โรคอ้วน

โรคอ้วน

พญ.ปฏินุช เย็นรมภ์ (อายุรศาสตร์และตจวิทยา)

เกิดจากร่างกายมีการสะสมไขมันใต้ชั้นผิวหนังมากกว่าปกติ ซึ่งจะคิดตามน้ำหนักตัว  คำนวนโดยใช้ดัชนีมวลกาย (BMI)

BMI = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม/(ส่วนสูงเป็นเมตร)ยกกำลังสอง     มีหน่วยเป็น kg/m2 

หากมีค่า BMI มากกว่า 25 kg/m2   จัดว่าเป็นโรคอ้วน

แต่หากเจ้าไขมันที่สะสมตามร่างกายนี้ส่งผลถึงระบบอวัยวะภายในร่างกาย จะเรียกว่า โรคอ้วนลงพุง ซึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

มีภาวะอ้วน โดยวัดจากเส้นรอบเอว ในผู้หญิงตั้งแต่ 80 เซ็นติเมตร ส่วน ผู้ชายตั้งแต่ 90 เซ็นติเมตร ร่วมกับมีภาวะมากกว่า2ใน4ข้อดังต่อไปนี้

  1. ความดันโลหิตสูงมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท
  2. ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  3. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูงมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  4.   ระดับไขมันดี (HDL) ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ชาย และต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง

แพ็คเกจเหล่านี้นั่นเองที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง ซึ่งหาไม่ได้จากการอยู่นิ่งเฉยหรือจากกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว แต่ถูกซ้ำเติมด้วยการกินอยู่อย่างเร่งรีบและไม่ไตร่ตรองในโลกยุคปัจจุบันทันด่วนนี้  ซึ่งโรคอ้วนลงพุง เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไขมันสะสมที่หน้าท้องและมีรอบเอวขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีระดับความดันโลหิต มีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น  โรคเบาหวานชนิดที่2  โรคไขมันเกาะตับ โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ได้มากขึ้น ซึ่งโรคร้ายแรงเหล่านั้น จัดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ติดอันดับของสาเหตุการเสียชีวิต10อันดับแรกที่จัดโดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ของประเทศไทย

โดยอุบัติการณ์การเกิดโรคอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้นในทุกๆปี ทั้งนี้เนื่องมาจากการบริโภคที่เกินความจำเป็นและไม่ถูกหลักโภชนาการ ดังนั้น หากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย จึงควรป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วน โดยการรับประทานอาหารให้พอเหมาะกับความต้องการและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน 

นอกจากนี้ บุคคลบางกลุ่มอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนลงพุงได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เช่น   ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีโรคอ้วนลงพุงหรือเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2, ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) หรือผู้ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หากมีภาวะเหล่านี้ ควรป้องกันและระมัดระวังเป็นพิเศษ

       แต่หากได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอ้วนลงพุงแล้ว เป้าหมายของการรักษา คือ การลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ด้วยการลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ซึ่งอาจปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้ 

  1.   ปรับวิธีการรับประทานอาหาร โดยเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปต่างๆที่เต็มไปด้วยผงชูรสและเกลือปริมาณมาก

2.ลดน้ำหนัก และควบคุมให้น้ำหนักอยู่ในช่วงดัชนีมวลกาย 18.5-24.9

kg/m2 

3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายและการใช้พลังงาน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย ควรออกกำลังกายชนิด แอโรบิก ( aerobic exercise ) เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก อย่างต่อเนื่อง30นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย 150นาทีต่อสัปดาห์

  1. ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ด้วยการงดสารเสพย์ติดต่างๆรวมทั้งบุหรี่ 

หากปฏิบัติอย่างต่อเนื่องแล้วไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า

 

ที่มา

รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากร พ.ศ. 2557 สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)

2013 AHA/ACC/TOS Guideline for obesity

Guy-Grand B. A new approach to the treatment obesity. A discussion Annals of the New York Academy of Sciences 1987

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]