิมพ์ชนก วงษ์อาสา

โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเตอร์โรไวรัส พบบ่อยได้เด็กอายุน้อยกว่า  5 ปี แต่อาจพบในเด็กโตร่วมได้ และมักระบาดในช่วงฤดูฝน เชื้อที่ก่อโรครุนแรงได้คือ เอนเตอร์โรไวรัส 71 (EV71)

อาการ

  • มีไข้ 1-2 วัน
  • แผลในปาก
  • จุดแดงหรือตุ่มน้ำใส บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า
  • อาจมีผื่นบริเวณแขน ขา และก้นได้
  • และอาการมักดีขึ้นเองภายใน 1 สัปดาห์

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่

สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

การติดต่อ

สัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ตุ่มหรือผื่น หรืออุจจาระของผู้ป่วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม

 การรักษา

รักษาตามอาการ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาชาบ้วนปาก

การปฏิบัติตัว

  • หยุดเรียนเป็นเวลา 7 วัน
  • แจ้งทางโรงเรียนเพื่อดูแลทำความสะอาด
  • แยกของใช้
  • หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่ เน้นย้ำการทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์อย่างเดียวไม่สามารถฆ่าเชื้อได้
  • ทำความสะอาดของเล่นและสิ่งแวดล้อมทุกวัน

อาการที่ต้องมาโรงพยาบาล

  • ไข้สูงนานเกิน 2 วัน
  • กินได้น้อย อาเจียนบ่อย
  • หอบเหนื่อย
  • ซึม แขนขากระตุก หรือมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ

 วัคซีนป้องกัน

เป็นการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก สายพันธุ์ EV71 ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ก่อให้เกิดความรุนแรง เช่น สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ฉีดได้ ตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 5 ปี 11 เดือน

ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน  1 เดือน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

หยิน-หยาง

หยิน-หยาง พจ.ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ :  ผู้แปลและเรียบเรียง หากพูดถึงการแพทย์แผนจีน หลายคนนอกจากจะนึกถึงการฝังเข็มแล้ว ยังอาจจะนึกถึงสัญลักษณ์หยิน-หยาง หรือสัญลักษณ์รูปร่างกลมที่มีสีขาวและสีดำนั้นเอง ความหมายและความสำคัญของหยิน-หยาง หยินและหยาง (阴阳Yin-Yang) เป็นแนวคิดปรัชญาของชาวจีนที่มีมาแต่โบราณกาล ได้จากการสังเกตและค้นพบลักษณะที่สำคัญของธรรมชาติ ว่าสิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วย 2 ด้าน ซึ่งขัดแย้งกัน ต่อสู้กัน พึ่งพากัน แยกจากกันไม่ได้  โดย สีดำแทนหยิน สีขาวแทนหยาง มีการกล่าวถึง หยิน-หยาง เป็นครั้งแรก ซึ่งถูกบันทึกในคัมภีร์อี้จิง《易经》ในสมัยโบราณหยินและหยาง จึงถูกนำมาใช้ในวิชาการ เช่น การพยากรณ์อากาศ ภูมิศาสตร์-ฮวงจุ้ย ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และหมายรวมถึงการแพทย์แผนจีนด้วย บทความนี้จะกล่าวถึงหนึ่งในการดูแลสุขภาพตามหลักการแพทย์แผนจีน นั้นคือการรับประทานอาหาร หรืออาหารเป็นยาได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องเช็คร่างกายเราก่อนว่ามีลักษณะเป็นไปในทางหยิน หรือ หยาง ?จากนั้นเราก็จะสามารถเลือกอาหารหยินหรืออาหารหยางได้ว่าเราควรทานอาหารลักษณะแบบไหน ลักษณะร่างกายหยิน พูดเสียงเบา ตกใจง่าย ค่อนข้างเก็บตัว หายใจเบา ชีพจรเต้นช้า หน้าซีดขาว ขี้หนาว แขนฝ่ามือ ฝ่าเท้าและขาเย็น กินอาหารได้น้อยไม่ค่อยเจริญอาหาร ท้องอืดง่ายหรือระบบย่อยไม่ค่อยดี ไม่ค่อยกระหายน้ำ […]

การนวดทุยหนา

การนวดทุยหนา (TUINA) โดย พจ. รณกร โลหะฐานัส การนวดทุยหนา เป็นการปรับสมดุลลมปราณภายในร่างกาย เพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด และความเมื่อยล้า ลมปราณที่ติดขัด หรือเลือดที่หมุนเวียนไม่สะดวก การนวด จะนวดตามเส้นลมปราณ หรือจุดฝังเข็ม โดยการใช้ศอก มือ และส่วนต่าง ๆ ของมือแทนการใช้เข็ม การรักษาด้วยวิธีนวดทุยหนา จะเน้นด้านเทคนิค ฝีมือการพลิกแพลง ใช้เทคนิคการนวดด้วยมือหลายรูปแบบในการรักษา เช่น การทุบ ตบ คลึงกล้ามเนื้อ กดจุด บีบ บิด โยก หมุน รวมไปถึงการจัดเส้นเอ็น กระดูก คลายประสาท กระตุ้นให้เลือดหมุนเวียน เลือดลมเดินสะดวก คลายเส้น ปรับสมดุลหยิน-หยาง รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ แพทย์ผู้ทำการนวดทุยหนาจะต้องมีทักษะและผ่านการฝึกอบรม การนวดทุยหนาจะใช้เวลาประมาณ 20– 30 นาที   ขั้นตอนในการนวดทุยหนา ขั้นแรก นวดเพื่อกระตุ้น : เป็นการนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ […]

เวียนหมุนจากโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

เวียนหมุนจากโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน นพ. วีรุตม์ ชโยภาสกุล (โสต ศอ นาสิกแพทย์)   เวียนหัว vs. บ้านหมุน บ้านหมุน           ความรู้สึกว่าตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมหมุน เวียนศีรษะ         ความรู้สึกมึน ๆ แต่ไม่มีความรู้สึกว่าตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมหมุน   เวียนหมุนจากโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน Benign Paroxysmal Positional Vertigo – BPPV เป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะจากโรคหู ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนแบบเฉียบพลัน สัมพันธ์กับท่าทางหรือการขยับศีรษะ พบได้ทุกช่วงอายุ โดยพบมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (2:1) อาการของโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนแบบเฉียบพลัน โดยมักมีอาการไม่เกิน 1 นาที แต่อาจมีอาการเวียนศีรษะตามมาได้ อาการมักสัมพันธ์กับท่าทาง เช่น ลุกจากที่นอน นอนสระผม การได้ยินปกติ ยกเว้นมีความผิดปกติของการได้ยินอยู่เดิม ไม่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางอื่น ๆ เช่น แขนขาอ่อนแรง ใบหน้าเบี้ยว หมดสติ สาเหตุของโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นแบบไม่มีสาเหตุ ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรค […]