ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

                   พญ.เมธาวี อุฬารวงศ์

กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ภาวะดังกล่าวส่งผลให้มีการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีการตกไข่ เกิดเป็นลักษณะถุงน้ำเล็กๆหลายๆใบในรังไข่ ร่วมกับมีฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้นในร่างกาย ทำให้เกิดลักษณะต่างๆ เช่น สิว หน้ามัน ขนดก นอกจากนี้อาจทำให้เกิดกลุ่มอาการทางเมตาบอลิกตามมา ภาวะนี้พบได้ถึง 1 ใน 10 ในสตรีวัยเจริญพันธุ์และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

อาการ

  1. 1. ระดูผิดปกติ

ได้แก่ ระดูออกน้อย คือ มีรอบระดูที่ห่างขึ้น ยาวนานมากกว่า 35 วัน หรือน้อยกว่า 10 รอบต่อปี / ขาดระดู คือ รอบระดูห่างมากกว่า 6 เดือน หรืออาจมีการขาดหายไปของระดู  3 รอบติดต่อกัน

  1. 2. มีอาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายที่สูง เช่น สิว หน้ามัน ผมร่วง ศีรษะล้าน มีขนขึ้นเยอะ มีกล้ามเนื้อแบบผู้ชาย
  2. มีภาวะมีบุตรยาก
  3. มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน

 

การวินิจฉัย แพทย์มักวินิจฉัยภาวะ PCOS โดยพิจารณาจากข้อมูลต่อไปนี้

  1. ซักประวัติเพื่อดูลักษณะของประจำเดือน ว่ามีประจำเดือนออกน้อย หรือขาดประจำเดือนหรือไม่
  2. ตรวจร่างกายเพื่อค้นหาอาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น สิว หน้ามัน ขนดก ศีรษะล้าน รวมถึงลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น รอยดำบริเวณหลังคอหรือข้อพับ
  3. ตรวจอุลตร้าซาวน์ในอุ้งเชิงกราน เพื่อดูลักษณะถุงน้ำหลายใบในรังไข่
  4. อาจตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนเพศชายในกระแสเลือด ว่าสูงผิดปกติ หรือไม่ ในกรณีที่อาการแสดงไม่ชัดเจน

 

แนวทางการรักษา

การรักษาผู้ป่วย PCOS มีจุดประสงค์เพื่อ คุมรอบระดู รักษาอาการแสดงของฮฮร์โมนเพศชายที่สูง ควบคุมกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก รวมถึงรักษาภาวะมีบุตรยาก

โดยการรักษาแบ่งออกเป็นการใช้ยาและไม่ใช้ยา

  1. การรักษาโดยการไม่ใช้ยา จะมุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และออกกำลังกาย เพิ่มการเผาผลาญ ซึ่งจะสามารถช่วยให้มีการตกไข่ที่สม่ำเสมอขึ้น และลดความเสี่ยงของกลุ่มอาการทางเมตาบอลิกได้
  2. การรักษาโดยการใช้ยา ได้แก่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาเม็ดโปรเจสติน หรือห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาเพื่อลดการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายได้

ทั้งนี้ หากมีอาการที่เข้าได้กับกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ประเมินความเสี่ยง และวางแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกนรีเวชกรรม

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 1571 , 1572

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]