โรคผิวหนังในฤดูฝน

โรคผิวหนังในฤดูฝน

                                                                                                                                                                                                                โดย พญ. เจษฎนภา      พิเชียรสุนทร                                                    
พญ. รุจิกาญจน์     สุลัญชุปกร     (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง)
พญ. วรุณย์พันธุ์     ลี้เจริญ           (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง)
นพ. วุฒิเดช           ฟักประไพ      (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง)

 

หลังจากประเทศไทยได้ผ่านช่วงฤดูร้อนกันมาแล้ว ตอนนี้ก็จะเข้าสู่ช่วงฤดูฝน หน่วยผิวหนังของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จึงอยากแนะนำให้ประชาชนได้รู้จักกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เพื่อจะได้รู้วิธีการดูแลรักษาและวิธีป้องกันเบื้องต้นก่อนมาพบแพทย์

มารู้จักกับ 4 โรคผิวหนังที่พบบ่อยในฤดูฝนกันเถอะ
1. โรคเชื้อราที่ผิวหนัง
2. ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง
3. โรคน้ำกัดเท้า
4. โรคเท้าเหม็น

1. โรคเชื้อราที่ผิวหนัง

1.1 โรคเกลื้อน (Pityriasis versicolor)

  • ผื่นเป็นวงหลายวง ขอบเขตชัดเจน มีขุยละเอียด เป็นได้หลายสี ทั้งสีขาว แดง ชมพู หรือสีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีผิวของผู้ป่วย อาจไม่มีอาการ หรือมีอาการคันเล็กน้อยได้
  • มักพบบริเวณหน้าอก หลัง คอ และพบได้บ่อยในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก หรือใส่เสื้อผ้าอับชื้น
  • เกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur

การป้องกัน: อาบน้ำ ชำระล้างเหงื่อไคลอยู่เสมอ ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าที่อับชื้น

การรักษา: ยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งมีทั้งยาทาภายนอก และยารับประทาน

1.2 โรคกลาก (Tinea)

  • ผื่นเป็นวงกลมสีแดงนูน ขอบชัดและมีขุยที่ขอบ บางชนิดอาจมีการอักเสบรุนแรงเป็นตุ่มหนองได้
  • มักมีอาการคันร่วมด้วย
  • พบได้หลายบริเวณ เช่น ลำตัว ใบหน้า ขาหนีบ มือและเท้า
  • ผื่นมักขยายออกเป็นวงกว้าง หากไม่ได้รับการรักษา
  • เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Dermatophytes
  • หากสงสัยว่าเป็นโรคดังกล่าว ไม่แนะนำให้ซื้อยา steroids มาทาเอง เนื่องจากทำให้ผื่นลุกลามได้

การป้องกัน: ติดต่อทางการสัมผัส โดยขึ้นกับชนิดและแหล่งของเชื้อรา เช่น ติดจากคน สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม

การรักษา: ยาฆ่าเชื้อราชนิดทาภายนอกหรือชนิดรับประทาน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

1.3 โรคเชื้อราแคนดิดาที่ผิวหนัง (Cutaneous candidiasis)

  • ผื่นเป็นปื้นแดงใหญ่ ขอบเขตชัด มีผิวหนังเปื่อย และมีตุ่มแดงเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบ ๆ มักมีอาการคัน
  • เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Candida
  • พบบริเวณซอกพับที่มีการอับชื้น เช่น รักแร้ ใต้ราวนมและขาหนีบ เป็นต้น
  • พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะอ้วน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

การป้องกัน: ดูแลรักษาความสะอาด คอยซับเหงื่อให้แห้งอยู่เสมอ ลดความอับชื้น

การรักษา: ยาทาฆ่าเชื้อรา

2. ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง

2.1 ตุ่มแมลงกัด (Insect bite)

  • ผื่นจากแมลงโดยทั่วไป เช่น มด ยุง หมัด ไร มักเป็นตุ่มแดง หรือตุ่มที่มีลักษณะคล้ายลมพิษ
  • มักมีอาการคัน และอาจมีรอยดำตามหลังการอักเสบได้
  • ควรหลีกเลี่ยงการเกา เนื่องจากอาจทำให้เกิดแผลและมีการติดเชื้อตามมาได้

การป้องกัน: สวมเสื้อผ้าที่ปกปิด กำจัดแมลงบริเวณที่อยู่อาศัย

การรักษา: ยาทาลดการอักเสบกลุ่ม steroids หากผื่นเป็นมาก แนะนำให้มาพบแพทย์

2.2 ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก (Paederus dermatitis)

  • แมลงก้นกระดกมีสารพิษที่ชื่อว่า Pederin ซึ่งหากสัมผัสโดนจะเกิดการอักเสบระคายเคืองอย่างรุนแรง
  • ผื่นมักจะขึ้นหลังสัมผัสสารพิษประมาณ 24 ชั่วโมง มีลักษณะเป็นผื่นแดงขอบชัด อาจมีรอยไหม้เป็นทางยาวได้ ซึ่งเป็นรอยที่เกิดจากการปัดแมลง อาจมีผื่นบริเวณข้อพับประกบกัน จากการที่มีแมลงไปอยู่บริเวณซอกพับดังกล่าว
  • มักมีอาการแสบ และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้

การป้องกัน:
– สำรวจบริเวณที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่นอน
– ถ้าเจอแมลงก้นกระดก ไม่แนะนำให้บี้หรือสัมผัสโดยตรง อาจใช้อุปกรณ์จับหรือใช้เทปแปะเพื่อนำตัวแมลงออก

การรักษา:
– หากสัมผัสแมลงก้นกระดก ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่ทันที แล้วประคบเย็นบริเวณที่สัมผัส
– หากผื่นอักเสบมาก ให้มาพบแพทย์

3. โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot)

  • โรคน้ำกัดเท้า หรือ “ฮ่องกงฟุต” เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝนที่มีน้ำท่วมขัง
  • ผื่นมักเป็นบริเวณง่ามนิ้วเท้า มีลักษณะเป็นสีขาว ยุ่ย ลอก หรือแตกเป็นแผลได้
  • มักมีอาการคัน และอาจมีกลิ่นเหม็นที่บริเวณเท้าร่วมด้วย
  • เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Dermatophytes

การป้องกัน: หลีกเลี่ยงการย่ำน้ำขัง หากจำเป็นให้ใส่รองเท้าบูท ล้างเท้าด้วยน้ำและสบู่ เช็ดเท้าให้แห้งอยู่เสมอ

การรักษา: ยาฆ่าเชื้อราชนิดทาภายนอกหรือชนิดรับประทาน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

4. โรคเท้าเหม็น (Pitted keratolysis)

  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีหลุมบริเวณฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้าและเท้ามีกลิ่นเหม็น
  • มักพบในคนที่ต้องใส่รองเท้าบูท รองเท้าคอมแบท รองเท้ากีฬาเป็นเวลานาน หรือคนที่มีเหงื่อออกเท้าเยอะ

การป้องกัน: เปลี่ยนรองเท้าและถุงเท้าบ่อย ๆ ทำความสะอาดรองเท้าเป็นประจำ

การรักษา: ยาทาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

 

References

  1. Wolff K, Johnson R. Fitzpatricks color atlas and synopsis of clinical dermatology, seventh edition. 7th ed. New York, NY: McGraw-Hill Professional Publishing; 2013.
  2. Wolff K. Fitzpatrick’s dermatology in general medicine, seventh edition: Two volumes. 7th ed.
    New York, NY: McGraw-Hill Professional Publishing; 2007.
  3. Mammino JJ. Paederus dermatitis: an outbreak on a medical mission boat in the Amazon. J Clin Aesthet Dermatol. 2011;4(11):44–6.
  4. เพ็ญวดี วัฒนปรีชากุล. ผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก (Paederus dermatitis) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=965.

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]